การสำรวจและวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม

Survey and Research for Tourism Industry and Hotel

          1.1 เพื่อศึกษาและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสำคัญและความจำเป็นในการทำวิจัยทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม
          1.2 เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงการทำวิจัยประเภทต่างๆ  
          1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการและขั้นตอนในการวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม รวมถึง การสร้างเครื่องมือ การทดสอบความตรงและความเที่ยง ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลในการวิจัย
          1.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีความเข้าใจในการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในการวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม
เพื่อให้นักศึกษาสามารถคิด วิเคราะห์ และแยกแยะประเด็นปัญหาที่จะนำมาทำวิจัย โดยสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากรายวิชาในหลักสูตรเป็นพื้นฐานในการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือตอบโจทย์วิจัยได้เป็นอย่างดี
   ศึกษาความสำคัญและประโยชน์ ของการวิจัยเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการในท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค ศึกษาขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัยและการนำเสนอ โดยให้นักศึกษาเลือกศึกษาวิจัยในหัวเรื่องที่อยู่ในความสนใจหนึ่งเรื่อง
ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
โดยวิธีการต่อไปนี้ 
          - อาจารย์ให้คำปรึกษาผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือการโทรศัพท์ในการนัดหมายเพื่อให้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า รวมถึงอัพเดทข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนผ่านกลุ่มในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
          - การจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล ตามประเด็นปัญหาของนักศึกษาที่ใช้ในการทำหัวข้อวิจัย
 
 บทบาทในการพัฒนาผู้เรียนในมีความรู้ความเข้าใจ และความรับผิดชอบ โดยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ตลอดจนความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ โดยเน้นประเด็นสำคัญคือ จรรยาบรรณนักวิจัย
          วิธีการสอนโดยการบรรยาย สาธิต พร้อมยกตัวอย่างประกอบ และ มอบหมายงาน โดยสอดแทรกการอธิบายจริยธรรมของนักวิจัย ไปกับการเรียนการสอนในเนื้อหา
          - สังเกตและประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียน ความรับผิดชอบต่องาน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายและตรงเวลาพฤติกรรมก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน ดูความสนใจและความกระตือรือร้นของนักศึกษา  
          - ประเมินผลจากคุณภาพของรายงานการวิจัย รูปเล่มสมบูรณ์ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา
          นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของการทำวิจัย โดยมีประเด็นปัญหาที่จะทำการศึกษาและการนำเอาความรู้ไปคิดสร้างหัวข้อโครงการวิจัย เข้าใจในระเบียบวิธีวิจัย การแปลผล ตีความ และการเขียนรายงานวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง           
               - การบรรยาย
               - ยกตัวอย่างกรณีศึกษา  
               - ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการแปลผลการศึกษา
         พิจารณาจากการเก็บคะแนนจากผลงานหรือรูปเล่มรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
        การฝึกคิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ โดยการนำเอาความรู้และความเข้าใจไปวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข
        ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าข้อมูลและนำเสนอพร้อมอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน ผู้สอนจะทำหน้าที่บรรยายในแต่ละหัวข้อ และให้คำแนะนำเพิ่มเติมในกรณีทำกิจกรรมกลุ่ม
        สังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียนและติดตามงานที่ได้มอบหมาย และประเมินจากแบบฝึกหัด  การทดสอบวัดความรู้และทักษะ  จากงานที่ได้รับมอบหมาย
           การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการลงพื้นที่วิจัย กับชุมชน หรือนักท่องเที่ยว
           ให้นักศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูลในงานของตน
           พิจารณาจากการสอบโครงร่างและเล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์
          นักศึกษาสามารถใช้ อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูล มีการนำเสนองานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงมีทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด  การฟัง การอ่าน และการเขียน  โดยเน้นไปยังทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย และเอกสารประกอบงานวิจัย รวมถึงจัดการข้อมูล ความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์ หรือ สถิติเพื่อการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล งานวิจัย  
           ให้นักศึกษานำเสนอโครงร่างการวิจัย และทำรายงานการวิจัย
           พิจารณาจากความรู้ ความเข้าใจ ในระเบียบวิธีวิจัย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 จิตพิสัย ความตั้งใจเรียน/การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 การเข้าพบอ.ที่ปรึกษาและอ.ที่ปรึกษาร่วม ความสนใจ กระตือรือร้น และความพร้อมของงานที่นำมาส่ง 8-16 20%
3 การสอบโครงร่างการวิจัย ดูจากผลงาน/โครงร่างที่นักศึกษานำเสนอ ความเข้าใจในงานของตน 7-8 20%
4 การส่งรูปเล่มสมบูรณ์ ดูจากผลงานตามกระบวน การที่ได้ศึกษามา และการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา 8-16 50%
          ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.
          บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา  สุริยา ส้มจันทร์ และ จิระวงศ์ คงทอง. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เพลส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.
เอกสารประกอบการสอน และ powerpoint 
          การค้นคว้าหาข้อมูลจากฐานข้อมูล จากโครงการความร่วมมือพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
เกรด คะแนน เกณฑ์การพิจารณา A 80 – 100 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 80 -100 %  B+ 75 - 79 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 75 - 79 % B 70 - 74 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 70 - 74 %  C+ 65 - 69 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 65 - 69 % C 60 - 64 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 60 - 64 %  D+ 55 - 59 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 55 - 59 % D 50 - 54 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 50 - 54 % F 0 - 49 เข้าชั้นเรียน ร่วมกิจกรรม และส่งงานทั้ง 2 ชิ้น และสอบปลายภาคได้ 0 - 49 %
          ให้นักศึกษากรอกข้อมูลแบบสอบถาม online ในระบบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการสอนในชั้นเรียน
          ผลที่ได้รับจากการสรุปแบบสอบถาม online มาปรับปรุงการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนมากขึ้น
          สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
          นำข้อมูลที่ได้รับจากการสอนเทอมปัจจุบันไปปรับปรุงพัฒนาประสิทธิผลของรายวิชาในเทอมต่อไป