การปฏิบัติวิชาชีพ

Professional Practice

1.1 เข้าใจกระบวนการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน ได้แก่ขั้นตอนการออกแบบ การติดต่อและการเสนองาน หลักการออกแบบและเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายใน การประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการทำงาน การควบคุมและตรวจรับงานก่อสร้าง
1.2 เข้าใจข้อกำหนดตามมาตรฐานวิชาชีพ พันธกรณีต่อสังคม ลูกค้า อย่างมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามระเบียบข้อบัญญัติทางกฏหมาย และสภาวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาลำดับเนื้อหาการสอน รายละเอียดเนื้อหาการสอน ให้ครบถ้วนและทันสมัย ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา และ สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน
ศึกษากระบวนการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน การบริการวิชาชีพ แนวทางการดำเนินการร่วมกันระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อกำหนดวินัยตามมาตรฐานวิชาชีพ อย่างมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบัญญัติทางกฎหมาย และพันธกรณีต่อสาธารณะ ลูกค้า และสภาวิชาชีพ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนในชั่วโมงแรก
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางสถาปัตยกรรมภายใน ต่อบุคคล องค์กร และสิ่งแวดล้อม และวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจบริบททางสังคมของวิชาชีพสถาปัตยกรรม แต่ละสาขา ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน  
อบรมนศ.ด้านคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาเรียนรู้จากสถาปนิกวิชาชีพที่รับเชิญเป็นวิทยากร กรณีศึกษาด้านคุณธรรม จริยธรรมมาถ่ายทอด มอบหมายงานกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในชั้นเรียน พฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงาน การดูแลห้องเรียนและสภาพแวดล้อม การทดสอบเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม พฤติกรรมการทำงานนักศึกษาเรียนรู้จากสถาปนิกวิชาชีพ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจด้านทฤษฎีในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 มีความรอบรู้ในสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยาย อภิปราย จำลองสถานการณ์ สอบถามเพื่อทบทวนความรู้
2.2.2 มอบหมายงานกลุ่ม
2.2.3 สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.4 เชิญวิทยากร และศิษย์เก่าทาให้ประสบการณ์
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ผลงานที่มอบหมายมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพ
2.3.3 การอภิปราย รายงานในชั้นเรียน และการนำเสนอผลงานสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
3.1.3 มีทักษะในการรวบรวมองค์ความรู้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการแก้ปัญหา และพัฒนาต่อยอด
3.1.4 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 บรรยายโดยเน้นการสร้างความเข้าใจ และกระตุ้นให้นักศึกษาร่วมคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
3.2.2 อภิปรายร่วมกับสถาปนิกวิชาชีพที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพัฒนาปัญญา
3.2.3 มอบหมายงานที่ต้องค้นคว้าและวิเคราะห์ร่วมกัน
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่วัดความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล
3.3.2 ผลงานที่นำเสนอมีองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
4.1.1 มีความรับผิดชอบทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัว ให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
4.1.2 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ความรู้ในวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.3 สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานการรักษาสื่งแวดล้อม ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
4.2.1 แบ่งกลุ่มร่วมอภิปราย เพื่อพัฒนาบทบาทผู้นำและผู้ตาม
4.2.2 มอบหมายงานกลุ่ม เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความรับผิดชอบของนักศึกษา
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการศึกษาและการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาในชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามจากการทำงานกลุ่มที่มอบหมาย
4.3.3 ประเมินการทำงานเป็นทีมจากงานกลุ่มที่มอบหมาย
5.1.1 มีทักษะการสื่อสารสามารถถ่ายทอดความรู้และนำเสนอผลงาน ทั้งการพูดเขียน และใช้สื่ออื่นๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจ
5.2.1 ฝึกทักษะการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
5.3.1 ประเมินทักษะนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน ผลงานและสื่อนำเสนองาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.4 คำนึงถึงผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางสถาปัตยกรรมภายใน ต่อบุคคล องค์กร และสิ่งแวดล้อม 1.1.5 ตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจบริบททางสังคมของวิชาชีพสถาปัตยกรรม แต่ละสาขา ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน 2.1.5 สามารถค้นคว้าหาข้อมูล และนำหลักการ ทฤษฏี และความรู้อื่นๆเข้ามาสร้างแนวทาง และ แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติวิชาชีพอย่างเหมาะสม 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจด้านทฤษฎีในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2 มีความรอบรู้ในสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ด้านเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 3.1.3 มีทักษะในการรวบรวมองค์ความรู้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการแก้ปัญหา และพัฒนาต่อยอด 3.1.4 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1.1 มีความรับผิดชอบทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัว ให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม 4.1.2 สื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถใช้ภาาาไทยและภาษาต่างประเทศ 4.1.3 สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานการรักษาสิ่งแวดล้อม ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 5.1.1 มีทักษะการสื่อสารสามารถถ่ายทอดความรู้และนำเสนอผลงาน ทั้งการพูดเขียน และใช้สื่ออื่นๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจ
1 42024403 การปฏิบัติวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในชั้นเรียน 2 พฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงาน การดูแลห้องเรียนและสภาพแวดล้อม 3 การทดสอบเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 4 พฤติกรรมการทำงานนักศึกษาเรียนรู้จากสถาปนิกวิชาชีพ ตลอดภาคการศึกษา 13-16 20%
2 ความรู้ 1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฏี 2 ผลงานที่มอบหมายมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพ 3 การอภิปราย รายงานในชั้นเรียน และการนำเสนอผลงานสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 9,11,18,16 30%
3 ทักษะทางปัญญา 3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่วัดความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล 3.3.2 ทดลองทำข้อสอบเพื่อขอใบประกอบวิชาชีพ 3.3.3 ผลงานที่นำเสนอมีองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ 9,11,16,18 30%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่งบุคคลและความรับผิดชอบ 1 สังเกตพฤติกรรมการศึกษาและการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาในชั้นเรียน 2 ประเมินภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามจากการทำงานกลุ่มที่มอบหมาย 3 ประเมินการทำงานเป็นทีมจากงานกลุ่มที่มอบหมาย 13,14,15,16 10%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองาน 16 10%
เอกสารประกอบวิชา การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม รศ.วีระ บูรณากาญจน์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤษภาคม 2529

การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม รศ.อวยชัย วุฒิโฆสิต

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤษภาคม 2544

คู่มือสถาปนิก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์ 2537 กฎหมายอาคาร เล่ม 1-2 อาษา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น
htpp://www.asa.or.th/
htpp://www.winyou.net/
htpp://th.youtube
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การทดสอบความรู้4ครั้ง ได้แก่
การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบ การประเมินความรู้จากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกต
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 เพิ่มการเชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานมากขึ้นเป็น3ครั้ง
3.2 ปรับเนื้อหาการสอนมุ่งให้นศ.จบไปเป็นผู้ทำงานอิสระ และมีความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น
3.3 เปลี่ยนการศึกษาข้อมูลจากสถานประกอบการ เป็น จากผู้ประกอบการ และลดจำนวนนศ.ต่อกลุ่มจาก4-5คน เป็น กลุ่มละ2คน
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 การเชิญอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นๆ มาบรรยายในหัวข้อต่างๆบ้างเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์
5.3 เชิญอาจารย์ หรือวิทยาการศิษย์เก่ามาเล่า รายละเอียด และกระบวนการสอบใบประกอบวิชาชีพ
5.4 เชิญวิทยากร ผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปนิก เข้าร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนทัศนคติในการประกอบวิชาชีพกับนักศึกษา