ความเป็นครูช่างอุตสาหกรรม

Technical Teachership

          เพื่อที่ต้องการให้ผู้ที่ศึกษาวิชานี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการความเป็นครูช่างอุตสาหกรรม สำหรับเป็นแนวทางที่นักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้ในวงการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษา ควบคู่กับการเรียนรู้เกี่ยวกับการคิดอย่างเป็นระบบ โดยศึกษาศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาทและหน้าที่ ภาระงานครู พัฒนาการของวิชาชีพครู คุณลักษณะของครูที่ดี การสร้างทัศนะคติที่ดีต่อวิชาชีพครู การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
          เพื่อให้นักศึกษาได้มีองค์ความรู้ทางด้านความเป็นครูช่างอุตสาหกรรม   สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงเมื่อทำการศึกษาครบตามเนื้อหาสาระที่ได้ดำเนินการปรับปรุงให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
          ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาทและหน้าที่ ภาระงานครู  พัฒนาการของวิชาชีพครู  คุณลักษณะของครูที่ดี  การสร้างทัศนะคติที่ดีต่อวิชาชีพครู การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู  จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
-  อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาโดยการติดป้ายประกาศ -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
          พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
          1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
          1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
          1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
          1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
          1.2.1 สอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงภาระ ความรับผิดชอบของอาชีพครู และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากครูไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ     
          1.2.2 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด มารยาทการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
          1.2.3 ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การลอกกันระหว่างการทดสอบย่อย เป็นต้น กำหนดบทลงโทษและชี้ให้เห็นถึงผลของพฤติกรรมดังกล่าวที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมในอนาคต     
          1.2.4 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
          1.2.5 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ

 
          1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
          1.3.2  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
          1.3.3  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
          1.3.4  ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมายที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา      
          1.3.5  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
          ความรู้ที่จะได้รับครอบคลุมตามวัตถุประสงค์รายวิชา โดยนักศึกษาต้องสามารถบูรณาการความรู้วิชานี้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ เช่น วิชาการบริหารจัดการอาชีวศึกษา กลวิธีการสอนช่างเทคนิค การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 1 การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 2 เป็นต้น รวมทั้งต้องมีความรู้เพียงพอในการประยุกต์ในงานจริงได้ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้     
          2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
          2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)    
          2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3) โดยที่ในรายวิชา 30022404 ความเป็นครูช่างอุตสาหกรรม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาทและหน้าที่ ภาระงานครู  พัฒนาการของวิชาชีพครู  คุณลักษณะของครูที่ดี  การสร้างทัศนะคติที่ดีต่อวิชาชีพครู การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู  จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

 
      บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ กาศึกษาโดยใช้การศึกษาแบบร่วมมือ

 
          2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
          2.3.2 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
          2.3.3 พิจารณาจากกิจนิสัย ความตั้งใจและการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่ม

 
          สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านการสอนได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
          3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
          3.1.2 มีทักษะในการนาความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
3.2.1  การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์     
3.2.2  การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ

 
      3.3.1  สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการคำนวณเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ บรูณาการองค์ความรู้เนื้อหาของรายวิชา     
      3.3.2  ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน     
      3.3.3  วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม
      3.3.4  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา

 
          4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
          4.1.2 พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
          4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
          4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
      4.2.1  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล      
      4.2.2  มอบหมายการศึกษา ค้นคว้า เนื้อหาเพื่อร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่ม
      4.2.3  การนำเสนอรายงาน
      4.3.1  ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด      
      4.3.2  ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม      
      4.3.3  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง        
      4.3.4  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่ม
          5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
          5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
          5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
      5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
      5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
      5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
      5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าและโครงงาน
      5.3.3 ประเมินจากการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
          การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทางาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จาเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
          6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
          6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
      จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
       6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน          
       6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
      6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน      
      6.3.2  มีการประเมินผลการทางานในภาคปฏิบัติ
      6.3.3  มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2
1 30022404 ความเป็นครูช่างอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 6.1 สอบกลางภาค, สอบปลายภาค 9, 17 35%, 35%
2 1.2, 3.1, 4.1, 4.2, 4.3, 5.2, 6.2 1) วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน 2) การทำงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน 3) การมีส่วนร่วมของกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม 4) การอ่านและสรุปเนื้อหา 5) การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2, 1.3, 3.1 1) การเข้าชั้นเรียน 2) การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน และกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 10%
     1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
     2. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
     3. พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
     4. ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548
     5. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
     6. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2547
     7. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
     8. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
     9. ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ
     10. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์คุณสมบัติของสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน
     11. ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556
     12. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556
     13. ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2557
     14. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579
     15. ยนต์  ชุ่มจิต (2553). ความเป็นครู. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2553
     16. วิไล  ตั้งจิตสมคิด (2554). ความเป็นครู. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2554 
ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น คุรุสภา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
     2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1   แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพรายวิชาและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน  
    3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1   มีการตั้งคณะกรรมการอาจารย์ประจำหลักสูตร  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร  หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1 ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
     5.2 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4