โครงสร้างภาษาอังกฤษ

English Structure

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ โครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับคำ วลี และประโยค ตลอดจนสามารถใช้โครงสร้างภาษาอังกฤษเพื่อสื่อความหมายได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน ทางโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับคำ วลีและประโยค และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้ปรับตัวอย่างอ้างอิง กิจกรรมให้มีการฝึกปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ โครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับคำ วลี และประโยค
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคณธรรม จริยธรรม
ข้อ 2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
ข้อ 3)มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึง
ประสงค์ของผู้ประกอบการ
1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
2 กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเอง โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1 การเข้าเรียนตรงเวลา
2 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน และนอกชั้นเรียน
1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของ
รายวิชาโดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำ
โครงสร้างภาษาอังกฤษในระดับคำ วลี และประโยค ส่วนในหลักการปฏิบัติสามารถ
วิเคราะห์และนำโครงสร้างภาษาอังกฤษไปใช้ในการเขียนบรรยายสิ่งต่างๆได้
ข้อ 2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
ข้อ 3) สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2.1 สอนโดยการบรรยายให้ความรู้ ผนวกกับการฝึกปฏิบัติจริง โดยเน้นการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student-Centered)
2.2.2 สอนโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐาน (activity-based) เช่น การฝึกปฏิบัติวิเคราะห์โครงสร้าง การระดมสมองเพื่อหาคำตอบร่วมกัน เป็นต้น
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกการใช้ภาษาและวิเคราะห์โดยการอ่านและเขียนจากสื่อต่างๆ ตลอดจนการทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 ผลการฝึกปฏิบัติ / การทำกิจกรรมของนักศึกษา
 
ข้อ 1 ) มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาชีพและวิชาการ
ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านโครงสร้างภาษาอังกฤษมาใช้ในวิชาการ
และวิชาชีพ
ข้อ 2 ) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ข้อ 3) มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
และวัฒนธรรมสากลอย่างเหมาะสม
ทักษะในการนำความรู้ทางด้านโครงสร้างภาษามาประยุกต์ใช้กับการเรียนภาษาทางด้าน
อื่นๆได้อย่างครอบคลุม เช่น การอ่าน การเขียน การแปล เป็นต้น
3.2.1 บรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ภาษา
3.2.2 นักศึกษาซักถามและอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.2.3 นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัดตามเนื้อหาการบรรยาย
3.2.4 นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมาย และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม และแสดงความคิดเห็น
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
 
ข้อ 1 ) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ มีมารยาทสังคมที่ดี และมีความ
รับผิดชอบจากการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย และสำเร็จตามกำหนดเวลา
ข้อ 2 ) มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม
ข้อ 3 )สามารถในการทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่สำคัญ
จัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.3.1 ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2 ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.3.3 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
ข้อ 1 ) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 ) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ข้อ 3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง โดยการใช้
เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของตน เพื่อให้ใช้ภาษาต่างประเทศในการ
สื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
มอบหมายให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ดูจากผลการศึกษาจากงานที่มอบหมาย ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนหลังการศึกษาค้นคว้า และการฝึกฝนด้วยตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 13031116 โครงสร้างภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 4.1 การเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ตรงตามเวลาที่กำหนด การส่งงานตรงเวลา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 2.1, 3.1, 3.2, 5.3 ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 2, 3, 4, 5, 6, 7 12% 12% 12% 12% 12% 20%
3 3.1, 3.2, 5.3 กิจกรรมและงานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาโครงสร้างภาษาอังกฤษ
Alexander, L.G. 1992. Longman English Grammar Practice. Hong Kong: Longman. Azar, Betty Schrampfer. 1989. Understanding and Using English Grammar. 2nd ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc,. Brown, Ann Cole & Jeffrey, Shaw Fran Weber. 1984. Grammar and Composition. 3rd ed. Boston: Houghton Mifflin Company. Drummond, Gordon. 1974. English Structure Practice. London: Longman. Doty, Gladys G. & Ross, Janet. 1968. Language and Life in the U.S.A. 2nd ed. New York: Harper and Row. Huddleston, R., & Pullum, G. K. 2002. The Cambridge grammar of the English language. Cambridge: Cambridge University Press. James, Haley Shirley & Stewig, Wawen John. 1985. Houghton Mifflin English. U.S.A.: Houghton Mifflin Company. Miller Goulet, Michele & Brantley Pennebaker, Clarice. 2006. The Basics English. Thomson South-West. U.S.A. 9. Murphy, Raymond. 1985. English Grammar in Use. Cambridge: Cambridge University Press.
10. Pinijsakkul, Panatip. 2007. Sentence Structure for Reading comprehension. Bangkok: Thammasat University Press.
11. Quirk, R., Greenbaum, R., Leech, G., & Svartvik, J. 1985. A Comprehensive Grammar of the English language. London: Longman.
12. Oshima, Alice & Hogue, Ann. 1999. Writing Academic English. 3rd ed. New York: Addison Wesley Longman.
13. Vessakosol, Pimpan. 2003. Sentence Composition. Bangkok: Thammasat University Press.
14. เว็บไซต์ต่างๆทีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตลอดจนแบบฝึกหัดออนไลน์
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา รวมถึงข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนในด้านเนื้อหาและรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล และการให้การเรียนได้มีส่วนร่วมในเนื้อหาของรายวิชามากขึ้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4