การแปลเบื้องต้น

Introduction to Translation

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีกระบวนการ และกลวิธีการแปลงานเขียนประเภทต่าง ๆ โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค 2/2560) มาปรับปรุงในแต่ละด้าน ดังนี้
      ด้านการสอน - เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ซักถาม หรือมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน (4)
      ปรับปรุงโดยใช้หลักการเรียนการสอนแบบ active learning
      ด้านสื่อ - มีสื่อการสอนและอุปกรณ์ที่น่าสนใจ เพื่อความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่าย (4)
      ปรับปรุงโดยจัดทำสื่อนำเสนอในรูปแบบ ppt
2.2 บูรณาการกับกระบวนการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของ รูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามหลักการ 3 ระยะ โดยสร้างพื้นที่แบบ cloud-based ให้นักศึกษาเข้าไปทบทวนเนื้อหาได้ตามต้องการ ในเวลาที่สะดวกต่อนักศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติหลักและวิธีการแปลพื้นฐานภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในระดับคำ วลี ประโยค และย่อหน้า   จากงานเขียนและสื่อประเภทต่างๆ ตลอดจนการใช้สื่อสารสนเทศช่วยในการแปล
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์  - แจ้งช่องทางติดต่อทาง social network เพื่อเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษาและส่งงาน
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่
1.1.1 ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.2 ความมีวินัย ขยัน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย  1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของการแปลในเนื้อหาของบทเรียน  1.2.2 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน  1.2.3 ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพของการแปลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เทียบกับการแปลโดยนักแปล
1.3.1 การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค  1.3.2 การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด  1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการแปล ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแปล กระบวนการและกลวิธีการแปล ส่วนในทางปฏิบัติ เน้นการฝึกแปลงานเขียนประเภทต่าง ๆ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้เกี่ยวกับการแปลกับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ active learning ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด โดย  2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน  2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ  2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลและวิเคราะห์เอกสารทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค  2.3.2 การฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนประเภทต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน  2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการแปลงานเขียนประเภทต่าง ๆ ในระดับประโยค ย่อหน้า และข้อความ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาวิเคราะห์งานแปลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานแปลประเภทต่างๆ
3.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารจริง
3.2.3 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียนโดยเลือกเอกสารเอง
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยการช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการฝึกการแปลงานเขียนประเภทต่างๆ
สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษา
5.1.1 ค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแปลอย่างเหมาะสม
5.1.2 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท
นำผลจากการวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามหลักการ 3 ระยะ” มาบูรณาการ โดย
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการแปลในบทเรียนต่าง ๆ
5.2.2 ให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีในการจัดทำผลงานแทนการทำด้วยมือ
5.2.3 ให้ความรู้เกี่ยวกับระดับ รูปแบบ และสไตล์ของภาษาผ่านงานเขียนประเภทต่าง ๆ
5.2.4 ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารหลากหลายประเภท โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูลในการแปล
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
5.3.1 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2 ผลงานการทำแบบฝึกปฏิบัติการแปล
5.3.3 ผลการทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 13031232 การแปลเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.2,2.1 การสอบภาคทฤษฎี 9 20%
3 1.2,2.1 การสอบภาคปฏิบัติ 17 20%
4 1,2.2.1 การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน 1-7, 10-15 15%
5 3.1,5.2,5.3 งานมอบหมาย 10-15 20%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการแปลเบื้องต้น
1.    ทิพา เทพอัครพงศ์. 2547. การแปลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  2.    ประเทือง ทินรัตน์. 2543. การแปลเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  3.    ปัญญา บริสุทธิ์. 2540. ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน.  4.    มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา. 2548. การแปล: หลักการและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  5.    รัชนีโรจน์ กุลธำรง. 2552. ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล.  กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  6.    วรรณา แสงอร่ามเรือง. 2542. ทฤษฎีและหลักการแปล. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  7.    สิทธา พินิจภูวดล. 2539. “หลักการแปล” เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 15. กรุงเทพฯ  มสธ.  8.    สิทธา พินิจภูวดล. 2542. คู่มือนักแปลอาชีพ. กรุงเทพฯ บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด.  9.    สุพรรณี  ปิ่นมณี. 2546. การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  10.      เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการแปลภาษา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา รวมถึงข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ดูจากผลการเรียนของนักศึกษา เกณฑ์การวัดผลและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล และการทวนสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชา
นำผลประเมินการสอนที่ได้จากภาคเรียนที่ 2/2561 มาปรับปรุงในด้านการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และการจัดทำสื่อการสอนเพิ่มเติม รวมถึงการบูรณาการกับกระบวนการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามหลักการ 3 ระยะ โดยสร้างพื้นที่แบบ cloud-based ให้นักศึกษาเข้าไปทบทวนเนื้อหาได้ตามต้องการ ในเวลาที่สะดวกต่อนักศึกษา
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร  4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา ข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งกลางภาคและปลายภาค และเกณฑ์การประเมินผลงาน  4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4