ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

Thai for Communication

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
๑. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการสื่อสาร
๒. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจภาษาไทยในการสื่อสาร
๓. สามารถใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
๕. ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าภาษาไทยในฐานะเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
๑. พัฒนาพื้นฐานการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารของนักศึกษา
๒. พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
๓. มุ่งเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของภาษา  การใช้ทักษะภาษาด้านการฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  และคิดวิเคราะห์  ศึกษาแหล่งข้อมูล  วิธีการสืบค้นข้อมูล  การใช้ภาษาในการสืบค้นข้อมูล  การเรียบเรียงข้อมูล  หลักการอ้างอิง  และการนำเสนอข้อมูล
อาจารย์ประจำรายวิชาจัดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาเป็นรายบุคคล/รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงโดยแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
                อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรงและให้ติดต่อผ่านทางอีเมลล์เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษา
1.1 คุณธรรม  จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
                พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล  การไม่เปิดเผยข้อมูล  ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์  ไม่นำงานใด ๆ ของผู้อื่นมาเป็นงานของตนเอง  โดยมีคุณธรรม  จริยธรรม  ดังนี้
                                1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม  จริยธรรม  เสียสละ  และซื่อสัตย์สุจริต
                                1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                                1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
                                1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                                1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
                                1.1.6 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 วิธีการสอน
                                1.2.1 ให้นักศึกษาสังเกตจากเหตุการณ์อันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และให้นักศึกษาช่วยกันวิพากษ์ถึงพฤติกรรมและปัญหาที่เกิดขึ้น
                                1.2.2 ให้นักศึกษาออกมาเล่าเหตุการณ์ที่ได้อ่านจากหนังสือพิมพ์ หรือจากการดูข่าวในโทรทัศน์  หรือจากคลิปวีดิโอเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องและช่วยกันวิพากษ์ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                                1.2.3 อบรมให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายและมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
                                1.2.4 กำหนดกฎเกณฑ์ในการเข้าเรียนเพื่อฝึกอบรมนักศึกษาให้เป็นผู้มีความรับผิดชอบ
1.3 วิธีการประเมินผล       
                                1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
                                1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นามาทารายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
                                1.3.3 ไม่มีการทุจริตในการสอบ
                                1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ผลการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดรายวิชานี้นักศึกษาจะมีคุณลักษณะหรือมีความสามารถดังนี้
                                2.1.1 มีความรู้ในทักษะทางภาษาทั้งการฟัง  พูด  เขียน
                                2.1.2 มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
                                2.1.3 สามารถรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล  พร้อมทั้งเขียนอ้างอิงตามหลักวิธีการนำเสนอที่ถูกต้อง
                                2.1.4 นักศึกษาเกิดทักษะการปฏิบัติตามเนื้อหาของรายวิชาได้
                                2.1.5 สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
2.2 วิธีการสอน
                                2.2.1 บรรยายร่วมกับอภิปรายแสดงความคิดเห็น
                                2.2.2 มอบหมายงานเฉพาะรายและกลุ่ม
                                2.2.3 การให้นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติมจัดทำเป็นรายงานและนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3 วิธีการประเมินผล
                                2.3.1 สอบย่อยระหว่างเรียนด้วยแบบทดสอบ
                                2.3.2 สอบกลางภาค  และสอบปลายภาค
                                2.3.3 ประเมินผลจากประสิทธิผลของการศึกษาค้นคว้าการรายงานการศึกษาค้นคว้าและงานที่มอบหมาย
                                2.3.4 ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3.1 ผลการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดรายวิชานี้นักศึกษาจะมีคุณลักษณะหรือมีความสามารถดังนี้
                                3.1.1 พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ  มีการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
                                3.1.2 มีการใช้ภาษาผ่านเครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                3.1.3 สามารถเขียนอ้างอิงแหล่งข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
3.2 วิธีการสอน
                                3.2.1 บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียน
                                3.2.2 มอบหมายงาน กิจกรรม โครงการ  ในเรื่องที่นักศึกษาสนใจและนำเสนอผลการศึกษา
3.3วิธีการประเมินผล
                                3.3.1 สอบย่อยสอบกลางภาค  และสอบปลายภาคโดยข้อสอบส่วนนี้เน้นการใช้ทักษะทางภาษา
                                3.3.2 วัดผลจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนอผลงาน
                                3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                                4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
                                4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
                                4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
                                4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
                                4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
                                4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคลและกลุ่มให้ศึกษาค้นคว้า
                                4.2.3 นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
4.3 วิธีการประเมินผล
                                4.3.1 ประเมินจากกระบวนการทำงานและพฤติกรรมระหว่างทำงาน
                                4.3.2 ประเมินผลจากรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5.1.1 มีทักษะในการฟัง  พูด  เขียน
                                5.1.2 มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล และสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
                                5.1.3 สามารถสืบค้นศึกษาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง     
เหมาะสม
                                5.1.4 สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองห้องสมุด  และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น  จาก website สื่อการสอน e-learning  และทำรายงานโดยเน้นการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือพร้อมทั้งมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
                                5.2.2 นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากงานที่มอบหมาย  และรูปแบบการนำเสนอ เช่น  การจัดทำรายงาน การนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
                                5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 13044001 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ประเมินผลการเรียนรู้กลางภาค ประเมินผลการเรียนรู้ปลายภาค สอบกลางภาค สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 17 25 % 25 %
2 บันทึกผลการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์ การส่งงานตามที่มอบหมาย แบบฝึกหัดในชั้นเรียน การนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 15 % 10 % 15 %
3 จิตพิสัย - พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย และเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - พฤติกรรมระหว่างเรียน จิตพิสัย - พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย และเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - พฤติกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวง. 2541. ทักษะภาษานานาวิธี. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย. 2539. การใช้ภาษาไทย 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชนะ  เวชกุล. 2524. การเขียนรายงานจากการค้นคว้า. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ชวน  เพชรแก้ว, ปรีชา  นุ่นสุข และ ปราณี  ถาวระ. 2524. การใช้ภาษา, ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.
ดนัย ไชยโยธา. 2551. รู้รักภาษาไทย : สำนวนโวหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ธนู ทดแทนคุณ. 2551. รู้รักษ์ภาษาไทย : ภาษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ธีระพล  อรุณะกสิกร และคณะ. 2540. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
นพดล จันทร์เพ็ญ. 2539. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ :  ต้นอ้อ แกรมมี จำกัด.
ประภัสสร ภัทรนาวิก. 2545. การเขียนเอกสารสำนักงาน. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ปรีชา  ช้างขวัญยืน. 2525. ศิลปะการเขียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิชาการ.
ปรีชา  ทิชินพงศ์. 2523. ลักษณะภาษาไทย, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ไพโรจน์  อยู่มณเฑียร. 2540. สำนวนไทยใช้ให้เป็น, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ทฤษฎี.
สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์. 2540. การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์. 2522. การเขียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
วิเศษ  ชาญประโคน. 2550. ภาษไทยเพื่อการสื่อสาร, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
เอกฉัท  จารุเมธีชน. 2539. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
หนังสือพิมพ์  วารสาร  สื่อสิ่งพิมพ์  เกี่ยวกับเรื่องการสื่อสาร งานเขียนประเภทต่าง ๆ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=513221
http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit1_part1.htm
http://human.tru.ac.th/elearning/thai_for_com/lesson1/content22.html
http://lib.pbru.ac.th/th/wp-content/uploads/2013/08/OPAC-Manual.pdf
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชาได้แก่วิธีการสอนสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งมี
ผลกระทบต่อการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงโดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2)ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิด
วิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเองดูผลการเรียนของนักศึกษาและทารายงานสรุป
พัฒนาการของนักศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
3.1 ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพ
ของรายวิชาปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัยแล้วจัดทารายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
3.2 กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน
การสอน
3.3 สัมมนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
3.4 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบรายงานวิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากการทบทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา (ข้อ 4) กลุ่มอาจารย์ผู้สอนทบทวนเนื้อหาและกลยุทธการสอน  แล้วนำเสนอแนวทางปรับปรุงและพัฒนารายวิชา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมกลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาสรุปและวางแผนพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพื่อนำเสนอภาควิชา/คณะ