ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Local Wisdom

มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

สามารถวิเคราะห์ อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นรากฐานของความรู้หรือความรอบรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย  ควรอนุรักษ์และส่งเสริมให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป มีความสมบูรณ์และมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การปกครองของท้องถิ่นจนมาถึงปัจจุบัน การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางในการอนุรักษ์ การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์               (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

            ผู้เรียนต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงประโยชน์ของส่วนรวม ส่งเสริมให้ผู้เรียนประพฤติตนดังนี้  

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าคุณธรรม  จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 

1.1.3 มีนัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
วิธีการสอน 


บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.2.2 อภิปรายกลุ่มเรื่องการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1   การเข้าชั้นเรียน
1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3   มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.4   ประเมินผลจากการวิเคราะห์หมู่บ้านพอเพียง  ชุมชนพอเพียง    
1.3.5   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรมPower point วีดิทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.6   ประเมินผลจากการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการจัดกิจกรรม/โครงการ และการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน
1.3.7   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
2.1.1   ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การปกครองของท้องถิ่นจนมาถึงปัจจุบัน และแนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.1.2   การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
                 2.1.3   การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มีความรู้
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว  สารคดี  ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1   กิจกรรมชั้นเรียน
2.3.2   รูปเล่มรายงาน
2.3.3   การนำเสนองานในชั้นเรียน
2.3.4   การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
   การสอนวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นวิชาที่มุงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคลอันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยและเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
3.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อน
                       รายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
3.2.3   ให้นักศึกษาดู Clip , วีดีทัศน์ , สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา , นิทาน                      แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน
3.2.4   เกมส์ / กิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
3.2.5   การเลือกทำโครงการตามที่นักศึกษาสนใจ การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.3.2   รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน 
3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   มีน้ำใจต่อผู้อื่นในสังคม  ไม่เห็นแก่ตัว
4.1.2   มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ
4.1.3   แลกเปลี่ยน  รวมถึงแบ่งปันองค์ความรู้ต่อเพื่อนร่วมงาน
4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์  การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป
           เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
4.2.4   กรณีศึกษา
           - สื่อจาก Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา  และนิทาน
4.3.1  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
4.3.2  ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ
4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3.4  การคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษา Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ ,
         โฆษณา  และนิทาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล 
5.1.2   พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อ
           จาก Internet  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้
5.2 วิธีการสอน
5.2.1   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD,                          วีดีทัศน์  และเทปเสียง
5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1   ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
 
การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
การมอบหมายงานให้รับผิดชอบ
อิงกลุ่ม หรือ อิงเกณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
เทิดชาย  ช่วยบำรุง.  ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. สถาบันพระปกเกล้า
            ประเวศ วะสี. (2536). การศึกษาชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น: ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. (พิมพ์ครัง้ ที่ 2). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริน้ ติง้ แอนด์พลับลิซิ่ง.
           รัตนะ บัวสนธ์.(2535). การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นกรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง.ปริญญานิพนธ์กศ.ม.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
             สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ศูนย์การ เรียนภูมิปัญญาไทยหัวใจการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ห้าง หุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์
             สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. 2552. ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 6 ภาคใต้. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ทิพย์อนงค์ เลื่อนพุควัฒน์, ดร. และสุนี เลิศแสวงกิจ. ภูมิปัญญาท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วังอักษร. 2549.
            มานพ แก้วสนิท. ภูมิปัญญาตายาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บุคแบงก์. 2541.
 
           -  เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องและเว็บไซด์อื่น ๆ
ภูมิปัญาท้องถิ่น(Online). แหล่งที่มาhttps://sites.google.com/site/wisdom1305/kar-caksan
ภูมิปัญาท้องถิ่น(Online). แหล่งที่มา: http://www.tatc.ac.th/?usid=110528099292991&language=Th
ภูมิปัญาท้องถิ่น(Online). แหล่งที่มา:http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาดังนี้

การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1   สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่
2.2   สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3   ประเมินจากผลการนำเสนอ
2.4   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากการประเมินผลในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2   ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3   ทำวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4   การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา การตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน
ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
4.1   การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1   วิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี
5.2   เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.3   จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย และต่อเนื่อง
5.4   จัดทัศนศึกษานอกพื้นที่  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้ประสบการณ์จริง
5.5   ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม