ฝึกงานวิชาชีพทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

Job Internship in Computer Science

1.1  ฝึกทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์  1.2  มีความชำนาญวิชาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์  1.3  สามารถทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้  1.4  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในสภาพการปฏิบัติงานจริงได้  1.5 มีทัศนะคติที่ดีต่อการดำรงชีพการเป็นนักปฏิบัติด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์  1.6 มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
เพื่อจัดการบริหารการฝึกงาน ให้อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน ผู้รับผิดชอบการฝึกงานในสถานที่ฝึกงาน และนักศึกษา เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ชัดเจน และอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน ผู้รับผิดชอบการฝึกงานในสถานที่ฝึกงาน สามารถมอบหมายงาน ติดตาม และประเมินผลการฝึกงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และนักศึกษาสามารถบรรลุผลเรียนรู้ตามที่กำหนด
ฝึกปฏิบัติงานตามหน่วยงาน ในชุมชน และแหล่งงาน ผู้ประกอบการ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ศึกษา ไม่น้อยกว่า 450 ชั่งโมง เพื่อให้ได้ประสบการณ์และเรียนรู้ในเชิงวิสัยทัศน์การทำงาน โดยให้มีการประเมินระดับคะแนน(Grade)เป็น S (พอใจ) หรือ U (ไม่พอใจ)
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1 ซื่อสัตย์สุจริต รักษาความลับของสถานที่ฝึกงาน  1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา  1.3 เคารพกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงาน  1.4 มีความขยันหมั่นเพียร อดทน สู้งาน  1.5 มีความรับผิดชอบ
- ปฐมนิเทศนักศึกษา ที่พึงปฏิบัติก่อนฝึกงาน  - กำหนดตารางเวลาทำงานประจำวัน  - กำหนดให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ  - นักศึกษารับผิดชอบในตนเองให้เข้ากับกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงาน  - มอบหมายงานที่ต้องใช้ความพยายาม ความอดทน
- นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน  - ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือผู้บริหาร จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออก  ระหว่างการฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และให้มีลายเซ็นรับรองการปฏิบัติงานในแต่ละอาทิตย์  - อาจารย์นิเทศ ประเมินความซื่อสัตย์  การรักษาความลับ และความรับผิดชอบของ  นักศึกษาจากข้อมูลที่ปรากฏในบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.2  มีความรู้ในศาสตร์ของตนเอง  2.3 เข้าใจเทคนิควิธีการทำงานในสถานที่ฝึกงาน  2.4 เข้าใจระบบการบริหารงาน  2.5 เข้าใจบทบาทหน้าที่   กฎระเบียบแนวปฏิบัติของสถานที่ฝึกงาน
- สถานที่ฝึกงานจัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำการปฏิบัติงานตามหน้าที่ มอบหมาย  เอกสารข้อมูลของสถานที่ฝึกงานให้ศึกษาด้วยตนเอง  - ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเองภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง  - นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตและการปฏิสัมพันธ์กับพนักงานประจำและ  การศึกษาเอกสารของสถานที่ฝึกงาน
- นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน  - ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ
3.1 สามารถวิเคราะห์และสรุปผลความสอดคล้อง ของความรู้ทางทฤษฎีกับการทำงานจริง  3.2 สามารถแสดงแนวคิดในการนำความรู้ทางทฤษฏี มาพัฒนาหรือปรับปรุงงานให้  เหมาะสม  3.3 สามารถวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะวิธีการแก้ไข  3.4 สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีมาอธิบายการทำงานจริง  3.5 มีทักษะในการคิด วิเคราะห์และใช้เครื่องใช้สำนักงาน  เครื่องคำนวณ งานการเงินที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน
- การฝึกปฏิบัติจริง  - การมอบหมายสารนิพนธ์  - อาจารย์นิเทศออกนิเทศนักศึกษาระหว่างการเตรียมฝึก
- นักศึกษาประเมินการเรียนรู้โดยบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน  - ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศและจากบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1 รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย  4.2 เรียนรู้ภาวะทางอารมณ์ของตนเอง เข้าใจชีวิตการทำงาน สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับ  ผู้อื่น  4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมในฐานะนักศึกษาฝึกงาน  4.4 พัฒนาตนเองโดยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ
- การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่างๆ ของสถานที่ฝึกงาน  - การฝึกปฏิบัติงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ  - การนิเทศการฝึกงานของนักศึกษาระหว่างการฝึกงาน
- นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน  - ประเมินพฤติกรรม โดยพนักงานพี่เลี้ยง จากการสังเกตและการสอบถามความคิดเห็น  จากพนักงานผู้ร่วมงานอื่นๆ  - ประเมินจากบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน
5.1 สามารถใช้ความรู้ทางการเงินและการธนาคารอันนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง  เหมาะสม  5.2 มีความสามารถในการนำเสนอความคิดเห็นทั้งเชิงสังคมและวิชาการ ให้แก่บุคคล  หรือกลุ่มบุคคล ทั้งการนำเสนอด้วยปากเปล่าและการเขียนรายงาน ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อการสื่อสารความคิดและข้อมูล  ข่าวสาร
-  กำหนดให้นำเสนอ ผลการแก้ปัญหาระหว่างการฝึกงาน ณ สถานที่ฝึกงาน และ  ประสบการณ์การฝึกงาน ที่โปรแกรมวิชา แบบปากเปล่า  - กำหนดให้ส่งบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน
- นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยการจัดทำบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน  - ประเมินคู่มือการฝึกประสบการณ์ ในส่วนที่ต้องใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลข โดย  พนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศ  - ประเมินการเตรียมฝึกงานจากบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCS706 ฝึกงานวิชาชีพทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ประเมินผลการฝึกงานภายนอกบริษัทโดยสถานฝึกงานตามแบบประเมินผลของมหาวิทยาลัย 15 80%
2 - ประเมินผลจากการแสดงผลงานและบันทึกการฝึกงาน โดยอาจารย์ประจำสาขาวิชาที่ได้รับมอบหมาย ประเมินการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 5 ด้าน โดยมีเกณฑ์การประเมินผลดังนี้ ช่วงคะแนน ค่าระดับคะแนน 80-100 A 75-79 B+ 70-74 B 65-69 C+ 60-54 C 55-59 D+ 50-54 D 0-49 E ไม่ส่งบันทึกการฝึกงาน I ประพฤติผิดระเบียบ/สอบสวนระบุโทษ E หมายเหตุ : เกณฑ์ผ่านการฝึกงาน ต้องได้ค่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า C+ 16 20%
1.1  นักศึกษา  จัดให้นักศึกษาตอบแบบประเมินประสิทธิผลของการฝึกงาน
1.1  นักศึกษา  จัดให้นักศึกษาตอบแบบประเมินประสิทธิผลของการฝึกงาน  1.2  พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ  พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ ขอให้ประเมินและบันทึกความคิดเห็นต่อการฝึกงาน ในแบบฟอร์มที่คณะกำหนด  1.3  อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม  อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน  ขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน บันทึกความคิดเห็นต่อการฝึกงาน ในแบบฟอร์มที่คณะกำหนด
- อาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกงานประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้งหมด พร้อมทั้งผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ ของนักศึกษา ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้รับผิดชอบการฝึกฝ่ายสถานที่ฝึกงานและอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน จัดทำรายงานผลการดำเนินการของฝึกงาน รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อนำเสนอต่อคณบดีเพื่อทราบและพิจารณา  - ที่ประชุมโปรแกรมวิชาร่วมพิจารณาประสิทธิผลของการฝึกงาน วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในรอบปีการศึกษาถัดไป โดยแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร