การบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Computer Network Administration

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

 
1.1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสามารถออกแบบ ระบบเครือข่ายเพื่อใช้ในองค์กรได้
1.2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่ายอาทิสวิทช์ชิ่ง , เมเนจสวิทชิ่ง , เราท์เตอร์, เกตเวย์และเครือข่ายระยะใกล้แบบไร้สาย
 
1.3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจฝึกปฏิบัติการติดตั้ง และตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้ทํางานตามสถานการณ์และความต้องการของระบบได้
2.1. ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ในองค์กร
 
2.2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และจําแนกการใช้อุปกรณ์เครือข่าย ให้เหมาะสมกับ ความต้องการของผู้ใช้และระบบได้
 
2.3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสังเคราะห์การปรับตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่ายให้สามารถทํางานได้ ตรงตามความต้องการของระบบได้

 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการติดตั้งและกำหนดค่าทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ การค้นหาเส้นทาง การจัดสรรหมายเลขไอพีแบบคงที่และแบบพลวัต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย ระบบความปลอดภัยในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การออกแบบช่องทางการสื่อสารชนิดส่วนบุคคล และการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับองค์กรแบบต่าง ๆ
Study and practice computer network installation and setup with various applications, routing, static and dynamic IP address, wireless network, computer network security, virtual private network design and application of computer network in various types of organizations.
3.1 ทุกวันทำการ เวลา 15.00 - 16.30 น.
 
3.2 e-mail : rung@rmutl.ac.th เวลา 15.00 - 17.00 น. ทุกวัน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์   เช่น ระบบเครือข่ายตามบริษัทเอกชน สถานประกอบการ แล้วนำมาออกแบบการทำงานเป็นประสบการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และผู้เขียนโปรแกรม อภิปรายกลุ่ม/ทำงานเดี่ยว/กลุ่ม หรือ ทำงานรายบุคคลตามใบงาน

กำหนดให้นักศึกษาออกแบบระบบเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากโปรแกรมที่นักศึกษาเขียนขึ้นตามแนวคิด

  ประเมินผลการนำเสนอตามใบงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ การออกแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการติดตั้งและกำหนดค่าทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ การค้นหาเส้นทาง การจัดสรรหมายเลขไอพีแบบคงที่และแบบพลวัต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย ระบบความปลอดภัยในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การออกแบบช่องทางการสื่อสารชนิดส่วนบุคคล และการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับองค์กรแบบต่าง ๆ
บรรยาย  อภิปราย ฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอใบงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานระบบเครือข่ายตามที่มอบหมายหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปเป็นโปรแกรมและนำเสนอ โดยเป็นโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางปฏิบัติงานออกแบบและทฤษฏีเนื้อหา
2.3.2 ประเมินจากการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมาย และนำเสนอผลการทำงานของระบบเครือข่ายจากกรณีศึกษาที่นักศึกษาค้นคว้าและสร้างเอง หรือมีโจทย์จาก Problem – based Learning จากชีวิตประจำวัน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน มีการวิเคราะห์แนวคิดอย่างมีขั้นตอนตามมาตรฐานการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้อง
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่าง
                        สร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
       เหมาะสม
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาออกแบบระบบงานที่ได้ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากการที่นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง และนำเสนอผลงานของตนเอง
3.2.2 อภิปรายลักษณะงานระบบเครือข่าย
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติและการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยออกใน
รูปแบบผลงานนักศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริง
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการออกแบบ แนวคิดแก้ปัญหาของระบบเครือข่าย 
3.3.2 วัดผลจากการประเมินงานการออกแบบการแก้ไขปัญหาในระบบเครือข่าย  การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติงาน
             4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
          4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
          4..1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
          4..1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อม
ทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
          4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
คุณสมบัติต่างๆนี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
 
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การทำใบงาน และวิเคราะห์โจทย์ออกแบบได้ ทั้งตัวอย่างในชีวิตประจำวันนำมาแก้ปัญหาและใช้งานได้จริงได้
4.2.3   การนำเสนอผลงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานของนักศึกษา
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
 5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
      5..1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
      5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
      5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสร้างโปรแกรมตามแนวคิดมาเป็นรูปแบบผลงานซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์  และทำรายงานรูปเล่มรวบรวมผลงานโดยเน้นการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชิงบริหารจัดการให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานสาขาทางคอมพิวเตอร์
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน ผลงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีนำเสนอตามผลงานในลักษณะงานของนักศึกษา
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย  วิธีการตอบ และการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมและจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT604 การบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 4.1.4 , 4.1.5 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน 1-15 ทุกสัปดาห์ 10%
2 1.1.5 , 1.1.6 การทดสอบย่อย 2-3 ครั้ง 4,6,10 20%
3 2.1.1-2.1.8 3.1.1-3.1.4 5.1.1 , 5.1.4 การสอบกลางภาค การนําเสนองาน/การรายงาน การสอบปลายภาค 8 14 16 20% 30% 20%
เอกสิทธิ์วิริยจารี.เรียนรู้ระบบเน็ตเวิร์กจากอุปกรณ์ของ Cisco ภาคปฏิบัติ.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น 2548.
 
สมเกียรติรุ่งเรื่องลดา. คู่มือดูแลระบบ Network ฉบับมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น 2552.
 
- อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ
 
            24 Ports Managed Switching Layer 2-3
            Router
            Gateway Controller
            Wireless-Lan Router
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ