ฝึกงานทางวิชาชีพสัตวศาสตร์

Job Internship in Animal Science

เพื่อให้นักศึกษาฝึกงานด้านสัตวศาสตร์ในแขนงที่นักศึกษาสนใจ เป็นการฝึกงานในสถานประกอบการภายนอก จำนวนไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง เน้นการฝึกทักษะเฉพาะด้านในสาขาสัตวศาสตร์ โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน และการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน ผลการปฏิบัติงานภายหลังการฝึกงาน
เพื่อจัดการฝึกงานให้นักศึกษามีความรู้  ความสามารถ  และทักษะในการบูรณาการเทคโนโลยีทางสัตวศาสตร์เพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการด้านการผลิตสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย  และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ในฐานผู้ประกอบการ  นักวิชาการ หรือผู้จัดการฟาร์ม  และสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผลและ เป็นระบบ  มีคุณธรรม  จริยธรรม สำนึกในจรรยาบรรณของวิชาชีพที่ดี  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคมและเสริมสร้างเอกลักษณ์ไทย  มีทัศนคติและเจตคติที่ดี  ที่ดีต่อวิชาทางการเกษตร
ฝึกงานด้านสัตวศาสตร์ในแขนงที่นักศึกษาสนใจเป็นการฝึกงานในสถานประกอบการภายนอกซึ่งได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัย  เน้นการฝึกทักษะเฉพาะด้านในสาขาสัตวศาสตร์การวางงานและนำเสนอผลการปฏิบัติภายหลังการฝึกงาน
ตามความต้องการของนักศึกษารายบุคคล
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ข้อ 1.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 1.1.1, 1.1.2 และ 1.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
-  ปฐมนิเทศนักศึกษา  ด้านคุณธรรม  จริยธรรม ที่พึงปฏิบัติก่อนฝึกงาน
-  กำหนดให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
-  นักศึกษาบริหารตนเองให้เข้ากับกฎระเบียบของสถานที่ฝึกงานภายนอก
-  มอบหมายงานที่ต้องใช้ความพยายาม  ความอดทน
จากสมุดบันทึกการฝึกงานโดยมีผู้ควบคุมการฝึกเป็นผู้ให้คะแนนตามใบแบบฟอร์มที่ทางสาขากำหนดให้
จากการประเมินของหน่วยงาน
2.1.1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ  2.1.1, 2.1.2 และ 2.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
-  แผนกงานฟาร์มจัดเจ้าหน้าที่ประจำแผนกงานฟาร์มให้คำแนะนำการปฏิบัติงานตามหน้าที่มอบหมายเอกสารข้อมูลของแผนกงานฟาร์มให้ศึกษาด้วยตนเองแต่อยู่ในการกำกับดูแลของผู้ควบคุมการฝึก
-  ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเองภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ประจำแผนกงานฟาร์ม
-  นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตและการปฏิสัมพันธ์กับพนักงานประจำและการศึกษาเอกสารของแผนกงานฟาร์มในสถานประกอบการ
-  ประเมินโดยผู้ควบคุมการฝึกประจำแผนกงานฟาร์ม  จากสมุดบันทึกการฝึกงานของนักศึกษา โดยนักศึกษาจะต้องลง วัน เดือน ปี เวลามา เวลากลับ รายละเอียดของงานที่ปฏิบัติ
จากการประเมินของหน่วยงาน
3.1.1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ข้อ  3.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ  3.1.1 เป็นความรับผิดชอบรอง
-  การฝึกปฏิบัติจริง
-  การมอบหมายโจทย์ปัญหา
 
-  ประเมินโดยผู้ควบคุมการฝึกประจำแผนกงานฟาร์ม  จากการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการปฏิบัติงาน  และจากรายงานการฝึกงานคือสมุดบันทึกของแต่ละวัน
จากการประเมินของหน่วยงาน
4.1.1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ข้อ  4.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ  4.1.1, 4.1.3 และ 4.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
-  การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ  ของแผนกงานฟาร์ม
-  การฝึกงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
 
       - ประเมินพฤติกรรม จากการสังเกตและการสอบถามความคิดเห็นจากพนักงานผู้ร่วมงานอื่นๆ
 
5.1.1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา
อย่างเหมาะสม
5.1.3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ  5.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ  5.1.1 และ 5.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
-  การมอบหมายให้ฝึกแก้โจทย์ปัญหาการปฏิบัติงาน
-  กำหนดให้นำเสนอผลการแก้ปัญหาระหว่างการฝึกงาน ณ แผนกงานฟาร์ม และประสบการณ์การฝึกงานแบบปากเปล่า
-  กำหนดให้ส่งเอกสารรายงาน
-  การประเมินรายงาน  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3 ด้านทักษะทางปัญญา 4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1.1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.1.3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1.1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.1.2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 4.1.1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1.1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.1.2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม 5.1.3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 23029404 ฝึกงานทางวิชาชีพสัตวศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4, 2.1.2,2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 4.1.4 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 ผลการประเมินจากสถานประกอบการ และการนำเสนอผลการฝึกงาน 1-16 80 %
2 1.1.1, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2 สมุดบันทึกการฝึกงานและสอบถาม 17 20
จากแบบประเมินการฝึกงานโดยนักศึกษา
-  อาจารย์ประจำรายวิชาประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้งหมด  พร้อมทั้งผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่าง ๆ  ของนักศึกษา  ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้รับผิดชอบการฝึกจัดทำรายงานผลการดำเนินการดำเนินการฝึกงาน  รายงานต่ออาจารย์ประจำวิชา 
อาจารย์ประจำรายวิชา  บันทึกความคิดเห็นต่อการฝึกงาน  ในแบบฟอร์มที่สาขาวิชากำหนด  และจากอาจารย์นิเทศก์เยี่ยมนักศึกษาฝึกงานภายนอก
สถานประกอบการประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา รายงานให้กับอาจารย์ประจำรายวิชา 
ใช้แบบประเมินฯ
นำผลที่ได้วางแผนดำเนินการแก้ไขต่อไป