การฝึกงานคหกรรมศาสตร์

Practicum in Home Economics Career

1.สามารถเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการประยุกต์ให้เกิดผลทางปฏิบัติได้
2.เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์ มาใช้ในการทำงาน
3.สามารถพัฒนางานคหกรรมศาสตร์มาใช้ในสภาพแวดล้อมจริงได้
4.สามารถวางแผนการพัฒนางานด้านคหกรรมศาสตร์อย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ
5.สามารถปรับใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ด้านคหกรรมศาสตร์ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมจริงได้
6.เข้าใจชีวิตการทำทำงานและวัฒนธรรมองค์กรเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกันได้
เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษาทั้งหมดมาประยุกต์ใช้กับการดปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง มีการทำงานเป็นทีมเป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษาภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา
การฝึกงานในสถานประกอบการ ภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ที่ตรงกับสาขาวิชาชีพทางคหกรรมศาสตร์เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 450 ชั่วโมง
อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาทาง E-mail และโทรศัพท์มือถือ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิส่วนบุคคล  มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตนเอง โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถเลือกนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและวิชาชีพได้ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

นอกจากคุณสมบัติตามข้อกำหนดหลักสูตรแล้วนักศึกษายังต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมดังนี้
-ซื้อสัตย์ สุจริต รักษาความลับขององค์กร
-เคารพ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบขององค์กร
-มีความขยันหมั่นเพียร อดทน เอื้อเฟื้อต่อสมาชิกในการทำงาน
ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรมที่พึงปฏิบัติก่อนการฝึกงาน กำหนดตารางเวลาฝึกงาน บันทึกเวลาฝึกงาน กำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผล  มอบหมายงาน กำหนดติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเกี่ยวกับพนักงานขององค์กร

1.2.4 ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3.1   นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรม จริยธรรม
1.3.2 ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกงานจากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบ
1.3.3 ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูด คุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมมีรายงานผลการฝึกงานประกอบ
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบาย รวมทั้งประยุกต์ ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้อง
2.2.1 สถานประกอบการที่นักศึกษาฝึกงาน จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และบอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง
2.2.2 ติดตามงาน เป็นระยะตามเวลาที่กำหนด
2.3.1   ประเมินจากผลการปฏิบัติต่อเวลาในการส่งงานโดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ
2.3.2 ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการส่งงานค วามสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดแบบฟอร์มบันทึกการทำงาน
พัฒนาความสามารถในการคิด มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และสามารถนำความรู้ทางทฤษฏีมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติโดยให้วิเคราะห์จากตัวอย่างของจริง และงานที่ฝึกปฏิบัติ
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
-ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนดโดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้องและการนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   สร้างกิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรมเพื่อให้เกิดความรู้รักสามัคคี พร้อมทำงานเป้นทีม
4.2.2  มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
4.3.3 ประชุมร่วมกัน เพื่อติดตามงานประเมินผล
4.3.1   ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
4.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการได้รับการยอมรับจากเพื่อร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้อง
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา หรือนำเสนอผลงาน
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน โดยนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ สังเกตและพัฒนาตนเองในขณะฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ใช้วิธีการสังเกตความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษาในด้านต่างๆตามที่กำหนดในข้อ๑.และอาจพิจารณาจากงานที่นักศึกษาจัดทำในระหว่างการฝึกประสบการณ์ ตลอดภาคการศึกษา สถานประกอบการ 80% การนิเทศของอาจารย์ 10% นักศึกษา 10%
นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการประเมินสถานประกอบการว่าเป็นสถานประกอบการที่สามารถให้ประสบการณ์แก่นักศึกษาหรือไม่และสถานประกอบการนั้นประกอบกิจกรรมตรงกับที่นักศึกษาเรียนมาหรือไม่
พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ ควรมีส่วนร่วมในการประเมินหลักสูตรที่ส่งนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์ว่าได้จัดองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ครอบคลุมสาขาวิชาการฝึกงานบริหารธุรกิจหรือไม่
อาจารย์ที่ดูแลการฝึกงานต้องประเมินในภาพรวมว่าสถานประกอบการมีความเหมาะสมหรือไม่นักศึกษามีความพร้อมที่เข้าไปฝึกงานในสถานประกอบการนั้นๆหรือไม
จากปัญหาในข้อ 1, 2, 3 สามารถรวบรวมปัญหาตลอดจนวิธีการแก้ไขเพื่อจะได้นำไปวางแผนปรับปรุงสำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป