การเตรียมศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม

Industrial Design Pre-Thesis

เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดทำศิลปนิพนธ์ด้าน ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และออกแบบหัตถอุตสาหกรรม และนำเสนอศิลปนิพนธ์เพื่อเผยแพร่ต่อสังคม
1) เพื่อมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์และออกแบบหัตถอุตสาหกรรมที่พร้อมจะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านทฤษฏีเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบอุตสาหกรรมรวมทั้งอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาล้านนา อันตอบสนองต่อธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศ 2) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีวินัย มีคุณธรรมจริยธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตมีสำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมล้านนา 3) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำและผู้ตาม นำความรู้ไปประกอบอาชีพได้เต็มความสามารถสนองความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ศึกษากรอบคิด ระเบียบและขั้นตอนการทำโครงงานออกแบบ ค้นคว้าข้อมูลบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาและค้นคว้าเพิ่มเติม เขียนโครงงานด้านการออกแบบอุตสาหกรรมในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจและมีความเป็นไปได้ในการทำโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม นำเสนอหัวข้อศิลปนิพนธ์
1
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตาม
คุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบในการเข้าเรียน เช็คชื่อและมีการให้คะแนนในส่วนของการเข้าเรียนครบและตรงต่อเวลา
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัย เคารพ กฎ ระเบียบและข้อบังคับของสถานศึกษา กล่าวชมเชยนักศึกษาที่แต่งกายถูกระเบียบ
1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมถึงการมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.3.1 ประเมินจากการเข้าเรียนทุกครั้ง
1.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาที่เข้าเรียน
2.1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการและทฤษฎีที่สำคัญในการทำโครงงาน
2.1.2 สามารถค้นคว้าหาข้อมูล นำหลักการ ทฤษฏี และความรู้อื่นๆ เข้ามาสร้างแนวทางและ
แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
2.2.1 บรรยาย หลักการและทฤษฎีที่สำคัญในการทำโครงงาน
2.2.2 สอดแทรกความรู้ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.3 วิธีการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการสอนแบบตั้งคำถาม(Questioning-Based)
2.2.4 มอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้อื่นๆเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงาน
2.3.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
2.3.2 ประเมินจากข้อมูลในการทำโครงร่างโครงงานและการอ้างอิงที่มาของข้อมูล
3.1.1 สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยง และทำความเข้าใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยบูรณาการความรู้ในหลายๆด้านมาสังเคราะห์แนวคิด เพื่อสร้างสรรค์ตามกระบวนการจัดทำโครงร่างโครงงาน
3.1.2 มีกระบวนการทางความคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ
3.2.1 วิธีการสอนแบบตั้งคำถาม(Questioning-Based)
3.2.2 มอบหมายให้จัดทำโครงร่างโครงงานออกแบบเครื่องเรือน
3.3.1 ประเมินจากการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
3.3.2 ประเมินจากโครงร่างโครงงานออกแบบเครื่องเรือน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
กำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคล แนะนำการเตรียมตัวในการติดต่อขอความอนุเคราะห์ขอข้อมูลในการทำโครงงาน
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงาน
4.3.2 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 มีทักษะทางการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดความรู้และนำเสนอโครงงาน ทั้งการพูด การเขียนและการใช้สื่ออื่นๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.4 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียมา
5.3.2 จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.3 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.4 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะควาสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 3 1 2 3 4 2 1 3 2 1 3 1 2
1 BAAID123 การเตรียมศิลปนิพนธ์ออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.2, 3.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8, 17 15%, 15%
2 2.3.2, 3.3.2, 3.3.3, 4.3.1, 4.3.2, 5.3.1, 5.3.2 การปฏิบัติงานและผลงาน โครงงาน (Project-Based Learning) ตลอดภาคการศึกษา ปลายภาคการศึกษา 50%, 10%
3 1.3.1 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. [ม.ป.ป.]. คู่มือเรียบเรียงวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจคุณทหารลาดกระบัง.
จันทนี เพชรานนท์.[ม.ป.ป.]. การทำรายละเอียดประกอบโครงการการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [ม.ป.ป.]. การค้นคว้าการเขียนรายงาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. ทิศนา แขมมณี. 2540. การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพดล สหัสชัยเสรี. [ม.ป.ป.]. บทความหลักการวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2540. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2553 . คู่มือการวิจัยการเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สรชัย พิศาลบุตร. 2547. วิจัย...ใครว่ายาก. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์ สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง มิถุนายน. 2555. คู่มือจัดทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน Google Form ที่ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางในการสื่อสารกับนักศึกษา
 
2.1 การสังเกตการณ์พฤติกรรมของผู้เรียน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน