การออกแบบอุปกรณ์เกษตร

Agricultural Equipment Design

1. เข้าใจหลักการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอุปกรณ์เกษตร ซึ่งจะใช้พื้นฐาน กระบวนการออกแบบวิศวกรรม กลศาสตร์วิศวกรรม กลศาสตร์วัสดุ พฤติกรรมและสมบัติเชิงกลของวัสดุ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
2. ประยุกต์ใช้ความรู้หรือหลักวิชาการในการออกแบบอุปกรณ์เกษตร ที่สามารถนำแบบไปทำให้เกิดขึ้นจริงในกระบวนการผลิตได้
3. มีทักษะในการออกแบบ ทั้งทักษะการร่างแบบ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและวิศวกรรม รวมไปถึงทักษะการเขียนแบบตามมาตรฐาน
4. มีเจตคติและจิตพิสัยที่ดีต่อการออกแบบวิศวกรรมที่เน้นการนำแบบไปทำให้เกิดขึ้นจริงในการผลิต
1. เพื่อให้เกิดการปรับปรุงจากประสบการณ์การจัดการการสอนที่ผ่านมา
2. เพื่อให้เกิดการปรับการเรียนการสอนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ศึกษาเกี่ยวกับ ขั้นตอนการออกแบบ สมบัติและการเลือกใช้วัสดุ คิเนเมติกส์ของกลไกและเครื่องจักรกล การวิเคราะห์ภาระสถิตและพลวัตทฤษฎีความเสียหาย ภาระการล้า การออกแบบรอยต่อ การออแบบระบบส่งกำลัง โครงการออกแบบอุปกรณ์เกษตร
Study of design process, material properties and selection, kinematics of mechanisms and machines, statics and dynamics load analysis, failure theories, fatigue load, design of joining, deigns of power transmissionsystem, agricultural equipment design project
8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนาและ/หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่ เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 7 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง7ข้อเพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆที่ศึกษารวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างน้อย7ข้อตามที่ระบุไว้ 2.1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2.1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 2.1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ นอกจากนั้นหลักสูตรวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพยังมีวิชาเกี่ยวกับจริยธรรมและกฎหมายเป็นวิชาบังคับอาจารย์ผู้สอนต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรมจริยธรรมทุกภาคการศึกษาซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อสอบอาจใช้การสังเกตพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมที่กำหนดมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษานักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มก่อนจบการศึกษา
2.1.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยนักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่นเป็นต้นนอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมเสียสละ
2.1.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียนการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 2.1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2.1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 2.1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ นักศึกษาด้องมีความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพมีคุณธรรมจริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคมดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ 2.2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงโดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆนอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่องตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.2.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆคือ 2.2.3.1 การทดสอบย่อย 2.2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 2.2.3.4 ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ 2.2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 2.2.3.6 ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษา
2.3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้วดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพในขณะที่สอนนักศึกษาอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผลเข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหาวิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเองไม่สอนในลักษณะท่องจำนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ 2.3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2.3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ การวัดมาตรฐานในข้อนี้สามารถทำได้โดยการออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกคำตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มาไม่ควรมีคำถามเกี่ยวกับนิยามต่างๆ
2.3.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 2.3.2.1 กรณีศึกษาทางการประยุกต์วิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ 2.3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม 2.3.2.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
2.3.3. กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาเช่นประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียนการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์เป็นต้น
2.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนคนที่มาจากสถาบันอื่นๆและคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชาหรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชาความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชาหรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้ 2.4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2.4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 2.4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
2.4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตรหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบดังนี้ 2.4.2.1 สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 2.4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 2.4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี 2.4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป 2.4.2.5 มีภาวะผู้นำ
2.4.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆและความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
2.5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2.5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 2.5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดมาตรฐานนี้อาจทำได้ในระหว่างการสอนโดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหาและให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหาผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพต่อนักศึกษาในชั้นเรียนอาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
2.5.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริงแล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
2.5.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง 2.5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
2.6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ดังข้อต่อไปนี้ 2.6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
2.6.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยดังข้อต่อไปนี้ 2.6.2.1 สร้างทักษะในการปฎิบัติงาน 2.6.2.2 สาธิตการปฎิบัติการโดยผู้เชียวชาญ 2.6.2.3 สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ กับหน่วยงานภายในและภายนอก 2.6.2.4 จัดนิทรรศกาลแสดงผลงานของนักศึกษา 2.6.2.5 สนับสนุนการทำโครงงาน 2.6.2.6 การฝึกงานทางวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
2.6.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 2.6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฎิบัติงาน 2.6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน 2.6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฎิบัติ 2.6.3.4 มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา 2.6.3.5 มีการประเมินนักศึกษาวิชาสหกิจศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1. Ugural, A. C., Mechanical Design: An Integrated Approach. USA. McGraw-Hill, 2004
2. Budynas, R. G. and Nisbett, K. J., Shigley's Mechanical Engineering Design. USA. McGraw-Hill, 2011
3. Juvinall, R. C. and Marshek, K. M., Fundamentals of Machine Component Design. USA. John Wiley & Sons, 2012
4. มานพ  ตันตระบัณฑิตย์, การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 1. กรุงเทพฯ. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2545
5. ธีรพล  เมธีกุล, วิธีฝึกเขียนรูปภาพงานช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2521
6. บรรเลง  ศรีนิล และ สมนึก  วัฒนศรียกุล, คู่มือตารางงานโลหะ. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2552
7. Krutz, G., Design of Agricultural Machinery. USA. John Wiley & Sons, 1984
1. คู่มือวิศวกรรมเครื่องกล
2. มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
1. คู่มือการใช้งานโปรแกรมช่วยในการออกแบบและเขียนแบบ
2. ความรู้เกี่ยวกับ Numerical Method, Finite Element Method, etc.
การประเมินดังกล่าวสามารถทำโดยการ 1.2.1 ประเมินโดยนักศึกษาตามระบบของมหาวิทยาลัย 1.2.2 ประเมินโดยนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการ 1.2.3 กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ในวิชาการและวิชาชีพ จัดทำแบบประเมิน และทำการประเมิน
การประเมินดังกล่าวสามารถทำโดยการ 1.2.1 ประเมินโดยนักศึกษาตามระบบของมหาวิทยาลัย 1.2.2 ประเมินโดยนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการ 1.2.3 กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ในวิชาการและวิชาชีพ จัดทำแบบประเมิน และทำการประเมิน
1. นำผลการประเมินการสอนของนักศึกษามาปรับปรุงการสอน และให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา แล้วนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการสอน
2.1 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา ให้กำหนดระบบการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องทำความเข้าใจตรงกันทั้งสถาบัน และนำไปดำเนินการจนบรรลุผลสัมฤทธิ์ ซึ่งผู้ประเมินภายนอกจะต้องสามารถตรวจสอบได้ การทวนสอบในระดับรายวิชาควรให้นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา มีคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมของข้อสอบให้เป็นไปตามแผนการสอน มีการประเมินข้อสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกการทวนสอบในระดับหลักสูตรสามารถทำได้โดยมีระบบประกันคุณภาพภายในสถาบันการศึกษาดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้และรายงานผล 2.2 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา การกำหนดกลวิธีการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ควรเน้นการทำวิจัยสัมฤทธิ์ผลของการประกอบอาชีพของบัณฑิต ที่ทำอย่างต่อเนื่องและนำผลวิจัยที่ได้ย้อนกลับมาปรับปรุงกระบวนการการเรียนการสอน และหลักสูตรแบบครบวงจร รวมทั้งการประเมินคุณภาพของหลักสูตรและหน่วยงานโดยองค์กรระดับสากล โดยการวิจัยอาจจะทำดำเนินการดังตัวอย่างต่อไปนี้ 2.2.1 ภาวการณ์ได้งานทำของบัณฑิต ประเมินจากบัณฑิตแต่ละรุ่นที่จบการศึกษา ในด้านของระยะเวลาในการหางานทำ ความเห็นต่อความรู้ ความสามารถ ความมั่นใจของบัณฑิตในการประกอบการงานอาชีพ 2.2.2 การตรวจสอบจากผู้ประกอบการ โดยการขอเข้าสัมภาษณ์ หรือ การส่งแบบสอบถาม เพื่อประเมินความพึงพอใจในบัณฑิตที่จบการศึกษาและเข้าทำงานในสถานประกอบการนั้น ๆ ในคาบระยะเวลาต่างๆ เช่น ปีที่1 ปีที่ 5 เป็นต้น 2.2.3 การประเมินตำแหน่ง และหรือความก้าวหน้าในสายงานของบัณฑิต 2.2.4 การประเมินจากสถานศึกษาอื่น โดยการส่งแบบสอบถาม หรือสอบถามเมื่อมีโอกาสในระดับความพึงพอใจในด้านความรู้ ความพร้อม และสมบัติด้านอื่น ๆ ของบัณฑิตจะจบการศึกษาและเข้าศึกษาเพื่อปริญญาที่สูงขึ้นในสถานศึกษานั้น ๆ 2.2.5 การประเมินจากบัณฑิตที่ไปประกอบอาชีพ ในแง่ของความพร้อมและความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนรวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่กำหนดในหลักสูตร ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพของบัณฑิต รวมทั้งเปิดโอกาสให้เสนอข้อคิดเห็นในการปรับหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นด้วย 2.2.6 ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ที่มาประเมินหลักสูตร หรือ เป็นอาจารย์พิเศษ ต่อความพร้อมของนักศึกษาในการเรียน และสมบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้ของนักศึกษา 2.2.7 ผลงานของนักศึกษาที่วัดเป็นรูปธรรมได้ซึ่ง อาทิ (ก) จำนวนโปรแกรมสำเร็จรูปที่พัฒนาเองและวางขาย, (ข) จำนานสิทธิบัตร, (ค) จำนวนรางวัลทางสังคมและวิชาชีพ, (ง) จำนวนกิจกรรมการกุศลเพื่อสังคมและประเทศชาติ, (จ) จำนวนกิจกรรมอาสาสมัครในองค์กรที่ทำประโยชน์ต่อสังคม
1. ทบทวนประสิทธิผลจากการจัดการเรียนการสอนแต่ละภาคเรียน แล้วนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2. เปรียบเทียบการสอนของสถาบันอื่นในหลักสูตรเดียวกัน แล้วนำมาปรับปรุงเนื้อหา การสอน 
3. ติดตามหลังจากผู้เรียนตอนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือสำเร็จการศึกษา แล้วนำผลมาปรับปรุงต่อไป