ฝึกงานทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Job Internship in Food Science and Technology

1.1 การเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีและการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
1.2 เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหารมาใช้ในการทำงาน
1.3 เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ
1.4 มีแนวคิดในการนำความรู้ทางทฤษฏีมาใช้เพื่อพัฒนา หรือปรับปรุงงาน
1.5 การวางแผนการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมอาหารอย่างมีขั้นตอน และเป็นระบบ
1.6 มีทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร ที่มีอยู่ในสถานที่ฝึกงาน
1.7 เข้าใจชีวิตการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงาน ร่วมกันได้
1.8 ฝึกฝนความอดทน การมีวินัย และความซื่อสัตย์
1.9 เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา
๒.๑ พื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการณ์และอาจารย์ที่ปรึกษา
2.2 เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการฝึกงานในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับภาวะการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด
ฝึกปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือหน่วยงานเอกชนและราชการภายใน หรือต่างประเทศไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
ในระหว่างฝึกตลอดภาคเรียน
- มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (TQF-Food 1.1)
- แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต (TQF-Food 1.2)
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (TQF-Food 1.3)
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม (TQF-Food 1.4)
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (TQF-Food 1.5)
- การอบรมก่อนการฝึกงานให้นักศึกษาทราบถึงแนวการปฏิบัติตนในระหว่างการฝึกงาน ในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ ของสถานประกอบการ การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ
- ขอความร่วมมือกับสถานที่ฝึกงานให้กำหนดตารางเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม กำหนดขอบเขตของงาน วิธีการประเมินผลงานให้นักศึกษาทราบ และมอบหมายงานและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร
- มีสมุดคู่มือการฝึกงาน ที่สามารถบันทึกผลการปฏิบัติงานในแต่ละวัน
- ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
- นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรม จริยธรรม
- ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จากการสังเกตพฤติกรรม และการแสดงออกระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง
- ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้องพร้อมมีรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามประกอบ
- มีความรู้/ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือระบบประกันคุณภาพ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามที่ได้รับการฝึกประสบการณ์ โดยสามารถวิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการอาหารที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา (TQF-Food 2.1)
- มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และการบริหารจัดการ และสามารถบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านเทคโนโลยีการอาหารที่เกี่ยวข้อง (TQF-Food 2.2)
- สถานประกอบการที่ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง
- ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง
- พนักงานพี่เลี้ยงมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำงานวิจัยเพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการหรือพัฒนากระบวนการการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์
- ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการทำงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดแบบฟอร์มบันทึกการสั่งงาน
- การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
- สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีการอาหารใหม่ ๆ และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ (TQF-Food 3.1)
- สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาทางด้านเทคโนโลยีการอาหาร และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ (TQF-Food 3.2)
- สามารถปรับใช้สามารถปรับใช้ทักษะและองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีการอาหารความเข้าใจในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมได้อย่างสร้างสรรค์ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (TQF-Food 3.3)
- มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร (TQF-Food 3.4)
- มอบหมายโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาสาเหตุของปัญหา ฝึกการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการ
- ประชุม และนำเสนอ ผลลัพธ์จากโจทย์ปัญหาร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกงาน
- ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่ เกี่ยวข้องและควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
- การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
- รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ ((TQF-Food 4.1, 4.2, 4.3)
- สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (4.4)
- ขอความร่วมมือจากสถานที่ฝึกงานให้มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน มอบหมายงานที่ต้องไปพูดคุย สัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูล
- สร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาทัศนคติให้เกิดความรู้รัก สามัคคี พร้อมทำงานเป็นทีม
- ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงาน ประเมินผล
- ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
- ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากการที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์ตามที่ได้รับมอบหมายงาน
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
- สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม (TQF-Food 5.2)
- สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของสาขาเทคโนโลยีการอาหาร จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ (TQF-Food 5.3)
- มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด ((TQF-Food 5.4)
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม (TQF-Food 5.5)
- มอบหมายงานที่ต้องมีการสื่อสารโดยใช้ภาษาทั้งไทยหรือภาษาต่างประเทศ ทั้งการพูด เขียน ในการประสานการทำงาน
- มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ปัญหา หรือนำเสนอผลงาน
- กำหนดให้มีการนำเสนอผลการฝึกงานด้วย Power point
- กำหนดให้นักศึกษาจัดทำรายงานสรุปผลการฝึกงาน
- ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอความครบถ้วนของข้อมูล และครอบคลุมเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนความเข้าในและความถูกต้องในเนื้อหาที่นำเสนอ มารยาทและบุคลิกภาพในการนำเสนอ
- ประเมินจากผลการแก้ปัญหาโดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
- มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
- จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่อง อุปกรณ์และวิธีการให้ได้มาซึ่งขบวนการแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างเหมาะสม
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 24129401 ฝึกงานทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ประเมินนักศึกษา ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน โดยใช้เกณฑ์ประเมินมาตรฐานของมหาวิทยาลัย พนักงานพี่เลี้ยงเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม อาจารย์เป็นผู้ประเมินหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกงาน ตามแบบฟอร์มการประเมินของหลักสูตร ตลอดภาคเรียน 100 % หรือ S (ผ่าน) หรือ U (ไม่ผ่าน)
นักศึกษาประเมินตนเอง และสถานประกอบการจากแบบสอบถาม
นำข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสถานประกอบการ จากการนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษามาเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานรายวิชาให้ดีขึ้น
พนักงานพี่เลี้ยงบันทึกงานที่มอบหมาย และผลการฝึกฯในแบบฟอร์ม และสุ่มถามด้วยวาจา
ประเมินผลการฝึกงานของนิสิต จากรายงานผลการฝึกงาน บันทึกการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษาในแบบฟอร์ม รายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
- อาจารย์ผู้รับผิดชอบประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากนักศึกษา พนักงานพี่เลี้ยง และอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตร และประธานหลักสูตร หรือหัวหน้าภาควิชาเพื่อทราบ แล้วรายงานให้คณะฯทราบและพิจารณา
- ประชุมหลักสูตร หรือภาควิชา ร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป นำแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร
หมายเหตุ : ในบางกรณีอาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกประสบการณ์ภาคสนามอาจทำหน้าที่เป็น อาจารย์ที่ปรึกษาด้วย