วิทยาศาสตร์กับชีวิต

Science and Life

1.1รู้การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.2เข้าใจการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันและผลกระทบของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อม สามารถจำแนกสารเคมี สี ที่ได้จากธรรมชาติและการนำมาใช้ประโยชน์
1.3รู้เกี่ยวกับรังสีจากดวงอาทิตย์สารกัมมันตรังสี และรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบและหลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
1.4เข้าใจหลักการทำงาน ดูแล รักษาเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเช่นสามารถอธิบายหลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
1.5เข้าใจผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม สังคม  การเมือง และวัฒนธรรม
1.6มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์เช่นรู้จักสังเกตปรากฏการณ์สิ่งที่พบเจอในชีวิตประจำวันและใช้หลักการวิทยาศาสตร์เข้ามาอธิบาย
2.1 เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ ความเข้าใจ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์กับชีวิต ไปเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
2,2 เพื่อปรับกระบวนการสอนรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
2.3 เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติและรู้จักนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย
ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน และสารเคมี สี ที่ได้จากธรรมชาติ  และผลกระทบของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อม ระบบสุริยะ รังสีจากดวงอาทิตย์และสารกัมมันตรังสี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
3 ชั่วโมง/สัปดาห์
ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
 
1.1 อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิก
1.2 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์ โดยไม่กระทำทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการสอน ในรายวิชา รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น ยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ประโยชน์แก่ส่วนรวม
1.1 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.2 ไม่มีการทุจริตในการทดสอบ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1 บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.1 ประเมินผลจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.1 การสอนภาคบรรยายมีการใช้ตัวอย่างที่เหมะสม
3.2 พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์
3.3 อภิปรายกลุ่ม การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.4 เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม เพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา
3.4 และระหว่างนักศึกษากับนักศึกษาในชั้นเรียน
3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค
3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์กับชีวิต
4.2  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.3  การนำเสนอรายงาน
4.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.2 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning
5.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 22000007 วิทยาศาสตร์กับชีวิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 และ 17 60%
2 3.1,3.2 ประเมินผลงานการทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
3 4.3 การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล ทุกสัปดาห์ 10%
4 5.2 ประเมินผลงานการทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
5 1.3 การเข้าชั้นเรียน (บันทึกเวลาการมาเรียน) -สังเกตพฤติกรรมจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - การแต่งกายเข้าชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต  คณะกรรมการบริหารวิชาบูรณาการ  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.
ทพญ.ดร.สิริลักษณ์  ตีรณธนากุล.2550. วิทยาศาสตร์ กายภาพ ชีวภาพ. สำนักพิมพ์สื่อเสริม กรุงเทพ. 396          หน้า
นิคม ทาแดง, รศ.รัชนี รักวีธรรม และ รศ.นิพนธ์ ทรายเพชร.2527. วิทยาศาสตร์ชีวภาพกายภาพ 2. ศูนย์ หนังสือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 418 หน้า
คณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สถาบัน OPINION. 2544. คู่มือเตรียมสอบวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ      ชีวภาพ. สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์ จำกัด. 382 หน้า
วีดีโอระบบสุริยะ
วีดีโอเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
www.nstda.or.th/index.php
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็น
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การประยุกต์ใช้สิ่งที่นักศึกษาได้เรียนในรูปแบบการนำเสนอแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน ผลการเรียนของนักศึกษา การขอรับคำปรึกษาและสังเกตการณ์ของผู้สอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมใน
การระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยทำการสำรวจเบื้องต้นจากผลการประเมินการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
3.2 การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวัง
จากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึง
พิจารณาจากผลการ ทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์
โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
4.2 ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนส่งเกรด
4.3 การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาเดียวกันของแต่ละกลุ่มกับผลการประเมิน พฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 นำผลที่ได้จากการประเมินของนักศึกษา คะแนนสอบ นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองพัฒนาความคิดที่หลากหลาย