เทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ

Personality Development Techniques

1.1 เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
1.2 เพื่อให้เข้าใจวิธีการปรับปรุงบุคลิกภาพ
1.3 เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองและให้คำแนะนำผู้อื่นได้
1.4 เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพตนเองไปสู่การมีบุคลิกภาพที่พัฒนาสมบูรณ์
  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ทฤษฎีบุคลิกภาพ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ เทคนิควิธีการปรับปรุงบุคลิกภาพ การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง  ตลอดจนแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตและการปรับตัว บุคลิกภาพที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล มีความซื่อสัตย์ มีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
    1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
    2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
    3. มีความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
    4. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
    5. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
    6. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
บรรยาย นำเหตุการณ์และ/หรือบุคคลในสังคมมาใช้เป็นกรณีศึกษา อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน ความใส่ใจและร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.2   ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา งานที่ส่งมีคุณภาพและไม่คัดลอกงานของผู้อื่น
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
     1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
     2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
     3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
         เข้าใจทฤษฎีและเนื้อหาสาระเกี่ยวกับบุคลิกภาพ เข้าใจทฤษฎีบุคลิกภาพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ ตลอดจนเทคนิควิธีการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง มีการรับรู้เกี่ยวกับตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  สามารถปรับตัวได้ดีทั้งในชีวิตประจำวันและสังคม ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิต และ สามารถบุคลิกภาพของตนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้เหตุการณ์บุคคลต่างๆ ในสังคม
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็น กิจกรรมกลุ่ม และอภิปรายในชั้นเรียน
2.3.3   มอบหมายงานตามเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถมองปรากฏการณ์ทางสังคมในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ได้อย่างมีเหตุผล และมีจิตสาธารณะต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อจิตสาธารณะ ที่ให้วิเคราะห์สถานการณ์ของสังคมและแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคม
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.2   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.3   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม - พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด - ประเมินผลจากการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ การทุจริตในห้องสอบ สัปดาห์ที่ 1 - 17 10%
2 ความรู้ เก็บคะแนนครั้งที่ 1 - สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 30%
3 ความรู้ เก็บคะแนนครั้งที่ 2 - สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 30%
4 ทักษะ ปัญญา - ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - ประเมินผลจากแบบฝึกหัด หรือรายงานที่ มอบหมายโดยเน้นวิเคราะห์กรณีศึกษา สัปดาห์ที่ 1 - 16 10%
5 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การ ใช้ เทคโนโลยี สาระสนเทศ การ ประเมินผล การนำเสนอ ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่ผู้เรียนต้อง ใช้วิธีอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน -ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่ผู้เรียนต้อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การนำเสนอรายงานโดยใช้ Power point -ประเมินผลจากการนำเสนอข้อมูลอย่าง เป็นระบบ สัปดาห์ที่ 1 - 16 20%
    หนังสือวิชาเทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ  ของโครงการตำราทางสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
รัชนี เอนกพีระศักดิ์. (2551). คู่มือทดสอบความถนัด บุคลิกภาพ และแรงจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : เกียวโต เนชั่น เซอร์วิส.
ก่องแก้ว เจริญอักษร. (2545). การพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาเทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.3 ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
5.4 ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ให้มีความหลากหลาย และสนองต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน