องค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น

Introduction to Composition

๑.๑ รู้และเข้าในส่วนประกอบพื้นฐาน (ทัศนธาตุ) ทางศิลปะ ๑.๒ ปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามหัวข้อที่กำหนดด้วยวัสดุและ      การแสดงออกอย่างเหมาะสม ๑.๓ มีทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะตามหลักองค์ประกอบศิลป์
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนวิชาองค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะในการคลี่คลายรูปแบบ เลือกหาเทคนิควิธีการให้เหมาะสมกับการแสดงออก รวมทั้งสามารถประยุกต์หรือบูรณาการงานศิลปะร่วมกับศาสตร์ด้านอื่นๆได้และมีแบบเฉพาะตน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย ที่มาและความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุทางศิลปะ หลักการจัดองค์ประกอบด้วยวัสดุและเทคนิควิธีการต่างๆโดยเน้นความคิดสร้างสรรค์
อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน จำนวน ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ข้อ ๑  ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ข้อ ๒  มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น ข้อ ๓  มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
กำหนดให้มีการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
ข้อ ๑ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง(ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
   ข้อ ๒ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรม ศาสตร์อย่างเป็นระบบ ข้อ ๓ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)      ข้อ ๔  มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา        
มุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
 ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ                    (๑) การทดสอบย่อย เช่นการทำภาพร่างก่อนขยายผลงานจริง                    (๒) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน เป็นชิ้นงานใหญ่                    (๓) ประเมินจากการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน                    (๔) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
ข้อ ๑ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
     ข้อ ๒ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์    
ข้อ ๓ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้    
ข้อ ๔ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษา  การสร้างผลงานทางศิลปะ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูลเพื่อนำมาตีความถ่ายทอดเป็นผลงานเฉพาะตน การบูรณาการทางศิลปะ   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน  การปฏิบัติงานของนักศึกษา  และการนำเสนองาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
ข้อ ๑ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
ข้อ ๒ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
ข้อ ๑ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๒ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ    ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม   ประเมินจากการอธิบาย  การนำเสนอ
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
    ข้อ ๑ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)    
ข้อ ๒ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง    
ข้อ ๓ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
                                   (1)          มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ                                    (2)          มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง                                    (3)          มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
 ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงาน สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3
1 BFACC404 องค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การนำเสนอผลงานตามหัวข้อที่ ๓, ๕, ๗ สอบกลางภาค การนำเสนอผลงานตามหัวข้อที่ ๑๐, ๑๒, ๑๔, ๑๗ สอบปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา ประเมินการนำเสนอในแต่ละครั้ง จิตพิสัย ความสนใจ การเรียนสม่ำเสมอ การแต่งกายสะอาด การเข้าชั้นเรียน 3,5,7,10,12,14,16,17 การนำเสนอผลงาน ภาพร่างและขยายผลงานจริง รายสัปดาห์ 60% การสอบกลางภาคและสอบปลายภาค 40%
           ศิลปะเบื้องต้น วาดเส้น ระบายสี ใบหน้าสร้างสรรค์ / ชัยวัฒน์ การรื่นศรี,           กรุงเทพฯ : ปาเจรา, 2546           องค์ประกอบศิลป์ / สมภพ จงจิตต์โพธา, กรุงเทพฯ : วาดศิลป์, 2554           องค์ประกอบของศิลปะ, ชลูด นิ่มเสมอ, กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2531           ศิลปะคลาสสิก : สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตกรรม / กฤษณา หงษ์อุเทน, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2549           ศิลปะร่วมสมัย, วิรุณ ตั้งเจริญ, กรุงเทพฯ : วิฌวลอารต์, 2527           ศิลปะหลังสมัยใหม่ = Postmodern art / วิรุณ ตั้งเจริญ, กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์, 2547           ศิลปะภายใต้แรงกดดัน = Arts under pressure / Joost Smiers ; แปลโดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์, กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ, 2550
แหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ ทั้งในห้องสมุดและสถานที่จริง                    -  หอศิลปวัฒนธรรม ต่างๆในประเทศไทย                    -  วัดต่างๆที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์ในประเทศไทย                    - แหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย                    - โรงงานอุตสาหกรรมทางด้านศิลปะที่มีชื่อเสียง                    - แกลลอรี่                    - บ้านศิลปินแห่งชาติ                    - พิพิธภัณฑ์
วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ           - Art 4D           - Fine Arts           - Aesthetica - The Art and Culture Magazine - ART PAPERS, based in Atlanta, US   สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ           http://www.deviantart.com/ http://www.art.net/ www.artinfo.com http://www.artbabble.org/ http://www.artcyclopedia.com/ http://www.artdaily.org/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดทุกครั้ง
- การสังเกตการณ์โดยผู้สอนประเมินผลรายสัปดาห์และรายเทอม - สรุปผลการเรียนของนักศึกษา - การประเมินผลสอบกลางภาคและปลายภาคจากชิ้นงานของนักศึกษา - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน - การสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน - โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
- กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา - ทวนสอบจากคะแนนงานที่มอบหมาย จากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษาจากอาจารย์ต่างหลักสูตร - ตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการศึกษา
- ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔ - เชิญวิทยากรภายนอกให้ความรู้ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากมุมมองทัศนคติ ที่หลากหลาย