โครงสร้างภาษาอังกฤษ

English Structure

1. สามารถวิเคราะห์โครงสร้างในระดับคำ
2. มีความรู้ในเรื่องการสร้างคำ
3. สามารถวิเคราะห์โครงสร้างภาษาในระดับวลี อนุประโยค และ ประโยค
4. สามารถเขียนโครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับวลี อนุประโยคและ ประโยค ได้ตามหลักภาษาที่ถูกต้อง
5. สามารถเขียนประโยคโดยใช้ตัวเชื่อมเพื่อสื่อความหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพและใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้อย่างเหมาะสม
            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเรื่องการวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ โครงสร้าง ภาษาอังกฤษในระดับคำวลี และประโยค ผู้เรียนสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษอื่นๆ ตลอดจนประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่นๆ และสามารถใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
          ศึกษาชนิด และ หน้าที่ของคำ วลี และ โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ (Study English parts of speech, phrases and sentences structures)
ทุกวันพุธ 09.00 – 12.00 น.(เฉพาะรายที่ต้องการ)
          มีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
1.2.1 สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.3 กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.3.1 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.2 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.4 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
1.3.5 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.2.2 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.2.3 การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
2.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.4 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
          มีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
3.2.1 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
3.2.2 การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.3 การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่าง ๆ
3.3.3 ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
3.3.4 ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
           มีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี โดยที่นักศึกษามีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.2.2 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
4.3.1 การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
4.3.3 สังเกตพฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
4.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
           มีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
5.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
5.2.3 ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
5.3.1 การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
5.3.2 พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
             มีการแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
6.2.1 จัดกิจกรรมที่สอดแทรกการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในชั้นเรียน
6.2.2 จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง
 
6.3.1 การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
6.3.2 ผลงานนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย
6.3.3 พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC101 โครงสร้างภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1 การทดสอบย่อย ครั้งที่ 1 4 10 %
2 2.1, 2.2, 3.1 การทดสอบย่อย ครั้งที่ 2 14 10%
3 2.1, 2.2, 3.1 การสอบกลางภาคเรียน 9 25%
4 2.1, 2.2, 3.1 การสอบปลายภาคเรียน 17 25%
5 2.1, 2.2, 3.1, 4.4 งานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม (Individual and Group Assignments) ตลอดภาคการศึกษา 20%
6 1.2 การเข้าชั้นเรียนและความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
-    เอกสารประกอบการสอน  : Relating to English Structure (Morphology, Parts of speech, Phrases, Clauses, Types of Sentences, and Sentences structure)
-    Power Point
-Azar, S. (2003). Fundamentals of English Grammar. 3rd Edition New York: Longman Publishing.
-Broukal, M. (2005). Grammar Form and Function. New York: McGraw - Hill.
-Huddleston, R., & Pullum, G. K. (2002). The Cambridge grammar of the English language. Cambridge: Cambridge University Press.
-Murphy, R. and Amalzer, W. (2002). Basic Grammar in Use. 2 nd Edition. UK: Cambridge  University Press
-Radford, A. (2009). An Intoduction to English Sentrnce Structure.Cambridge: Cambridge University Press. NewYork. 
-“Parts of Speech”. 2008. [Online]. Available: http:// http://www.new.towson.edu/ows/index.htm
-Peterson, J.& Hagen,S. (1999). Better Writing Through Editing.New York: McGraw-Hill
-Quirk, R., Greenbaum, R., Leech, G., & Svartvik, J. (1985).A comprehensive grammar of the English language. London: Longman.
 
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
1.1) การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
1.2) ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียน การสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1) สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2.2) สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
2.3) ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจ ในเนื้อหา
2.4) ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
2.5) ประเมินจากการนำเสนองานของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
3.1) ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
3.2) สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3.3) สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
4.1) ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละ คนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็น รายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
4.2) ในระหว่างการเรียนการสอนมีการประเมินผลการนำเสนองานของนักศึกษา และให้คำแนะนำและบอกผลการประเมินการนำเสนองานว่าเหมาะสมอย่างไร รวมทั้งต้องปรับปรุงในประเด็นใดบ้าง
5.1) ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษา เนื้อหาให้ เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
5.2) มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความ น่าสนใจ
5.3) ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อ รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน
5.4) ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชา ในการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปี