เทคโนโลยีการก่อสร้าง 3

Construction Technology 3

1. เข้าใจวิธีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตช่วงกว้าง
2. เข้าใจคุณสมบัติ ของวัสดุก่อสร้าง สำหรับอาคารคอนกรีตช่วงกว้าง
3. นำคุณสมบัติของวัสดุและการก่อสร้างมาใช้ในการเขียนแบบอาคารได้
4. มีทักษะในการเขียนแบบอาคารคอนกรีตช่วงกว้าง
5. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในวิธีการก่อสร้าง คุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างของอาคารคอนกรีตช่วงกว้าง สามารถเขียนแบบก่อสร้าง อาคารคอนกรีตช่วงกว้างได้
ศึกษาหลักการ วิธีการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง องค์ประกอบและรายละเอียดของอาคารช่วงกว้าง
ฝึกปฏิบัติการเขียนแบบ อาคารช่วงกว้างศึกษาดูงานนอกสถานที่
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง ปฏิบัติการเขียนแบบ กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลจากความรับผิดชอบในปฏิบัติงานเขียนแบบ ภายในห้องเรียน
มีความรู้ในหลักการก่อสร้าง วัสดุ องค์ประกอบ ของอาคารคอนกรีตช่วงกว้าง ตามคุณสมบัติหลักสูตรดังนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรนาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย การนำเสนอรายงาน มอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ และปฏิบัติการเขียนแบบ
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล รายงาน
2.3.3 ประเมินผลจากผลงานการเขียนแบบ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ สามารถสร้างงานเขียนแบบ โดยนำหลักการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในงานได้ ตามคุณสมบัติหลักสูตรดังนี้
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติการเขียนแบบ
3.2.2 มีการนำหลักการในการก่อสร้างอาคารช่วงพาดกว้างมาใช้ในงานเขียนแบบอย่างเหมาะสม
3.3.1 วัดผลจากการประเมินผลงานเขียนแบบ
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมในการทำงาน และการแก้ปัญหาในการทำงาน
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การก่อสร้างอาคารช่วงพาดกว้าง การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการก่อสร้าง หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.2 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 มอบหมายงานเขียนแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนแบบ (Auto cad)
5.2.2 นำเสนองานเขียนแบบโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากงานเขียนแบบ
5.3.2 สังเกตทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนแบบในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา บรรยาย เน้นการตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบส่งงาน บรรยายด้านทฤษฎีอาคารช่วงพาดกว้างและหลักการปฏิบัติ การเขียนแบบ ให้หาข้อมูลติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคาร ให้บูรณาการระบุการใช้วัสดุลงในแบบก่อสร้าง ให้นักศึกษาปฏิบัติการเขียนแบบ นำหลักการในการก่อสร้างอาคารช่วงพาดกว้างมาใช้ในงานเขียนแบบอย่างเหมาะสม จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การก่อสร้างอาคารช่วงพาดกว้าง การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการก่อสร้าง หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ยกตัวอย่างงานเขียนแบบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการเขียนแบบ นำเสนองานเขียนแบบโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 42013203 เทคโนโลยีการก่อสร้าง 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียนสอบ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 20%
3 ด้านทักษะทางปัญญา สังเกตจากการปฏิบัติงานเขียนแบบ ประเมินจากผลงานเขียนแบบ 1-8,10-15 50%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การทำงานกลุ่มและผลงาน ตลอดภาคเรียน 10%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี สังเกต การนำเสนองาน ปฏิบัติ ที่ได้รับมอบหมาย 16 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
เอกสารประกอบการสอนวิชา Construction Technology 3
 
จรัญพัฒน์ ภูวนันท์. อาคารสูง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540
 
_______________. การก่อสร้างด้วยเหล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อี.ที.พับลิชชิ่ง, 2543.
 
เฉลิม สุจริต. วัสดุและการก่อสร้างสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
 
ชิง, ฟรานซิส ดี.เค., ก่อสร้างอาคารบรรยายด้วยภาพ แปลจาก Building Construction Illustrated โดย ทัต สัจจะวที. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2544.
 
มาลินี ศรีสุวรรณ, ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542.
 
สิทธิโชค สุนทรโอภาส, เทคโนโลยีอาคาร. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊คส์, 2543.
 
สุภาวดี รัตนมาศ. หลังคาในงานสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : นุยบุ๊คส์, 2543.
 
Architecture Gallery, Sketch up. (Online). Available: http://www.sketchup.com/product
/gallery.php?gid=89#top (Access date: 13 April 2003).
 
Angus,MacDonald, J. “Long-span Structures,” Architecture week. (Online). Available: http://www.architectureweek.com/2003/0326/building_1-2.html (Access date: 26 March 2003).
 
Arcila,Martha,T. Bridges. Spain : Atrium International, 2002.
 
Bagenal,Philip.and Meades,Jonathan. Great Buildings. UK : Salamander Books, 1990.
 
Gossel,Peter.and Leuthauser,Gabriele. Architure in the Twentieth Century. Germany : Benedikt Taschen, 1991.
 
Salvadori,Mario.and Heller,Robert. Structure in Architecture. New Jersey : Prentice-Hall, 1963.
เอกสารประกอบการสอนวิชา Construction Technology 3
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่สาขาฯ ได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
 
 
 
 
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์