วิศวกรรมความปลอดภัย

Safety Engineering

 1. เข้าใจพื้นฐานของอุบัติเหตุ และการป้องกัน  2. รู้สาเหตุ และการควบคุมการเกิดอุบัติเหตุ   3. เข้าใจหลักการบริหารความปลอดภัย   4. เข้าใจกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย  5. เห็นคุณค่าในวิศวกรรมความปลอดภัย   
เพื่อให้รายวิชาเป็นมาตรฐาน และไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
 
ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยและสาเหตุของอุบัติเ้หตุ ออกแบบ วิเคราะ์และควบคุมความเสี่ยงภัยในพืิ้นที่ทำงาน วิธีการป้องกันอุบัติภัยในการทำงาน สภาพแวดล้อมและองคืประกอบเกี่ยวกับความปลอดภัยทางวิศวกรรม การประกันอุบัติเหตุ การสอบสวนอุบัติเหตุ การประเมินความเสี่ยง ระบบและอุปกรณ์ป้องกันภัย การจัดตั้งอค์กรความปลอดภัยทางวิศวกรรม หลักการบริงานควาามปลอดภัยและลกฎหมายาความปลอดภัย
1 ชั่วโมง
1. คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่าง ราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาการวัสดุวิศวกรรม ต้องพยายามสอดแทรก ตามแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชาการวัสดุวิศวกรรม (Curriculum Mapping) กำหนดความรับผิดชอบหลักไว้
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม นอกจากนั้นในการสอนรายวิชาของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ยังได้สอดแทรกเนื้อหาที่ เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ และจรรยาบรรณ วิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่ จําเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทํากิจกรรมที่กําหนดมีการกําหนดคะแนนในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา
1. ให้ความสำคัญในเรื่องการตรงต่อเวลา การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
2. การแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น 
4. ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยและสังคม
1. พฤติกรรมการเข้าเรียนตรงเวลาของนักศึกษา เช็คชื่อ และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามตรงเวลา 
2. สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับอย่างต่อเนื่อง
3. ปริมาณการทุจริตในการสอบ
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ในวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้จากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) กำหนดความรับผิดชอบหลักไว้ ในข้อ 2.1.2 และความรับผิดชอบรองไว้ในข้อ 2.1.1 และ 2.1.3  2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทาง คณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานวิศวกรรมความปลอดภัย (ปัจจัยและสาเหตุของอุบัติเหตุ ความเสี่ยงภัยในพื้นที่ทำงาน)  2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบ วิเคราะห์ควบคุมความเสี่ยง วิธีการป้องกันอุบัติภัยในการทำงาน การสอบสวนอุบัติเหตุ การประเมินความเสี่ยง ระบบและอุปกรณ์ป้องกันภัย การบริหารงานความปลอดภัย และกฎหมายความปลอดภัย  2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้จากวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ กรณีศึกษา บทบาทสมมติ มอบหมายศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มอบหมายกิจกรรมกลุ่มศึกษาความปลอดภัยในสถานประกอบการ โดยนำมาสรุปและนำเสนอ ทำแบบฝึกหัด การนำเสนอผลงาน
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 
2. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
3. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
4. ผู้ร่วมเรียนประเมินกันเอง
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบ การศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจําเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) กำหนดความรับผิดชอบหลักหัวข้อ 3.1.2 ความรับผิดชอบรองคือหัวข้อ 3.3.1 และ หัวข้อ 3.3.3 
3.3.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ วิเคราะห์และควบคุมความเสี่ยง วิธีป้องกันอุบัติภัย การสอบสวนอุบัติเหตุ การประเมินความเสี่ยง
3.3.3 สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ กรณีศึกษา บทบาทสมมติ มอบหมายศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มอบหมายกิจกรรมกลุ่มศึกษาความปลอดภัยในสถานประกอบการ โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การอภิปรายกลุ่ม ทำแบบฝึกหัด และการนำเสนอผลงาน 
1.  พิจารณาจากผลการนำเสนอผลงาน และผลงานกลุ่ม และผลงานส่วนบุคคล
2.  ผลการทำแบบฝึกหัด 
3. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ ข้อสอบกลางภาค ปลายภาค สอบย่อย
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คน ที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่ จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้อง กับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน จากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) กำหนดความรับผิดชอบหลักคือหัวข้อ 4.1.4 ความรับผิดชอบรองคือหัวข้อ 4.1.1 โดยระบุข้อความว่า 4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย มาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม  4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้ง งานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมี ประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความ รับผิดชอ
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 
2. การนำเสนอรายงาน
1. ประเมินจากผลงานการอภิปราย  
2. ผลการนำเสนอผลงาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
จากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) การควบคุมคุณภาพกำหนดความรับผิดชอบหลักคือหัวข้อ 5.1.2 และความรับผิดชอบรองคือหัวข้อ 5.1.3
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่าง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายกรณีศึกษา
2. การค้นคว้ารายงานนำเสนอผลงาน
1. ประเมินจากเทคนิคการนําเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทาง เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
2. ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจํากัด เหตุผลในการเลือกใช้ เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนําเสนอต่อชั้นเรียน
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย การทํางานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลัก ทฤษฎีแต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติการใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสําคัญมากในการทํางาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จําเป็นยิ่งในการ พัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมอุตสาหการ ดังนั้นในการเรียนการสอนวิชาการควบคุมคุณภาพ จากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ได้ครอบคลุมความรับผิดชอบรองคือ 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
มอบหมายกิจกรรมกลุ่ม กรณีศึกษา 
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน
2. ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ึคุณธรรม ความรู้ ปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล วิเคราะห์ตัวเลข ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2 1.1 และ 1.3 1.2 3.2 3.1,3.3 4.1 4.4 5.2,5.3 6.2
1 ENGIE118 วิศวกรรมความปลอดภัย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 พฤติกรรมการเข้าเรียนตรงเวลาของนักศึกษา เช็คชื่อ ความตรงต่อเวลาในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับอย่างต่อเนื่อง ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 3.3 แบบฝึกหัด ผลรายงาน ผลการปฏิบัติงาน 3-16 20%
3 4.4 5.2 5.3 ผลการรายงาน นำเสนอผลงาน 20%
4 2.1-2.3 3.1-3.3 สอบกลางภาค ปลายภาค 8 และ 17 50%
จิตรา รู้กิจการพานิช. วิศวกรรมความปลอดภัยสำหรับวิศวกรรมอุตสาหการ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. 2561.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์.วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ. 2543.
พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535
พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ทยา  อยู่สุข. อาชีวอนามัยความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม. ภาควิชาอาชีวอนามัยความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542
 
นักศึกษาประเมินผู้สอนผ่านระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย
อาจารย์ผู้สอนทบทวนผลการประเมินการสอน 
นำผลการประเมินจากนักศึกษา ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา กิจกรรมการเรียนการสอนมาปรับปรุงรายวิชา
พิจารณาจากผลงาน คะแนน
ทบทวนนำเสนอใน มคอ.5