ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English for Communication

เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในการสื่อสาร โดยใช้คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างในสถานการณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมตามมารยาทสากล
1. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักและเข้าใจตนเอง สร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและบุคลิกภาพ มีวินัย กล้าแสดงออก มีจิตสาธารณะและสามารถทำงานเป็นหมู่คณะ
2. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะทางปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันเหตุการณ์และสามารถนำความรู้ ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
5. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม ความเป็นไทย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ในการฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อสื่อสารในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทั่วไป โดยใช้โครงสร้างภาษา คำศัพท์ และสำนวนได้เหมาะสมตามมารยาทสังคม
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
- ให้ความรู้และปลูกฝังให้น.ศ.มีระเบียบวินัยโดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
- เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาที่กำหนด
- ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
- การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์
ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน
ศึกษาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีต่างๆเช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ
ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
 
การทดสอบย่อย
แบบฝึกหัด
พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียนและจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนมาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ เช่น ทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบททางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด
แบบทดสอบย่อย
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ รู้แนวทางการปฏิบัติตนตามมารยาทสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการนำความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
แนวปฏิบัติและการวางตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะของแต่ละวัฒนธรรม
ทำแบบฝึกหัดออนไลน์
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล
นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเช่น การใช้ e-mail
นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียน
ผ่านทางบทเรียนออนไลน์หรือเว็บไซต์ต่างๆ
แบบฝึกหัด
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา. 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสารและการใช้เทคโนโลยี
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.3 1.4 2.1 3.2 4.1 5.1 5.2 5.3
1 13031016 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 การเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ตรงตามเวลาที่กำหนด การส่งงานตรงเวลา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 3.2 ทดสอบย่อย สอบปลายภาค ผ่านระบบออนไลน์ 2, 3, 4, 5, 6, 7 12% 12% 12% 12% 12% 20%
3 4.1, 5.3 กิจกรรมและงานมอบหมายผ่านระบบออนไลน์ ตลอดภาคการศึกษา 10%
เว็บไซค์ต่างๆทีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตลอดจนแบบฝึกหัดออนไลน์
รายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกห้องเรียนออนไลน์ สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนระบบออนไลน์ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ฯลฯ 1.1 ผ่านระบบออนไลน์ทะเบียนกลาง 1.2 ผ่านช่องทางข้อร้องเรียนออนไลน์ เช่น กล่องรับความคิดเห็นผ่าน Facebook, Line, e-mail etc.
คณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะฯ จากผู้สังเกตการณ์สอน หรือทีมผู้สอน หรือผลการเรียนของนักศึกษาจากระบบออนไลน์ ฯลฯ
หลักสูตรมีการประชุมผ่านระบบออนไลน์ หลังภาคการศึกษา และนาผลการจัดการเรียนการสอนมาพิจารณาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป รวมทั้งการวางแผนการจัดการบูรณาการรายวิชากับตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพหลักสูตร
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นาผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียนผ่านระบบออนไลน์ สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะฯ มาวางแผนปรับปรุงในปีต่อไป