การบัญชีชั้นกลาง 2

Intermediate Accounting 2

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีการต่างๆ ทางบัญชีเกี่ยวกับหนี้สินทั้งหนี้สินหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน และวิธีการจัดทำงบการเงินที่เกี่ยวข้อง
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีต่างๆ ทางการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ ของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด และวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้น และงบกระแสเงินสด
1.3 เพื่อให้นักศึกษา สามารถศึกษาค้นคว้า การจัดทำบัญชี ของกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ได้
1.4 เพื่อฝึกหัดการนำแนวคิด หลักการและวิธีการบัญชี ตามมาตรฐานรายงานทางการเงินในปัจจุบัน ไปใช้ในทางปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหนี้สินและส่วนของเจ้าของได้อย่างถูกต้อง
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ความ เข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและในชีวิตประจำวันได้
2.2 เพื่อพัฒนาความสามารถนักศึกษา ในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
2.3 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สิน การตีราคา การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้นและงบกระแสเงินสด
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในไลน์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 4 ห้องพักอาจารย์สาขาการบัญชี
 
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน

การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1.1 มีความรู้และเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการและวิธีการทางการบัญชี
แนวคิดหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สิน การตีราคา การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน รวมทั้งกำไรสะสม กำไรต่อหุ้นและงบกระแสเงินสด
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
- มีความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆโดยวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
-ทักษะการจัดทำและการนำเสนองบแสดงฐานะการเงิน เกี่ยวกับหนี้สิน ทักษะวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบกระแสเงินสด
2.2.1 ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหาวิชา เช่นการบรรยาย ยกตัวอย่างการคำนวณและการบันทึกบัญชี และการถาม-ตอบในชั้นเรียน
มอบหมายแบบฝึกหัดแก้โจทย์ปัญหาแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.2.2 ประเมินผลจากการส่งแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย
2.2.3 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการเงินและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาการตัดสินใจ
3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.2.2 จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3.2.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มาขึ้น
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3.3.3 ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อย โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางบัญชี โดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.2.3 ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
4.3.1 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม
4.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5.2.3 ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
5.2.4 มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5.3.2 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC121 การบัญชีชั้นกลาง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1, 2, 3 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 4,5 สอบปลายภาค 3,4,5 9 11,14 18 25% 15% 25% 15%
2 1,2,3,4,5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งแบบฝึกหัด การทำโจทย์ปัญหา และการถาม – ตอบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
เอกสารประกอบการสอน การบัญชีชั้นกลาง 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สินีนาฏ วงศ์เทียนชัย
มาตรฐานการบัญชี, มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1, 7, 8 , 33, 37, 107, ฯลฯ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 102, กฎหมายบริษัทจำกัด, พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เวปไซต์ ต่อไปนี้
- www.Fab.or.th เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี
- www.nukbunchee.com เว็บไซด์นักบัญชีดอทคอม
- www.set.or.th เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- www.dbd.go.th กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านช่องทางสื่อสาร email และ Facebook ของอาจารย์ผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลาโดยตรงกับอาจารย์ผู้สอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 จัดหากรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากกรณีศึกษาต่างๆ