ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและธุรกิจอัจฉริยะ

Decision Support and Business Intelligence System

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ  ดังนี้ 1.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1.2 ด้านความรู้ สามารถเข้าใจและนำหลักการของการวิเคราะห์ออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจไปใช้ได้ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์แบบจำลองทางธุรกิจและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในขับเคลื่อนธุรกิจอย่างสอดคล้องกัน สามารถสังเคราะห์ระบบที่เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจหรือองค์กร และสามารถประเมินค่าเพื่อเปรียบเทียบปรับปรุงพัฒนาต่อยอดยิ่งขึ้น 1.3 ด้านทักษะทางปัญญา สามารถอธิบายความหมายและหลักการของการวิเคราะห์และออกแบบระบบได้ มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ พัฒนาระบบสารสนเทศโดยตระหนักถึงความสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม สามารถพัฒนาและวิเคราะห์โปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจและสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจ 1.4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์และระบบที่วิเคราะห์และออกแบบมาต่อบุคคล องค์กรและสังคม  1.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ เช่น ระบบบัญชี ระบบการเงิน ระบบคลังสินค้า สามารถประเมินผลและพัฒนาระบบได้และสามารถนำแบบจำลองสารสนเทศมาใช้กับแต่ละธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันความเป็นแปลงทางวิชาการและเทคโนโลยี ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน การประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมิน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์ความรู้ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา และพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งทักษะปฏิบัติการ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดของระบบสนับสนุนการตัดสินใจอัจฉริยะ (IDSS) กระบวนการตัดสินใจของมนุษย์ บทบาทของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สาหรับผู้บริหารระดับสูง (ESS) ขั้นตอนและเทคโนโลยีสาหรับพัฒนาระบบ สนับสนุนการตัดสินใจ การจัดทาแบบจาลองการตัดสินใจ การจัดการฐานความรู้ และการประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ แนวโน้มและผลกระทบในงาน ธุรกิจ
4
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ   2. มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  3. มีความพอเพียง   4. มีความซื่อสัตย์ กตัญญู เที่ยงธรรม  5. สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักกาลเทศะ ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น   6. มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรและสังคม  7. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังค
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมทางธุรกิจ - กิจกรรมจิตอาสา - กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา - มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม - ประเมินผลการทำกิจกรรมจิตอาสา - ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
1. มีความรอบรู้อย่างกว้างขวางในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้  2. มีความรู้ตามหลักการ ทฤษฎีในสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุง/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของระบบสารสนเทศให้ได้ตรงตามข้อกำหนด รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในกับการแก้ไขปัญหา  4. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกับความรู้ในศาสตร์บริหารธุรกิจ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา Problem base learning และ Student Center เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎี - วิเคราะห์กรณีศึกษา - พัฒนาออกแบบ ปรับปรุงระบบเดิมให้ดียิ่งขึ้น จากกรณีศึกษา
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
1. เป็นผู้ใฝ่รู้ และมีความ สามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต  2. สามารถคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลได้ มีวิสัยทัศน์ และความคิดสร้างสรรค์   3. นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม  4. สามารถค้นหาข้อเท็จจริง สรุปทำความเข้าใจได้   5. สามารถศึกษาวิเคราะห์ ประเมินสารสนเทศ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์  6. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
- Problem based learning : PBLการสอนแบบ Brain Storming Group การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปรายโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นโดยกระบวนการตั้งคำถาม วิเคราะห์ - ฝึกตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน  - การมอบหมายให้นักศึกษาทำรายงานกลุ่ม และนำเสนอผลการศึกษ
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎี - วิเคราะห์กรณีศึกษา - พัฒนาออกแบบ ปรับปรุงระบบเดิมให้ดียิ่งขึ้น จากกรณีศึกษา - วิเคราะห์สถานการณ์ โดยสามารถประยุกต์ใช้หลักการทางธุรกิจได้  - กรณีศึกษางานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง - กรณีศึกษาสถานการณ์จำลอง - โครงการกลุ่ม - การนำเสนอ - แบบทดสอบวัดด้านการปฏิบัติ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
1. มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  2. ตระหนักถึงสิทธิของตนเองและผู้อื่น และยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์   3. ตระหนักในคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี วรรณกรรม ทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ   4. มีความสนใจด้านกีฬา และนันทนาการ  5. มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย  6. ปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่น   7. วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ  8. สามารถวางแผนและรับผิดชอบการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา - มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล  - ยกตัวอย่างธุรกิจในการเรียนการสอน หรือ มอบหมายให้อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
 ประเมินตนเอง และสมาชิกในกลุ่ม ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด - รายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม - รายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
1.สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน  2. สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลข   3. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และคัดเลือกข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  4. มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้า จาก Internet และทำรายงาน โดยเน้นแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ - นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- การจัดทำรายงาน ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม - การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะปฏิบัติ และสามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานตามสภาพจริงได้
- การพัฒนาระบบสารสนเทศ 1-2 โครงงาน
การวิเคราะห์และออกแบบโครงงานระบบสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6, 1.7, 4.5, 4.6, 4.7, 4.8 กิจกรรมย่อยระหว่างเรียน - โครงการจิตอาสา - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม การอภิปราย ในชั้นเรียน 1-7,9-16 10
2 ข้อ 1.1, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.2, 4.4, 4.5, 4.6, 4.7, 4.8, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1 ปฏิบัติการ - รายงานและการนำเสนอ หัวข้อ การวิเคราะห์ออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ 1-7,9-14 15-16 30
3 ข้อ 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 3.3, 5.1, 5.2, 5.3 สอบกลางภาค 7 30
4 ข้อ 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 3.3, 5.1, 5.2, 5.3, 6.1 สอบปลายภาค 16 30