เขียนแบบก่อสร้างภูมิทัศน์

Landscape Construction Drawing

1. เพื่อให้ใช้อุปกรณ์การเขียนแบบและเรียนรู้เทคนิคการใช้งานได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความสัมพันธ์ของ รูปแบบอาคาร รูปด้านต่างๆ
3. เพื่อให้เข้าใจเทคนิคการแสดงแบบของผลิตภัณฑ์โดยศึกษา การกำหนดขนาด
การเขียนภาพตัด การเขียนแบบแยกชิ้นส่วน การเขียนตารางรายการชิ้นส่วน
ประกอบ การเขียนแบบภาพตัด ทำแบบจำลอง
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำความเข้าใจในวิชาเขียนแบบ เพื่อนำไป
ประกอบการออกแบบ
5. เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับวิชาเขียนแบบเบื้องต้น เพื่อนำความรู้ไปเขียนแบบด้วย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความละเอียดและซับซ้อนมากขึ้นในวิชา เทคนิคการ
เขียนแบบขั้นสูงต่อไป
ศึกษาหลักการและเทคนิคการเขียนแบบเบื้องต้น นักศึกษาปฏิบัติงานในชั้นเรียน โดยเริ่มฝึกตั้งแต่การใช้เทคนิคและอุปกรณ์ในการเขียนแบบ รูปแบบอาคาร การใช้สัญลักษณ์แสดงแบบ ความเข้าใจกฎเกณฑ์การเขียนแบบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการ เขียนแบบและอ่านแบบ ทำหุ่นจำลอง ที่เป็นภาษาสากล
ศึกษาหลักการและเทคนิคการเขียนแบบเบื้องต้น นักศึกษาปฏิบัติงานในชั้นเรียน
โดยเริ่มฝึกตั้งแต่การใช้เทคนิคและอุปกรณ์ในการเขียนแบบ รูปแบบอาคาร การใช้สัญลักษณ์แสดงแบบ ความเข้าใจกฎเกณฑ์การเขียนแบบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการ เขียนแบบและอ่านแบบ ทำหุ่นจำลอง
ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มและรายบุคคลตามความต้องการ 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยนักศึกษา
สามารถต่อผู้สอนเพื่อขอคำปรึกษาหรือแนะนำได้ในช่วงเวลาทำงาน ด้วยตนเองหรือโดยวิธีสื่อสารที่สะดวก ดังนี้
สถานที่ติดต่อผู้สอน: ห้องพักอาจารย์สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
โทร. 0-54342547 ต่อ 118 และ E-mail : Nakarin6565@hotmail.com
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ให้สัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พร้อมทั้งปลูกฝังความมีวินัย ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความมีน้ำใจ เช่น นักศึกษารู้หน้าที่ (เข้าเรียนตรงเวลา และครบถ้วนตามเกณฑ์) รู้กาลเทศะ (แต่งกายตามระเบียบมหาวิทยาลัย เข้าห้องเรียนตรงเวลา แจ้ง และส่งใบลาหากมีกิจธุระจำเป็น หรือเจ็บป่วย รักษามรรยาทในสังคม เคารพสิทธิผู้อื่น) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (เตรียมพร้อมก่อนเรียน ทราบหัวข้อที่จะเรียน และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ตอบคำถาม อภิปราย)สามารถนำผลการเรียนรู้ไปประกอบวิชาชีพ หรือใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน และผู้อื่น มีสำนึกไทย สำนึก และภาคภูมิใจในวิชาชีพ รู้จริยธรรมในวิชาชีพ ฯลฯ
 
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบรรยายเนื้อหาหลักของแต่ละวิชา โดยแสดงที่มาของทฤษฎีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆในเชิงวิเคราะห์ และเน้นให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน กระตุ้นให้คิดตามหลักของเหตุและผล พยายามชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ และใช้สื่อเชิงวัตถุบรรยายประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการค้นคว้าด้วยตนเอง มอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะ รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกับผู้อื่น ทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกเนื้อหา หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในตนเองและวิชาชีพ โดย

กำหนดหัวข้อในการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ของรายวิชา แบบทดสอบย่อยในชั่วโมงเรียนหรือการบ้านในแต่ละหัวข้อ ใช้ความสามารถและเทคนิคถ่ายทอด อาทิ เรื่องเล่า ประสบการณ์ กรณีศึกษา ค้นคว้า เนื้อหาที่ได้รับมอบหมายเพื่อการนำเสนอ อภิปรายกลุ่ม บันทึกพฤติกรรมระหว่างเรียน
ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน (แต่งกาย ตรงต่อเวลา มรรยาทในสังคม) ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน(การอภิปรายผล การตอบคำถาม) ประเมินจากพฤติกรรมการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย(การเตรียมตัว ทักษะในการสื่อสาร)
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของอาคารซึ่งประกอบด้วย สัญลักษณ์แบบ มาตราส่วน และหลักการเขียนแบบก่อสร้างได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งสามารถออกแบบบ้านพักอาศัยตามหลักวิศวกรรมด้วยวิธีการที่ถูกต้อง มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างอาคารที่สำคัญในเนื้อหาของวิชาที่ศึกษา ประยุกต์องค์ความรู้ร่วมกับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ความรู้และทักษะในรายวิชาเพื่อการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริง
บรรยายเนื้อหาหลักตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา โดยแสดงที่มาของทฤษฎีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆในเชิงวิเคราะห์ และเน้นให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน กระตุ้นให้คิดตามหลักของเหตุและผล พยายามชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ และใช้สื่อเชิงวัตถุบรรยายประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการค้นคว้าด้วยตนเอง มอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะ รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกับผู้อื่น ทักษะการเขียนแบบ สอดแทรกเนื้อหา หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในตนเองและวิชาชีพ โดย

กำหนดหัวข้อในการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ของรายวิชา แบบทดสอบย่อยในชั่วโมงเรียนหรือการบ้านในแต่ละหัวข้อ ใช้ความสามารถและเทคนิคถ่ายทอด อาทิ เรื่องเล่า ประสบการณ์ กรณีศึกษา ค้นคว้า เนื้อหาที่ได้รับมอบหมายเพื่อการนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม บันทึกพฤติกรรมระหว่างการเรียน ศึกษาดูงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียน การอบรมให้ความรู้เฉพาะทางจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ประเมินคุณภาพงานที่ได้รับมอบหมาย ทักษะการนำเสนอ การตอบคำถาม
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ พิจารณาทั้งเหตุและผล สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์

สามารถค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบรรยายเนื้อหาหลักของแต่ละวิชา โดยแสดงที่มาของทฤษฎีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆในเชิงวิเคราะห์ และเน้นให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน กระตุ้นให้คิดตามหลักของเหตุและผล พยายามชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ และใช้สื่อเชิงวัตถุบรรยายประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการค้นคว้าด้วยตนเอง มอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะ รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกับผู้อื่น ทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกเนื้อหา หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในตนเองและวิชาชีพ โดย

กำหนดหัวข้อในการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ของรายวิชา แบบทดสอบย่อยในชั่วโมงเรียนหรือการบ้านในแต่ละหัวข้อ ใช้ความสามารถและเทคนิคถ่ายทอด อาทิ เรื่องเล่า ประสบการณ์ กรณีศึกษา ค้นคว้า เนื้อหาที่ได้รับมอบหมายเพื่อการนำเสนอ อภิปรายกลุ่ม บันทึกพฤติกรรมระหว่างการเรียน
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ประเมินคุณภาพงานที่ได้รับมอบหมาย ทักษะการนำเสนอ การตอบคำถาม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้ความช่วยเหลือ ข้อเสนอแนะและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบรรยายเนื้อหาหลักของแต่ละวิชา โดยแสดงที่มาของทฤษฎีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆในเชิงวิเคราะห์ และเน้นให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน กระตุ้นให้คิดตามหลักของเหตุและผล พยายามชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ และใช้สื่อเชิงวัตถุบรรยายประกอบเพื่อให้เข้าใจง่าย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการค้นคว้าด้วยตนเอง มอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะ รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รู้จักการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกับผู้อื่น ทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกเนื้อหา หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในตนเองและวิชาชีพ โดย

กำหนดหัวข้อในการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ของรายวิชา แบบทดสอบย่อยในชั่วโมงเรียนหรือการบ้านในแต่ละหัวข้อ ใช้ความสามารถและเทคนิคถ่ายทอด อาทิ เรื่องเล่า ประสบการณ์ กรณีศึกษา ค้นคว้า เนื้อหาที่ได้รับมอบหมายเพื่อการนำเสนอ อภิปรายกลุ่ม บันทึกพฤติกรรมระหว่างการเรียน
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ประเมินคุณภาพงานที่ได้รับมอบหมาย ทักษะการนำเสนอ การตอบคำถาม
5.1 ทักษะเขียนแบบก่อสร้าง

มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานที่เกี่ยวกับเขียนแบบก่อสร้าง สามารถนำเสนอแบบที่ดี แบบที่ชัดเจน อ่านง่าย ไม่มีความยุ่งยากมากแสดงรายละเอียดเท่าที่จำเป็น สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนแบบ เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอ

อย่างเหมาะสม

สามารถอธิบายความหมายของคำที่ใช้เกี่ยวกับการเขียนแบบได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถและความมั่นใจในการสรุปผลการศึกษา มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยรูปภาพ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในงานทางวิศวกรรมได้
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบรรยายเนื้อหาหลักของแต่ละวิชา โดยอธิบายหลักและวิธีเขียนแบบก่อสร้างบรรยายประกอบโครงสร้างอาคารเพื่อให้เข้าใจง่าย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการค้นคว้าด้วยตนเอง มอบหมายงานให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะ การเขียนแบบรู้จักการเรียนรู้ร่วมกัน สอดแทรกเนื้อหา หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในตนเองและวิชาชีพ โดย

กำหนดหัวข้อในการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ของรายวิชา แบบทดสอบย่อยในชั่วโมงเรียนหรือการบ้านในแต่ละหัวข้อ ใช้ความสามารถและเทคนิคถ่ายทอด อาทิ เรื่องเล่า ประสบการณ์ กรณีศึกษา ค้นคว้า เนื้อหาที่ได้รับมอบหมายเพื่อการนำเสนอ อภิปรายกลุ่ม บันทึกพฤติกรรมระหว่างการเรียน
แบบ รูปแบบอาคาร รายการประกอบแบบ หุ่นจำลอง ประเมินคุณภาพงานที่ได้รับมอบหมาย

ทักษะการเขียนแบบ การทำหุ่นจำลอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 การทดสอบย่อยครั้งที่ 3 การทดสอบย่อยครั้งที่ 4 สอบกลางภาค สอบปลายภาค การนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย/การประเมินผลการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 3 6 10 13 8 17 5 % 5 % 5 % 5 % 10 % 20 % 30 %
เฉลิม รัตนทัศนีย. การเขียนแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2534.
มานพ ต้นตระบัณฑิตย์. เขียนแบบวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: ดวงกมลจำกัด, 2548.
Boundy, A.W. Engineering Drawing. Singapore: Kyodo Printing co ( S’pore )Pte Ltd, 1991.
Sadamatsu, Shuzo. And Sadamatsu, Junko. Design Drafting. Japan:Ohmsha, Ltd., 1982.
Madsen, David A. Engineering Drawing and Design. USA: Delmar Publishers,Inc, 1991.
 
รัตนา พงษธา กันยายน 2532 เขียนแบบช่างก่อสร้าง
http://www.thaiengineering.com/
http://www.eit.or.th/events.php?siteid=0&option=events&sid=10&lang=th
http://www.tumcivil.com/tips/ebook/eBook-5563602Structure2.htm
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เขียน การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนโดยนักศึกษาและแบบประเมินรายวิชา

ขอเสนอแนะผ่านสื่อสารสนเทศ
จำนวนหรือร้อยละของผู้เข้าเรียนแต่ละคาบ และการสังเกตพฤติกรรม คำถาม หรือแบบทดสอบ ผลการเรียนรู้ ทั้งห้าด้าน

แบบประเมินผลการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทำการปรับปรุงการสอนทุกปีการศึกษา โดยพิจารณาจากผลประเมินรายวิชาโดยผู้เรียน และผลประเมินการสอนและปัจจัยอื่นๆต่อไปนี้

ผลประเมินรายวิชาโดยผู้เรียน ผลประเมินการสอน และแบบสอบถามความสนใจในชั้นเรียน ประเด็นปัจจุบันหรือหัวข้อที่คัดสรรตามความสนใจ (Current issue & selected topics)

การวิจัยชั้นเรียน ในประเด็นต่าง ๆ ทั้งในรายวิชานี้ และรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน (วิชาชีพบังคับอื่น ๆ และวิชาชีพเลือก) อาทิ ศิลปในการถ่ายทอดความรู้สื่อการสอน การนำความรู้ไปใช้ในรายวิชาอื่น ๆ ฯลฯ
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา อาศัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอกกระบวนการเรียนการสอน ทวนสอบทั้งกระบวนการ ผลลัพท์และผลสัมฤทธิ์เพื่อยืนยันว่า ผลประเมินประสิทธิผลของรายวิชาผลประเมินการสอนนั้นน่าเชื่อถือ การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา ดำเนินการทุกครั้งที่มีการเรียนการสอนรายวิชาเช่น

ทวนสอบจากการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน (ลักษณะนิสัย ได้แก่ การเข้าเรียน และการสังเกตพฤติกรรม) โดยผู้ร่วมรับผิดชอบรายวิชา การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ที่ได้เรียนผ่านไปแล้ว โดยผู้ร่วมสอนอื่นหรือผู้ร่วมรับผิดชอบรายวิชา (Cross & Link check) ผู้ร่วมสอนและร่วมรับผิดชอบรายวิชามีส่วนในการประเมินย่อยเช่น การออกข้อสอบร่วม และร่วมประเมินผลการเรียน มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ทักษะของนักศึกษา โดยตรวจความเรียบร้อยของแบบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมเป็นต้น
การทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาโดยผู้สอน ดำเนินการทุกปีการศึกษา อาศัย กระบวนการใน มคอ.1 มคอ.2 และมคอ.3 โดยเฉพาะผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา (ข้อ 1) ผลประเมินการสอน(ข้อ 2) การปรับปรุงการสอน (ข้อ 3) และการทวนสอบมาตรฐานผลสำฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา (ข้อ 4)

การทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาโดยหลักสูตร คณะ และระดับสถาบัน (มหาวิทยาลัย)สอดคล้องกับนโยบาย ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และการประกันคุณภาพ ฯ