การเตรียมโครงงานวิศวกรรมการผลิต

Production Engineering Pre-Project

เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการองค์ความรู้ทางวิศวกรรมอุตสาหการ มาศึกษาหาหัวข้อโครงงานวิจัย ในเรื่องที่มีความสนใจ โดยการระบุปัญหา ตั้งสมมติฐาน วางแผนดำเนินงาน หาวิธีการทดสอบ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ และสามารถจัดทำข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานและหัวหน้างาน (พนักงานบริษัท) เป็นพี่เลี้ยง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านการเตรียมโครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ศึกษาความเป้นมาของปัญหาด้านวิศวกรรม รวบรวมข้อมูลและศึกษาความเป็นไปได้ของหัวข้อโครงงาน วิธีการดำเนินโครงงาน เตรียมแผนการดำเนินโครงงาน กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน และแผนการดำเนินงาน ตลอดจนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เพื่อดำเนินโโครงงาน และรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน  
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 ตรวจเช็คการเข้าเรียนทุกครั้งและให้มีการส่งงานที่มอบหมายตรงเวลา 1.2.2 ส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำกลุ่มและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคีในการทำงานเป็นกลุ่ม 1.2.3 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ให้คะแนนการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 1.3.2 สังเกตการณ์ทำงานในกลุ่ม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 1.3.3 ประเมินผลจากการสอบหัวข้อโครงงาน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาหัวข้อโครงงาน 2.2.2 ใช้การสอนโดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้สามารถเรียบเรียงทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงงานและ มีการอ้างอิงเอกสารได้ถูกต้อง
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 ประเมินผลงานที่มอบหมายเป็นรายสัปดาห์ 2.3.2 ประเมินจากโครงงาน โดยพิจารณาจากความถูกต้อง ความน่าสนใจและนำไปใช้งานได้จริงของโครงงาน 2.3.3 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอโครงงาน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 ส่งเสริมการอ่านเพื่อให้มีแนวคิด วิเคราะห์ เพื่อให้สามารถหาหัวข้อโครงงานได้ 3.2.2 ให้มีการเรียนรู้โดยการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ 3.2.3 ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง เพื่อให้มีจินตนาการในการปรับใช้ผลที่ได้จากการศึกษาไปต่อยอดองค์ความรู้ และใช้งานได้จริง 3.2.4 มอบหมายให้ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นแบบอย่างในการสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 วัดผลจากหัวข้อของโครงงาน 3.3.2 วัดผลจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 3.3.4 วัดผลจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 ให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็น เพื่อให้นำเสนอโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.2.2 ให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด 4.2.3 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย 4.2.4 ให้มีจิตสานึกในความปลอดภัยในทำงาน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วม กล้าแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 4.3.2 ประเมินจากการส่งงานตามกำหนด 4.3.2 สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.4 สังเกตจากการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการทำงาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สาหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.4 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 ฝึกให้มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการแปลความหมาย รวมทั้งการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา 5.2.2 มอบหมายการนำเสนอโครงงานโดยมีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.3 อธิบายวิธีการจัดทารายงานที่ถูกต้อง ให้มีการอ้างอิงเอกสารอย่างถูกต้อง
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล 5.3.2 ประเมินจากการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.3 ประเมินจากความสมบูรณ์ ถูกต้องของรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3
1 ENGIE210 การเตรียมโครงงานวิศวกรรมการผลิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 2.1 1.1 2.2 1.1 2.2 4.2 5.1 5.3 6.1 การเข้าชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการเรียน อภิปรายเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.3 3.4 5.2 3.2 5.2 นำเสนอโครงงาน 7-8 15-16 20%
3 การดำเนินการสอบหัวข้อโครงงาน 14-15 60%
4 งานที่มอบหมายครั้งที่ 1 พิจารณาจากความเป็นไปได้ของโครงงาน การนำไปใช้งานได้จริง -งานที่มอบหมายครั้งที่ 2 พิจารณาจากความถูกต้อง ควบถ้วน มีมาตรฐานรองรับ -งานั้มอบหมายครั้งที่ 3 พิจารณาจากความถูกต้อง ครบถ้วน มีเอกสารอ้างอิง มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง -รายงานประกอบการนำเสนอครั้งที่ 2 12-13 10%
- คู่มือแบบเสนอหัวข้อปริญญานิพนธ์ - คู่มือการจัดทำปริญญานิพนธ์
ตัวอย่างปริญญานิพนธ์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องในการประมวลรายวิชา ตัวอย่างเช่น http://dcms.thailis.or.th/dcms/index.php http://www.find-docs.com/index.php http://www.eit.or.th /ejournal.php?siteid=0&option=ejournal&lang=th http://www.cpacacademy.com http://libary.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/searching.php http://www.sciencedirect.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นของนักศึกษาดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน e-mail address ของอาจารย์ผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการประเมินของนักศึกษา 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงการพิจารณาจากการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ดังนี้ 4.1 การทวนตรวจสอบการให้คะแนนการส่งตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการประจำสาขาวิชา ตรวจสอบการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ผลจากการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ