การวางแผนทดลองทางการเกษตร

Experimental Designs for Agriculture

1) มีความรู้ ทักษะปฏิบัติ และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางพืชศาสตร์ หลักการวางแผนการทดลอง สมมติฐานของการทดลอง แผนการทดลองแบบพื้นฐาน แผนการทดลองประยุกต์ทางการเกษตร การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์ สมการถดถอย และการวิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ
2) มีทักษะในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติตามแบบของแผนการทดลองแบบพื้นฐาน และแผนการทดลองประยุกต์ทางการเกษตร การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์ สมการถดถอย และการวิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ
3) สามารถนำความรู้และทักษะเกี่ยวกับการนำเอาการวางแผนการทดลองทางการเกษตรไปประยุกต์ใช้กับการทดลองทางการเกษตร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร
4) มีความสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
6) มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาวิชาการวางแผนการทดลองทางการเกษตร
ในการสอนได้ทำการปรับปรุงวิธีการสอน โดยเสริมการนำโปรแกรม Excel และ STAR มาช่วยในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูปหรือนำเอาโปรแกรม Excel มาใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลอง หลักการวางแผนการทดลอง สมมติฐานของการทดลอง แผนการทดลองแบบพื้นฐาน และแผนการทดลองประยุกต์ทางการเกษตร การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์ สมการถดถอย การวิเคราะห์ผล
The study and practice of experimental research, principles of experimental design, hypothesis, basic experimental design, applied experimental design in agriculture, means comparison, correlation, regression and data analysis.
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณ
การสอนโดยการกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติตนของนักศึกษาในการเรียน และปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.3.1 ประเมินจากการเข้าเรียนในชั้นเรียนสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่ม
1.3.2 ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.1.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ
2.1.2 มีความรอบรู้
2.2.1 การสอนแบบบรรยายเชิงสาธิต
2.2.2 การมอบหมายแบบฝึกหัดให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตามหัวข้อที่เรียน
2.2.3 การมอบหมายให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือในห้องสมุดและ/หรือความรู้ทางอินเตอร์เน็ตและจัดทำรายงาน
2.3.1 การสังเกตความสนใจ
2.3.2 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค
2.3.3 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
2.3.4 ประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.1.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้
การสอนแบบ Project Based Leaning โดยมอบหมายงานให้นักศึกษาทำการทดลองทางการพืชศาสตร์ โดยมอบหมายให้เป็นงานปฏิบัติแบบกลุ่ม
การปฏิบัติงานทดลอง และรายงานผลการทดลอง
4.1.1 ภาวะผู้นำ
4.1.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
การสอนแบบ Project Based Leaning โดย
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำการทดลองทางการพืชศาสตร์ โดยมอบหมายให้เป็นงานปฏิบัติแบบกลุ่มและนำเสนอข้อมูลผลการทดลอง
4.3.1 ประเมินจากรายงานและการนำเสนอข้อมูลผลการทดลอง
4.3.2 ประเมินจากความตั้งใจและการมีส่วนร่วมในปฏิบัติการ
5.1.1 มีทักษะการสื่อสาร
5.1.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.1 การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
5.2.2 การมอบหมายงานให้จัดทำรายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดและการสืบค้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.3 การสอนแบบ Project Based Leaning โดย
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำการทดลองทางการพืชศาสตร์ โดยมอบหมายให้เป็นงานปฏิบัติแบบกลุ่มและนำเสนอข้อมูลผลการทดลอง
5.3.1 ประเมินจากทักษะการเขียนรายงานการทดลองที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการตรวจเอกสารโดยสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดและการสืบค้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต และการนำเสนอผลงานผลงานทดลอง
5.3.2 รายงานผลการทดลอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG008 การวางแผนทดลองทางการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ที่เรียน ยกเว้นสัปดาห์ที่มีการสอบ 10%
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) การทดสอบย่อย 4 ครั้ง การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค ความร่วมมือในการตอบคำถามที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม การทดสอบย่อย 4 ครั้ง คือ สัปดาห์ที่ 4, 6, 12, 14 การสอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 และการสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 18 ความร่วมมือในการตอบคำถามที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม ประเมินทุกสัปดาห์ 50%
3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) พิจารณาจากการปฏิบัติงานทดลอง และรายงานผลการทดลอง 17 20 %
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) การนำเสนอผลงาน/การรายงาน 17 10 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) แบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย และ การนำเสนอผลงาน/การรายงาน 17 10 %
พิชัย  สุรพรไพบูลย์.  2561.เอกสารประกอบการสอนวิชาการวางแผนการทดลองทางการเกษตร.  คณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน.
ชูศักดิ์ จอมพุก.  2555.  สถิติ : การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย "R".  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.  335 น. พิศมัย หาญมงคลพิพัฒน์.  2557.  สถิติและการวางแผนการทดลองทางเกษตร.  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.  314 น. ไพศาล เหล่าสุวรรณ.  2535.  สถิติสำหรับการวิจัยทางเกษตร.  คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สงขลา.  298 น. สายชล สินสมบูรณ์ทอง.  2549.  การวางแผนการทดลองทางการเกษตร.  จามจุรี โปรดักท์, กรุงเทพฯ.554 น. สุรพล อุปดิสสกุล.  2523.  สถิติ : การวางแผนการทดลองเบื้องต้น.ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.  145 น. อนันต์ชัย เขื่อนธรรม.  2542.  หลักการวางแผนการทดลอง.  ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.  348 น. Gomez, K.A. and A.A.  Gomez.  1984.  Statistical procedures for agricultural research. Wiley, New York.  680 p.
[On-line] Available :http://books.irri.org/9711040492_content.pdf, May 14, 2015. [On-line] Available :http://books.irri.org/9711040069_content.pdf, May 14, 2015. [On-line] Available :http://bbi.irri.org/products, May 14, 2015.
ให้ผู้เรียนประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ และมีระบบการประเมินรายวิชาโดยให้ผู้เรียนประเมินและแสดงความเห็นผ่านการประเมินรายวิชาทางระบบอินเตอร์เน็ต
อาจารย์ผู้สอนดำเนินการ โดยการสังเกต การตรวจรายงาน และการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค โดยพิจารณาจากความสนใจ ความเข้าใจ และผลการเรียนของนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอนวิชาประเมินการสอนด้วยตนเอง ด้วยการสังเกต การพิจารณาผลการเรียนและการสอบของนักศึกษา จัดทำรายงานประเมินตนเองเมื่อสิ้นภาคการศึกษาเสนอหัวหน้าสาขา
สาขาวิชามีคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินการสอน ข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และผลการประเมินโดยคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษามาพิจารณาร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการหลักสูตร