โครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

Electronic and Telecommunication Technical Education Project

     1. เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและการวางแผนการสร้างโครงงานตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
     2. ปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ทางด้านการศึกษาหรือด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
     3. ปฏิบัติการวางแผน จัดเตรียม ออกแบบและสร้างโครงงานตามแบบแผนที่ได้กำหนดไว้ได้อย่างครบถ้วน
     4. ปฏิบัติการสร้างผลงานที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ หรือเทคโนโลยีทางด้านการศึกษาหรือด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม บูรณาการเพื่อแก้ปัญหาในงานที่เกี่ยวข้อง สร้างนวัตกรรม เพื่อการเรียนการสอน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสายวิชาหรือเป็นประโยชน์ต่อสังคม
     5. สามารถรับฟังและยอมรับความคิดเห็นหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ จากเพื่อนนักศึกษาหรือคณะกรรมการสอบวิชาโครงงาน และสามารถนำปัญหามาวิเคราะห์ ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาเพื่อให้ผลงานของตนมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
     6. มีทักษะในการนำเสนอผลงาน โดยสามารถนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในการสอบวิชาโครงงานได้อย่างน่าสนใจและเหมะสม
     7. มีทักษะในทำงานเป็นทีม มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือและโปรแกรมต่าง ๆ ในการทำโครงงานได้อย่างเหมาะสม และโครงงานสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อได้
     8. เห็นความสำคัญของวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
 
     เพื่อให้นักศึกษา มีทักษะในการปฏิบัติการเกี่ยวกับศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงานตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานอันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา หรือต่อสังคม และนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
     ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงานตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบ การทดสอบและสรุปผลโครงงานจัดทารายงานและนาผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
     1. อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา และหน้าห้องพัก 
     2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา สามารถขอปรึกษาตลอดเวลาโดยที่ผู้สอนจะคอยตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม
     นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
     1.1.1 แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
     1.1.2 สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
     1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
     1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
     1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
     1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
     1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
     1.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
     1.3.1  ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     1.3.2  ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
     1.3.3  ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
     1.3.4  ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
     นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาวิศวศึกษาตามเอกวิชา คือ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
     2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไปของรายวิชา TEDEE210 โครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1) ดังนี้ เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาแล้วจะต้อง มีความรู้ เข้าใจและสามารถปฏิบัติการในเรื่องเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงานตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบ การทดสอบและสรุปผลโครงงานจัดทารายงานและนาผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
     2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
     2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
 
     2.2.1 เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
     2.2.2 ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ
     2.2.3 ส่งเสริมและชี้แนะการบูรณาการนำความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการฝึกงานในสถานประกอบการ และปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
     2.3.1 ประเมินผลตลอดภาคเรียน
     2.3.2 ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
     2.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการ
     2.3.4 ประเมินผลจากการฝึกงานในสถานประกอบการ
     2.3.5 ประเมินผลจากการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
     นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี้
     3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
     3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
     3.2.1 ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 
     3.2.2 ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
     3.3.1 ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.3.2 ประเมินผลจากการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
     3.3.3 ประเมินผลจากการอภิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ
     นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมี ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
     4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
     4.1.2 แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
     4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
     4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
     4.2.1 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
     4.2.2 ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
     4.2.3 กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
     4.2.4 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
     4.3.1 ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
     4.3.2 ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
     4.3.3 ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
     4.3.4 ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
     ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
     5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
     5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
     5.1.3 สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
     5.2.1 ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.2.2 วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
     5.2.3 นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.3.1 ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
     5.3.2 ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
     5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
     5.3.4 จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล 
     การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริง ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
     6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
     6.1.2 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
     6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
     6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
     6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
     6.2.4 สนับสนุนการจัดทำโครงงาน
     6.3.1 ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
     6.3.2 ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
     6.3.3 ประเมินผลจากโครงงานนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2
1 TEDEE210 โครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 4.2, 4.3, 4.4, 5.1, 5.2, 5.3, 6.1 1) ผลการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงการ 2) ผลการปฏิบัติการสอบหัวข้อโครงการ ตลอดภาคการศึกษา 80%
2 2.1, 2.2, 2.3, 4.2 การส่งและนำเสนองานตามที่มอบหมายของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 3.2, 4.3, 5.3 1) การเข้าชั้นเรียน 2) การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
    1. คู่มือการจัดทำโครงการ หลักสูตร ค.อ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
    2. คู่มือการพิมพ์โครงการ หลักสูตร ค.อ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
    3. ระเบียบการจัดทำโครงการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา
    4. คู่มือการพิมพ์โครงการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจในการจัดทำโครงงาน
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4