ความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และข้อมูล

Computer and Data Security

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานหลักการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยในการสื่อสารข้อมูลรวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลในอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง ที่ส่งผลกระทบการใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความพร้อมในการแก้ปัญหาและนำความรู้ความเข้าใจในหลักการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์วิทยาการเข้ารหัสลับการเข้าและถอดรหัสลับแบบต่างๆและการรักษาความปลอดภัยในการสื่อสารข้อมูลรวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาชีพอื่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีเครือข่าย ที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาความรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์วิทยาการเข้ารหัสลับการเข้าและถอดรหัสลับแบบต่างๆอัลกอริทึมในการเข้ารหัสลับการระบุตัวตนการวิเคราะห์คุณลักษณะสมบัติของข้อมูลสำหรับลดความซับซ้อนขบวนการเข้ารหัสลับการลดเวลาและภาระการประมวลผลเข้ารหัสลับการฝังสัญญาณลายน้ำและความปลอดภัยในการสื่อสารข้อมูลรวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลในอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ1ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
    พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการดูแล จัดการความปลอดภัยข้อมูลและคอมพิวเตอร์ อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
  1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
  2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
  4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
  6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
  7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และข้อมูล เช่น การลักลอบข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการเข้าใช้เครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ การป้องกันตนเอง
2. อภิปรายกลุ่ม
3. กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
    มีความรู้ในหลักการ พื้นฐานของความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ วิทยาการเข้ารหัสลับ การเข้าและถอดรหัสลับแบบต่างๆ อัลกอริทึมในการเข้ารหัสลับ การระบุตัวตน การวิเคราะห์คุณลักษณะสมบัติของข้อมูลสำหรับลดความซับซ้อนขบวนการเข้ารหัสลับ การลดเวลาและภาระการประมวลผลเข้ารหัสลับ การฝังสัญญาณลายน้ำ และความปลอดภัยในการสื่อสารข้อมูล รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลในอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง ให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามที่กำหนด โดยใช้อุปกรณ์จริง หรืออาศัยโปรแกรมจำลองสถานการณ์
บรรยาย  อภิปราย สาธิตการ และฝึกปฏิบัติการ ทำงานของเครือข่ายแต่ละลักษณะบนซอฟต์แวร์แบบจำลองสถานการณ์  เป็นต้น กำหนดทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และการจำลองสถานการณ์ด้วยซอฟต์แวร์ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. ประเมินจากการออกแบบ และจำลองการทำงานความปลอดภัยเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
3. ผลการปฏิบัติงานในใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในทดลอง
  พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 
1. การมอบให้นักศึกษา วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ตามใบงาน  
2. สาธิตจากแบบจำลองในปัญหารูปแบบต่าง ๆ 
3. วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการใช้เครือข่ายที่เหมาะสม
4. การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
1. สอบแต่ละใบงาน ด้วยการลงมือปฏิบัติการ เป็นรายบุคคล  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ระบบความปลอดภัยในการใช้งานผ่านเครือข่าย
2. วัดผลจากการการทำงานตามงานที่มอบหมาย
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดกิจกรรมกลุ่มการทำใบงาน ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย ในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
3. การนำเสนอรายงาน
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
1. ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4. พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room 
6. ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2.  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          6.2.1   อธิบายและสาธิตการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และวิธีการให้เข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามหลักวาการ  
          6.2.2  มอบหมายให้ลงมือปฏิบัติทดลองตามกำหนดเวลา  
          6.2.3  ให้มีการแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติงาน มีการแบ่งความรับผิดขอบกัน  
          6.2.4 นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาและโทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความสร้างสรรค์และลงมือปฏิบัติงานด้วยใจรัก 
 
          6.3.1   สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ในเรื่องเวลา วิธีการและผลงานที่ได้รับ การทำงานร่วมกัน  
          6.3.2  พิจารณาผลการปฏิบัติการทดลอง รวมทั้งงานที่มอบหมาย  
          6.3.3  สังเกตพฤติกรรมการเขียนโปรแรมและจดบันทึก  
          6.3.4  พิจารณาผลการปฏบัติงานการเขียนโปรแกรม  
          6.3.5  ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานโปรแกรมต่างๆ โดยเปิดเผย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญหา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE110 ความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และข้อมูล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1.วรเศรฐ สุวรรณิก. วิทยาการรหัสลับ    
2. เบญจพร ลิ้มธรรมกากรณ์. ความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ 
3.William Stallings.Cryptography and Network Security, SecondEdition 
4.William Stallings.Cryptography and Network Security: Principles and Practice, Sixth Edition 
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์  
การค้นหา รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับจากเว็บไซต์  google.com 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ