การฝึกงาน

Job Internship

จุดมุ่งหมายของวิชาการฝึกงาน เป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้
‐ มีทักษะในการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ตลอดจนมีความเข้าใจในหลักการความจำเป็นในการเรียนรู้ทฤษฎีมากยิ่งขึ้น
‐ เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำความรู้และทักษะทางภาษามาใช้ในการปฏิบัติงานจริง
- สามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมา เพื่อนำมาแก้ปัญหาในการทำงานได้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
- มีความกล้าในการแสดงออกและนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ในงานได้
‐ มีมนุษยสัมพันธ์ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
- มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และมีการพัฒนาตนเองจากการทำงานจริง
- ค้นพบซึ่งข้อบกพร่องต่างๆ ของตนเอง เพื่อที่จะได้ทำการปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านั้นก่อนสำเร็จการศึกษา
              เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี้เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา
การปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษ ในประเทศหรือต่างประเทศ โดยมีพนักงานของสถานประกอบการที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดูแล และให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1.1   คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
             1. มีจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
             2. ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2  กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้
‐ ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนการฝึกงาน
‐ กำหนดตารางเวลาฝึกงาน บันทึกเวลาฝึกงานกำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผลงาน
‐ มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ
‐ ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
     1.3  วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
- ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงของสถานประกอบการ ด้วยการสังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกในระหว่างการฝึกงาน
- อาจารย์นิเทศทำการสัมภาษณ์พนักงานที่ปรึกษาของสถานประกอบการ รวมทั้งเพื่อนร่วมงาน (ถ้ามี) ตลอดจนบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
- การประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำระหว่างการฝึกงาน  และประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมายโดยสถานประกอบการ
2.1 ความรู้ที่จะได้รับ/ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
             1. ความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานจริง
             2. สามารถบูรณาการความรู้ทางภาษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ตามลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย
2.2  กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลการเรียน

สถานประกอบการจัดให้มีพนักงานพี่เลี้ยงทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่างๆ แก่นักศึกษาตลอดระยะเวลาของการฝึกงาน สถานประกอบการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างเต็มที่ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง

มีการมอบหมายงานแก่นักศึกษา และติดตามเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม
     2.3  วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
- ประเมินผลการปฏิบัติงานโดยอาจารย์นิเทศ พนักงานที่ปรึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ     (ถ้ามี) โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ
- ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผลงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายตามหลักการของหลักสูตร
ประเมินจากความตั้งใจและความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
     3.1  ทักษะทางปัญญาที่จะได้รับจาการพัฒนา/ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
             1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
             2. มีทักษะในการนำความรู้ทางภาษาอังกฤษ รวมถึงความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
     3.2 วิกระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้พัฒนาผลการเรียนรู้

มีการมอบหมายงานทั้งงานประจำตามหน้าที่และ/หรืองานพิเศษ มีการติดตามความก้าวหน้าของงานที่ทำเป็นระยะๆ โดยอาจารย์นิเทศ และพนักงานพี่เลี้ยง จัดให้มีการนำเสนอผลการฝึกงานต่อผู้บริหาร พนักงานพี่เลี้ยง บุคคลอื่นๆ ของสถานประกอบการ และอาจารย์นิเทศในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ

มีการจัดทำรายงานของการฝึกงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเน้นความถูกต้องตามหลักวิชาการ
     3.3  วิธีการประเมินผลการเรียนรู้

อาจารย์นิเทศ และพนักงานพีเลี้ยงทำการประเมินผลการเรียนรู้จากงานและ/หรืองานมอบหมายพิเศษที่นักศึกษาทำ โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ ประเมินผลจากทักษะและความสามารถในการตอบข้อซักถามในระหว่างการนำเสนอผลการปฏิบัติงานแบบปากเปล่า โดยอาจารย์นิเทศและพนักงานพีเลี้ยง

ประเมินจากความถูกต้องตามหลักวิชาการของรายงาน โดยอาจารย์นิเทศ และพนักงานพี่เลี้ยง
     4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับภาระความรับผิดชอบที่ควรมีการพัฒนา
           1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
           2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
           3. สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
           4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
กระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้พัฒนาผลการเรียนรู้ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ให้นักศึกษาก่อนไปปฏิบัติงาน สร้างกิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรม เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี พร้อมทำงาน เป็นทีม มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน

มีการติดตามและประเมินผลพฤติกรรมการทำงานของนักศึกษาเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการนิเทศงานของอาจารย์นิเทศ ณ สถานประกอบการ ผ่านการสัมภาษณ์พนักงานที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน และ/หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง พนักงานที่ปรึกษา และอาจารย์นิเทศทำการประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาโดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ

ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจาก     เพื่อนร่วมงาน หรือที่ผู้เกี่ยวข้อง
     5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ควรมีพัฒนา
           สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะตามบริบทของกลุ่มสังคม
5.2  วิธีสอน

มอบหมายงานที่ต้องมีการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร และการเขียนตามความจำเป็นและเหมาะสม ในการประสานงาน มอบหมายงานที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในแก้ปัญหา หรือนำเสนอผลการปฏิบัติงาน

ฝึกการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.3  วิธีการประเมินผล

ประเมินผลจากเอกสารหรือข้อมูลที่นักศึกษานำมาใช้ประกอบในการปฏิบัติงาน การแก้ไขปัญหา การจัดทำรายงาน และการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์นิเทศ

อาจารย์นิเทศ และพนักงานพี่เลี้ยงทำการประเมินผลความสามารถในการสื่อสาร     และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาฝึกงานโดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. หลักเกณฑ์การประเมิน 1.1 การประเมินผลการเรียนรู้ ผู้ประเมินเพื่อการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 5 ด้าน มีการแบ่งสัดส่วนคะแนนดังนี้ ผู้ประเมิน คะแนน สถานประกอบการ/พนักงานพี่เลี้ยง 80 อาจารย์นิเทศ 20 รวม 100 1.2 การกำหนดค่าระดับคะแนน คะแนน ระดับคะแนน (เกรด) 60 – 100 S ต่ำกว่า 60 U 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา 2.1 ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาของสถานประกอบการ และอาจารย์นิเทศร่วมกัน โดยใช้แบบประเมินและเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยฯ 2.2 อาจารย์นิเทศสรุปผลการประเมินการปฏิบัติงาน และรายงานผลต่อสาขาและคณะ 3. ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา 3.1 ให้ข้อมูล คำปรึกษา คำแนะนำ การสอนงาน การปฏิบัติตนในองค์กร ในระหว่างที่นักศึกษาฝึกงาน รวมถึงการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน และการจัดทำรายงาน 3.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างการปฏิบัติงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ 4. ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา 4.1 การให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกงาน 4.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างการปฏิบัติงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของนักศึกษาจากสถานประกอบการ ตลอดจนการประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ 5. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง หากผลการประเมินของสถานประกอบการ กับอาจารย์นิเทศแตกต่างกัน ควรมีการประชุมร่วมกัน ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาหาข้อสรุป
1.   กระบวนการประเมินการฝึกงาน
                        1.1   นักศึกษา
1.1.1  นักศึกษาให้ข้อมูลหลังกลับจากสถานประกอบการ โดยใช้แบบฟอร์มแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยฯ
1.1.2  นักศึกษาประเมินสถานประกอบการว่าเป็นสถานประกอบการที่สามารถให้ประสบการณ์ แก่นักศึกษาได้อย่างแท้จริง และตรงตามที่สาขาวิชากำหนดหรือไม่
1.1.3  นักศึกษากรอกแบบประเมินที่คณะจัดทำขึ้น ในการปฏิบัติงานตามระบบ ตั้งแต่การเตรียมตัว การฝึกปฏิบัติงาน และการประเมินผล ตลอดจนปัญหา อุปสรรคที่พบ และแนวทางการแก้ไข
                        1.2   พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
                                ใช้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ และควรให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาตนเองของนักศึกษาเพิ่มเติม
                        1.3   อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
นอกจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาแล้ว อาจารย์นิเทศต้องประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ และพนักงานที่ปรึกษา เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาถึงความเหมาะสมในการส่งนักศึกษารุ่นต่อไป รวมทั้งควรให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาตนเองของนักศึกษาเพิ่มเติม
 
2.   กระบวนการทบทวนผลการประเมินและการวางแผนปรับปรุง
2.1  อาจารย์นิเทศวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามระบบ และประมวลผล
2.2  อาจารย์ในสาขาวิชาร่วมกันสรุปประเด็นการพัฒนา ปรับปรุง ทั้งที่เกี่ยวข้องในเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา การวัดและประเมินผล และความร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อให้ได้ข้อมูลในการวางแผนการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษารุ่นต่อไป และการปรับปรุงหลักสูตรในระยะเวลาที่กำหนด