ไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์

Hydraulics and Pneumatics

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
       1. รู้หลักการเบื้องต้นของระบบไฮดรอลิกและนิวแมติกและโครงสร้างของอุปกรณ์
2. เข้าใจอุปกรณ์และสัญลักษณ์ระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก
3. เข้าใจการควบคุมระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก
4. มีทักษะในการต่อวงจรควบคุมระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก
5. เข้าใจการแก้ปัญหาข้อขัดข้องและการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก
       6. เห็นคุณค่าของวิชาไฮดรอลิกและนิวแมติก
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นของระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก อุปกรณ์และสัญลักษณ์ของระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก การควบคุมระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก การแก้ปัญหาข้อขัดข้องและการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก
คำอธิบายรายวิชา
  
       ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นของระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก อุปกรณ์และสัญลักษณ์ของระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก การควบคุมระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก การแก้ปัญหาข้อขัดข้องและการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถ
ดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
1.2.3 เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการ
เป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.4 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.6 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.7 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบ
ของนักศึกษา
1.3.5 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นของระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก อุปกรณ์และสัญลักษณ์ของระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก การควบคุมระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก การแก้ปัญหาข้อขัดข้องและการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและนิวแมติก
วิธีการสอน
บรรยาย ถามตอบ อภิปราย การทำรายงานและการนำเสนอรายงาน และฝึกปฏิบัติการต่อวงจรไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์
วิธีการประเมินผล
 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ ความเข้าใจหลักการ
งานที่มอบหมายและจิตพิสัยในการเรียน
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
วิธีการสอน
3.2.1 การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
วิธีการประเมินผล
3.3.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการ
วิเคราะห์ บรูณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชาการจัดและบริหารโรงฝึกงานและศูนย์ฝึก
3.3.2 งานที่มอบหมายและจิตพิสัยในการเรียน
3.3.3 วัดผลจากการประเมินจากรายงาน การนำเสนอผลงาน
3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
    4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
    4.1.2  พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
     4.1. 3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
กำหนดเวลา
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.2 การนำเสนอรายงาน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การ
แปล การเขียน โดยการทำรายงาน ทำแผนการสอน
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์
 5.1.3 พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
อย่างเป็นระบบ
5.1.4 พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการ
ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.5 การนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบเครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
วิธีการสอน
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากรายงาน การนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
          การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
          6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี
                   ประสิทธิภาพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
          6.1.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่าง
                   เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
กลยุทธ์ที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
           จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
           6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
           6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
           6.2.3  สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
           6.2.4  จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
           6.2.5  สนับสนุนการทำโครงงาน
           6.2.6  การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
            6.3.1         มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
            6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
            6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
            6.3.4 มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
             6.3.5  มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 บทที่ 1- 8 บทที่ 9-14 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 25% 25% สป ที่ 9 และ สป ที่ 18 25% 25%
2 รายงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 สอบปฏิบัติต่อวงจรไฮดรอลิกและนิวแมติกส์ ทุกๆสัปดาห์ 30 %
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน ไฮดรอลิกส์นิวแมติกส์     
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์ของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ