การสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ

English Communication and Information Technology

เพื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาาาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศตามสถานการณ์ต่างๆรวมถึงมารยาทในการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย ออนไลน์ และเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบันทั้งในการปฏิบัติงานและชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลง ก้าวหน้าตามยุคสมัยอย่างรวดเร็ว
ศึกษาและฝึกปฏิบัติใช้ภาษาอังกฤษเพื่อติดต่อสื่อสาร เผยเแพร่ข้อมูลและสืบค้นข้อมูล โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
Study and practice using English for communication and dissemination, as well retrieving information through information technology
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
1.1.2 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
1.2.1 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุรธรรม จริยธรรม
1.2.2 สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
1.2.3 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.1 การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.3.2 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.3 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำรัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะในการสิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ทักษะและสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.3 รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอรือย่างต่อเนื่อง
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.3 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
2.2.4 การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
2.3.1 กามรทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
2.3.3 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประมินสารสนเทศจาหกลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามสถานการณ์แวดล้อมและการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
3.2.2 การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.3 การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและสื่อสารในบริบทต่างๆ
3.3.3 ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนปละเอกสารรายงาน
4.1.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
4.1.2 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3 สามสารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.2.2 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
4.3.1 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
4.3.2 พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
4.3.3 พฤติกรรม ภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและจากการรายงานหน้าขั้นเรียน
5.1.1 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิค วิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.1.2 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป้นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูลและการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
5.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆจากกรณีศึกษา
5.2.3 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยรสารสนเทศ
5.3.1 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2 พฤติกรรมการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสารของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริงและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.2.2 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
6.3.1 ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษาจากการจำลองหรือสถานการณ์จริงและความสามารถในการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.2 พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตะหนักในคุณค่าของคุรธรรม จริยธรรม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC118 การสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทักษะด้านความรู้และทักษะด้านปัญญา Unit 1-5 การสอบกลางภาค 9 25%
2 ทักษะด้านความรู้และทักษะด้านปัญญา Unit 6-10 การสอบปลายภาค 17 25%
3 ทักษะด้านความรู้,ทักษะการสื่อสาร และทักษะพิสัย งายที่มอบหมาย Task 1-6 6-7, 10-11 และ 13-14 20%
4 ทักษะทางปัญญา, ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ, ทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี และ ทักษะพิสัย การนำเสนอการค้นคว้า Presentation 15-16 20%
5 จิตพิสัย และ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ -การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ,การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน และ การแต่งกายถูกระเบียบ ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชา "การสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ (English Communication and Infomation Technology)"
ESL Lesson Plans for English Teacher. (2008). Lingua House: Innovation in Learning. Retrieved from http://www.linguahouse.com/esl-lesson-plans.
ESL Library: The resource sites for English Teachers. (n.d.) Retrieved from http://www.esl-library.com/.
Esteras, S.r. (2008). Infotech: English for Computer users. Cambridge University Press.
Esteras, S.R. and Fabre, E.M. (2007). Professional English in Use: ICT.Cambridge University Press. 
ISLCollective: Printable worksheets. (n.d.) Retrieved from http://en.islcollective.com/
เว็บไซด์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้:
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านทางช่องทางการสื่อสารต่างๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้:
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าหลักสูตรฯและหัวหน้าสาขาฯ
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การนำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนดังนี้:
3.1 การจัดปรับเนื้อหาบทเรียนให้กระชับและเรียงลำดับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น
3.2 การจัดปรับเวลาในการสอนแต่ละบทเรียนให้เหมาะสมมากขึ้น
3.3 การจัดปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
การตรวจสอบแผนการสอน เนื้อหารายวิชา วิธีการสอนและการประเมินผลโดยคณะกรรมการประจำหลักสูตรฯ
การนำผลการประเมินและการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้:
5.1 การปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 การเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้จากรายวิชานี้เข้ากับปัญหาที่มาจากประสบการณืของอาจารย์