ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย

Distributed Generation Systems

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย เทคโนโลยีทางด้านพลังงานหมุนเวียน การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและโครงข่าย ผลกระทบ กำลังสูญเสีย การไหลของกำลังไฟฟ้า ระบบป้องกันการส่งจ่ายไฟฟ้าอัฉริยะ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลักวิธีของกระบวนการผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในเทคโนโลยีทางด้านพลังงานหมุนเวียน การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและโครงข่าย ผลกระทบ กำลังสูญเสีย การไหลของกำลังไฟฟ้า ระบบป้องกันการส่งจ่ายไฟฟ้าอัฉริยะ สำหรับการทำงานได้
แนะนำเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจาย; เทคโนโลยีของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจาย, เทคโนโลยีพลังงานจากเชื้อเพลิงดั่งเดิมและพลังงานหมุนเวียน; การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายกริด; ผลกระทบทางเทคนิคของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายในระบบจำหน่ายไฟฟ้า, กำลังสูญเสียในระบบ, สภาวะของแรงดันไฟฟ้า, ความน่าเชื่อถือ,ระบบการป้องกัน และการไหลของกำลังไฟฟ้า; ระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ; ด้านเศรษฐศาสตร์
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษา  - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในสาขาต่างๆ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกร สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม อภิปรายกลุ่ม และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ สอนให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลาจากการมอบหมายงาน การส่งงาน และการเข้าชั้นเรียน
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา  1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม  1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา  1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย หรือ แบบฝึกหัด
เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร และเพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณลักษณะเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ทั้ง 5 ด้าน คือ  1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม  2 ด้านความรู้  3 ด้านทักษะทางปัญญา  4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงานหรืแบบฝึกหัด การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และ Problem & Active – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการทดสอบความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน (ถาม-ตอบ)
2.3.1 ทดสอบย่อยหรืองานที่มอบหมาย, สอบกลางภาคและสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลหรือแบบฝึกหัด กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem & Active – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น, แบบฝึกหัดหรือปัญหาโจทย์
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษหรือแบบฝึกหัดที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานหรือแบบฝึกหัดที่ได้ทดสอบ 
3.2.2 อภิปรายกลุ่มหรือเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน 
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำหลักการทางด้านวิศวกรรมไปใช้จากแบบฝึกหัดหรือโจทย์ทดสอบ 
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ 
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงานจากแบบฝึกหัด, รายงานหรือทดสอบย่อย 
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาหรือแนวคิด
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเกี่ยวกับระบบการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายและการเชื่อมโยง หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดเชิงวิศวกรรม 
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียนหรือแบบฝึกหัด 
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 
5.1.4 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอนออนไลน์ต่างๆ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 ENGEE145 ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เข้าใจเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสถิต, เข้าใจเกี่ยวกับตัวนำ ไดอิเล็กตริก คาปาซิแตนซ์ การพาและการนำกระแส, สนามแม่เหล็กสถิต, สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและสมการแมก์เวล ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 หรืองานที่มอบหมาย, สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 หรืองานที่มอบหมาย, สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 12 สัปดาห์ที่ 17 10% 30% 10% 30%
2 การทำแบบฝึกหัด ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและงานที่ได้รับมอบหมาย วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความหรือแบบฝึกหัด การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 การมีส่วนร่วมในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การเข้าเรียนสม่ำเสมอและใส่ใจต่อการเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
สวัสดิ์ ยุคะลัง, เอกสารประกอบการสอน ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย, สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, 2560. 
จอมภพ แววศักดิ์, เทคโนโลยีพลังงานลม, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
แนบบุญ หุนเจริญ, การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด กรณีศึกษาเมืองแม่ฮ่องสอน, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.
เวปไซน์ข้อมูลพลังงาน https://energy.go.th/2015/energy-information/e-lib.dede.go.th › mm-data › BibA11106คู่มือแก๊สซิฟิเคชั่น59
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา