สหกิจศึกษาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

Cooperative Education in Information Technology

เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสายวิชาชีพที่ได้เรียนรู้มา (Action Learning)  พร้อมกับการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการ แนวความคิด ตลอดจนมีความสามารถสอดแทรกกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานร่วมกับหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่นักศึกษาเข้าฝึกงาน    การฝึกงานช่วยให้นักศึกษาได้นำทฤษฎีที่เรียนมาตรวจสอบในภาคปฏิบัติ   พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์   แก้ไขปัญหาแบบเป็นระบบ   มีเครือข่ายจากหลายวิชาชีพซึ่งเป็นนักศึกษาต่างสถาบัน   อีกทั้งนักศึกษาได้ค้นหาตนเอง ฝึกจิตใจเป็นสาธารณะ มีความเสียสละ อดทน มองปัญหาสังคมได้ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อเติบโตต่อไปในอาชีพอย่างคนมีคุณภาพ ไม่ก่อปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม นำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้กับชีวิตและสังคมต่อไป    การฝึกงานเป็นรายวิชาบังคับในหลักสูตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสมรรถนะบัณฑิตนักปฏิบัติ   ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาประกอบวิชาชีพแบบใช้ฐานความรู้เป็นหลักในการประกอบอาชีพ
ผลประเมินการฝึกงานของนักศึกษา และนำข้อมูลการประเมินของสถานที่ฝึกงาน  มาปรับปรุงการฝึกงานของนักศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานที่ฝึกงาน  รวมทั้งพัฒนาการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานและ/หรือสถานประกอบการเพื่อพัฒนาการฝึกงานและวางแนวทางสหกิจศึกษาของสาขาวิทยาศาสตร์
การฝึกงานวิชาชีพทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสายวิชาชีพที่ได้เรียนรู้มา (Action Learning)  พร้อมกับการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการ แนวความคิด ตลอดจนมีความสามารถสอดแทรกกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานร่วมกับหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่นักศึกษาเข้าฝึกงาน    การฝึกงานช่วยให้นักศึกษาได้นำทฤษฎีที่เรียนมาตรวจสอบในภาคปฏิบัติ   พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์   แก้ไขปัญหาแบบเป็นระบบ   มีเครือข่ายจากหลายวิชาชีพซึ่งเป็นนักศึกษาต่างสถาบัน   อีกทั้งนักศึกษาได้ค้นหาตนเอง ฝึกจิตใจเป็นสาธารณะ มีความเสียสละ อดทน มองปัญหาสังคมได้ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อเติบโตต่อไปในอาชีพอย่างคนมีคุณภาพ ไม่ก่อปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม นำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้กับชีวิตและสังคมต่อไป
ไม่มี
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
การฝึกงานในสถานประกอบการ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าทำงาน การตรงเวลา และมีชั่วโมงการทำงานที่เพียงพอ
1.3.2   มีผลประเมินเป็นผ่านจากผู้ดูแลนักศึกษา หรือผู้มอบหมายงาน และอาจารย์
1.3.3  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมายจากสถานประกอบการ
นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสายวิชาชีพที่ได้เรียนรู้มา (Action Learning)  พร้อมกับการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการ แนวความคิด ตลอดจนมีความสามารถสอดแทรกกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานร่วมกับหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่นักศึกษาเข้าฝึกงาน    การฝึกงานช่วยให้นักศึกษาได้นำทฤษฎีที่เรียนมาตรวจสอบในภาคปฏิบัติ   พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์   แก้ไขปัญหาแบบเป็นระบบ   มีเครือข่ายจากหลายวิชาชีพซึ่งเป็นนักศึกษาต่างสถาบัน
การฝึกงาน การฝึกทักษะเพื่อสร้างประสบการณ์ และจัดทำโครงงานร่วมกับสถานประกอบการ
2.3.1  การประเมินงานจากหน่วยงานที่นักศึกษาเข้าฝึกงาน
2.3.2  การประเมินจากผู้สอนระหว่าง และหลังฝึกงาน
2.3.3  การประเมินผลงาน  ยึดพื้นฐานขึ้นอยู่กับหลักฐานการปฏิบัติงานต่างๆ ของนักศึกษาที่แสดงต่อผู้สอน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
      พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์โจทย์ และแก้ไขปัญหาโดยใช้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ นักศึกษาจะมีทักษะทางปัญหาสอดคล้องกับคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
(1)   คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
(2)   สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
(3)   สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
       (4)   สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
 
นักศึกษาได้รับมอบหมายงานจากสถานที่ประกอบการ
3.3.1   การประเมินงานจากหน่วยงานที่นักศึกษาเข้าฝึกงาน
3.3.2   การประเมินจากผู้สอนระหว่าง และหลังฝึกงาน
3.3.3   การประเมินผลงาน  ยึดพื้นฐานขึ้นอยู่กับหลักฐานการปฏิบัติงานต่างๆ ของนักศึกษาที่แสดงต่อผู้สอน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
ภาระงานที่ได้รับมอบหมายจากสถานที่ฝึกงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
ความรู้ในงานที่ทำ
ทำนำเสนอ และปฏิบัติการเชิงแนวปฏิบัติที่ได้ทำงานอย่างคล่องตัว
พี่เลี้ยง ผู้ดแล และเจ้าของสถานประกอบการประเมิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ต้องครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนด การเข้าทำงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน สัปดาห์ที่ 7 50
2 ดุลยพินิจอาจารย์ผู้นิเทศสถานที่ฝึกงาน การนำเสนอ รายงานสรุปผลการฝึกงานสหกิจ สัปดาห์ที่ 15 50
ขึ้นกับแขนงของการฝึกงานในสถานที่ประกอบการ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ