หลักเศรษฐศาสตร์

Principles of Economics

1. วัตถุประสงค์ของรายวิชา : เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในความหมาย และความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์

เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประกอบกับวิชาที่สูงขึ้นต่อไป เพื่อนำไปใช้สำหรับการประกอบธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์กับสถานการณ์ปัจจุบันได้

 
 
หลักสูตรบริหารธุรกิจ ได้จัดทำขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานและการแข่งขันของโลก ดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน อีกทั้งพลวัตที่เคลื่อนเข้าสู่ยุคของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การดำเนินงานทางธุรกิจและในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจ รองรับความต้องการในงานด้านบริหารธุรกิจ ตลาดแรงงานและสถานประกอบการต่างๆ โดยเน้นให้บัณฑิตคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้ได้บัณฑิตที่มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และพัฒนาด้านการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
มีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับ อุปสงค์ อุปทาน การกำหนดราคาของตลาด การแทรกแซงราคาของรัฐบาล ความยืดหยุ่น พฤติกรรมผู้ผลิต ต้นทุนการผลิต ดุลยภาพของหน่วยผลิตในตลาดต่างๆ รายได้ประชาชาติและผลิตภัณฑ์ประชาชาติ การบริโภค การออมและการลงทุน การกำหนดระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ระดับการจ้างงานดุลยภาพ ธนาคารกลางและนโยบายการเงิน รัฐบาลและนโยบายการคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน ดุลการค้าและดุลการชำระเงิน การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นต้น
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มนอกชั้นเรียน ตามความต้องการของนักศึกษา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ดังนี้
3.1 วันพุธ (คาบกิจกรรม) เวลา 15.00 - 17.00 น. ของทุกสัปดาห์ ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาการจัดการ อาคารรัชมังคลานครินทร์
โทร. 081-4521585
3.2 E-mail: Chutisornk@gmail.com ได้ทุกวัน
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
š1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
˜1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
š1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1. การสอนแบบยกตัวอย่างกรณีศึกษา
2. การสอนแบบสนทนาโต้ตอบ
3. การมอบหมายงานให้ทำเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
4.การสอนฝึกปฏิบัติเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
1. มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ร้อยละ 85 ปฏิบัติตามกฎและสำเร็จตามกำหนด
2. การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
3. การสังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน ร้อยละ 80 เข้าตรงเวลา
˜2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
š2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
1. การสอนฝึกปฏิบัติเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
2. การมอบหมายงานให้รายงานบันทึกขั้นตอนและผลการปฏิบัติงาน รวมถึงอุปสรรคปัญหาที่เกิดขั้นพร้อมการแก้ไข
3. การสอนแบบสนทนาโต้ตอบ
4. การอธิบายและการสาธิต
1. ผลการปฏิบัติงาน
2. การเขียนรายงานบันทึกผลการปฏิบัติงาน
3. การสัมภาษณ์
4. การสังเกตพฤติกรรมในการทำปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
š3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
˜3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
š3.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
1. มอบหมายงานที่มีการใช้ทักษะมาบูรณาการในการทำงาน
1. ผลการปฏิบัติงานและมีคุณภาพ
2. สังเกตพฤติกรรมการเลือกใช้วิธีการหรือทักษะในการใช้เครื่องมือพื้นฐานหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่องานที่มอบหมาย
4.  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
š4.1  มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
˜4.2  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. การสอนฝึกปฏิบัติเป็นรายกลุ่ม
2. การมอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม
1. การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม
2. การสัมภาษณ์
3. การสังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติงานเป็นรายกลุ่ม
4. ผลการปฏิบัติงานและคุณภาพ
5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
˜5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
š5.5 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
1. การสอนฝึกปฏิบัติงานการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเทคโนโลยีเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
2. การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ โดยให้มีการศึกษา สืบค้น วิเคราะห์ เพื่อนำความรู้ไปใช้ และ บันทึกรายงานผลเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
1. การเขียนรายงานบันทึกผลการปฏิบัติงาน
2. สังเกตพฤติกรรมการเลือกใช้วิธีการหรือทักษะในการใช้เครื่องมือพื้นฐานหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่องานที่มอบหมาย
3. ผลการปฏิบัติงานและคุณภาพ
ทักษะพิสัย
š6.1  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกันกับศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม
˜6.2  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจนำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
š6.3  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 2.2, 2.3. 3.1, 3.2, 4.4, 5.2 การสอบกลางภาค บทที่ 1-8 9 35%
2 1.2, 2.1, 2.2, 2.3. 3.1, 3.2, 4.4, 5.2 การสอบปลายภาค บทที่ 9-15 17 35%
3 1.2, 2.1, 2.2, 2.3. 3.1, 3.2, 4.4, 5.2 งานที่มอบหมาย (แบบฝึกหัด) งานที่มอบหมาย (รายงาน) 1-8, 10-16 10% 10%
4 1.2, 2.1, 2.2, 2.3. 3.1, 3.2, 4.4, 5.2 คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน และความรับผิดชอบในรายวิชา 1-8, 10-16 10%
ชุติสร เรืองนาราบ. 2560. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์ . น่าน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน.
จรินทร์ เทศวานิช, สมนึก ทับพันธุ์ และสมศักดิ์ เพียบพร้อม. (2552). เศรษฐศาสตร์

         การเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัย
         ธรรมาธิราช

จินตนา พรพิไลพรรณ และบุญธรรม ราชรักษ์. (2554). เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. จินตนา พรพิไลพรรณ และบุญธรรม ราชรักษ์. (2554). เศรษฐศาสตร์มหภาค 1. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.  จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์. (2549). เศรษฐศาสตร์ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. เศรษฐศาสตร์ทั่วไป.

         กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

 จิราภรณ์ ชาวงษ์. (2546). เศรษฐศาสตร์มหภาค: ทฤษฎีและนโยบาย. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอช.เอ็น.กรุ๊ป จำกัด

 ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์. (2548). เศรษฐศาสตร์มหภาค ทฤษฎี นโยบายและการวิเคราะห์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2554). หลักเศรษฐศาสตร์ I: จุลเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.

         กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บันลือ คำวชิรพิทักษ์. (2543). เศรษฐศาสตร์การตลาดการเกษตร. กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

 ประพันธ์ เศวตนันทน์ และไพศาล เล็กอุทัย. (2539). หลักเศรษฐศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 4.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 

  ประยงค์ เนตยารักษ์. (2550). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เศรษฐศาสตร์การเกษตร.

         มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรีดา นาคเนาวทิม. (2541). เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี. (2555). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).  ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร. (2557). เศรษฐศาสตร์เกษตรเบื้องต้น.

         พิมพ์ครั้งที่ 2.    กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด

รัตนา สายคณิต. (2545). เศรษฐศาสตร์มหภาค. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพมหานคร:  วิทยาลัยรัตนบัณฑิต. ราตรี สิทธิพงษ์ และชาลี ตระกูล. (2552). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท. วเรศ อุปปาติก. (2535). เศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร. พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วันทนีย์ ภูมิภัทราคม, ทับทิม วงศ์ประยูร, วรุณี เชาว์สุขุม และสมยศ อวเกียรติ. (2540).

 เศรษฐศาสตร์ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แมทส์ปอยท์ จำกัด.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 19. หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 14. หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2543). พิมพ์ครั้งที่ 5. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศรีเพชร เลิศพิเชษฐ, ศิรินันท์ ชลินทุ และกาพกนก ช่วยชู. (2542). หลักเศรษฐศาสตร์

  l. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วังอักษร.
 

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548).

      เศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
      (มหาชน).

สมลักษณ์ สันติโรจนกุล. (2555). เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์.  กรุงเทพมหานคร:

 สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สังวร ปัญญาดิลก, วลัย ชวลิตธำรง และสุพพตา ปิยะเกศิน. (2546.) เศรษฐศาสตร์

          ธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2554). เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพัฒน์ อุ้ยไพบูรณ์สวัสดิ์. (2554). เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สุริยะ เจียมประชานรากร. (2543). หลักเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. Andrew, B. & Ben, S. & Dean, C. Macroeconomics. (7th ed). New York: PEARSON. Baumol,W. & Blinder, A. (2008) Economics: Principles and Policy Microeconomics. (11th ed).  New York: Harcourt Brace Jovanovich, Publishers. McConnell,C. & Brue, S. (2005). Macroeconomics. (15th ed). New York: McGraw-Hill Schotter, A. Z (2009). Microeconomics: A Modern Approach. United States: SOUTH-WESTERN CENGAGE Learning
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรม ดังนี้
1.1) การสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2) แบบประเมินผู้สอน หรือแบบประเมินรายวิชา 
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง โดยติดตามจากผลการเรียนและพฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา หรือฝึกอบรม และติดตามความก้าวหน้าขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนากลยุทธ์และวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอน
.1) อาจารย์ผู้สอนทวนสอบจากคะแนนสอบหรืองานกิจกรรมหรือโครงการบูรณาการที่มอบหมาย
4.2) มีการพิจารณาความเหมาะสมของการประเมินผล วิธีการให้คะแนน (มคอ.3 หมวด 2-5) ที่สอดคล้องกับหลักสูตร (มคอ.2 หมวด 4) ให้ครอบคลุม ครบถ้วน และตรงตามที่หลักสูตรกำหนด
5.1) ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอนและจัดหาอุปกรณ์สื่อการสอนให้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
5.2) การประเมินผลผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ จากแบบทดสอบย่อย เพื่อจะได้ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะสมตามสถานการณ์
การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงในภาคการศึกษาต่อไป