อาหารเสริมสุขภาพ

Functional Foods

1.1 มีความรู้ความเข้าใจ ความหมายและความสำคัญของอาหารเสริมสุขภาพ การจำแนกประเภทของอาหารเสริมสุขภาพ รวมถึงแนวโน้มการตลาดของอุตสาหกรรมอาหารเสริมสุขภาพได้
1.2 มีความรู้ความเข้าใจ อาหารมังสวิรัติและชีวจิตอาหารพลังงานต่ำ/อาหารลดพลังงาน อาหารที่มีส่วนประกอบของPrebiotic และ Probioticอาหารสำหรับบุคคลพิเศษ/ ผู้ป่วยเฉพาะโรค ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
มีการปรับปรุงเนื้อหา โดยอาศัยข้อมูลการค้นพบใหม่ๆ การวิจัยใหม่ๆ เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน
คำจำกัดความ บทบาทและความสำคัญของอาหารเสริมสุขภาพ การตลาดของอุตสาหกรรมอาหารเสริมสุขภาพ การจำแนกประเภทของอาหารเสริมสุขภาพ อาหารมังสวิรัติและชีวจิตอาหารพลังงานต่ำ/อาหารลดพลังงาน อาหารที่มีส่วนประกอบของ Prebiotic และ Probiotic อาหารสำหรับบุคคลพิเศษ/ ผู้ป่วยเฉพาะโรค ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร,
Definition, roles and importance of functional foods; marketing of functional foods industry; characterization of functional foods; vegetarian and organic food; low calorie food/ reduced energy food; prebiotic and probiotic foods; food for special conditions person / patients with specific diseases; dietary supplements
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
          3.1 เข้าพบปรึกษาโดยตรง วันพุธ พฤหัส เวลา 16.30 - 17.30 น.
- ห้องพักอาจารย์ โทร.055-298438 ต่อ 2210 (พิษณุโลก)
- ห้องพักอาจารย์ อาคารโรงนม โทร. 081-1657784 (ลำปาง)
- ห้องพักอาจารย์ โทร 0897867588
         3.2  ช่องทางออนไลน์
          e-mail; surinipo@gmail.com เวลา 19.00 – 20.00 น. วันจันทร์ถึงพฤหัส
e-mail; jirarattim@hotmail.com , facebook : Agro-Industry Nan ทุกวัน
e-mail; wannam14@hotmail.com ทุกวัน
e-mail; enjoy44303413@hotmail.com ทุกวัน
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- การถามตอบ (Questioning)
- การบูรณาการ (Integration)
- การอภิปรายเพื่อสะท้อนความคิด (Reflective Discussion) โดยให้นักศึกษามีอิสระในการแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการสะท้อนความคิดของตนเองจากสิ่งที่เรียนรู้ เช่น สอดแทรกเรื่องคุณธรรม และจริยธรรม สอดแทรกเรื่องความซื่อสัตย์ ไม่กระทำการทุจริตยกตัวอย่างเช่น การสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น
- การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
- บทบาทสมมติ (Role Play)
เช่น การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม ให้ฝึกความรับผิดชอบในการทำงาน การเสียสละ เรียนรู้บทบาทการเป็นสมาชิกกลุ่ม รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิก
ประเมินจากการสังเกต และสอบถามสมาชิกในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายงาน จากการสอบถามนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มและสังเกต จากกระบวนการทำงาน ประเมินจากชิ้นงานหรือรายงานที่ให้นักศึกษาส่งงาน เรื่องการคัดลอกงาน ประเมินจากจำนวนครั้งที่นักศึกษาทีถูกร้องเรียนเรื่องการกระทำทุจริต
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1. ระหว่างการบรรยาย มีการแทรกการถามตอบระหว่างการสอน ให้นักศึกษาช่วยกันอภิปราย
2. สอนปฏิบัติโดยให้นักศึกษาฝึกการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการทดลอง
3. การศึกษาดูงานในสถานประกอบการ เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาความรู้ให้มากขึ้น
- กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
- การสอนคอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted instruction-CAI)
1. มอบหมายงาน ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยี ความก้าวหน้างานวิจัย/บทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา รวบรวมข้อมูลคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา สรุปสาระสำคัญและนำเสนอผล
2. ให้นักศึกษานำเสนองานโดยอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายงานของนักศึกษา
1.ประเมินจากเนื้อหาและความถูกต้องของรายงานที่นักศึกษานำเสนอ
2.ประเมินจากการตอบคำถาม
3.ประเมินจากเหตุผลและความถูกต้องของศาสตร์วิชาที่นักศึกษาใช้อธิบายและอ้างอิง
3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่นๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์
3.3 สามารถใช้ทักษะความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัยและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
- การสาธิต (Demonstration)
- การแก้ปัญหา (Problem-solving)
- กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
- การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
- การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
 
1. มอบหมายงาน ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยี ความก้าวหน้างานวิจัย/บทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา รวบรวมข้อมูลคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา สรุปสาระสำคัญและนำเสนอผล
2. ฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ผลการทดลอง วิจารณ์และสรุปผล นำเสนอผลการทดลอง
1. ประเมินจากผลงาน ประเมินจากเนื้อหาและความถูกต้องของรายงานที่นักศึกษานำเสนอ
4.1  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเอง และรับผิดชอบในงานกลุ่ม
4.2  สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.4  สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งตนเองและทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
- การอภิปรายเพื่อสะท้อนความคิด (Reflective Discussion)
- การแก้ปัญหา (Problem-solving)
- การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small-Group Discussion)
- การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
1. มอบหมายให้งานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม ให้อิสระนักศึกษาในการกำหนดหัวหน้ากลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม
2. การสอนโดยกำหนดให้มีการส่งรายงานผลการทดลองทุกสัปดาห์ เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1. ประเมินจากการสังเกต พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการเตรียมงาน ระหว่างการทำงาน
2. ประเมินจากผลงานหรือชิ้นงานที่ส่ง
5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งของมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆได้อย่างเหมาะสม
5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
- กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
- การสอนคอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted instruction-CAI)
- การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
1. มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต จากฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
2. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นและเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงการแสดงการอ้างอิงข้อมูลที่เหมาะสม
1. ประเมินความถูกต้อง เหมาะสมของข้อมูลและแหล่งที่มา
2. ประเมินจากปริมาณการอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิคจากข้อมูลที่นักศึกษาสามารถสืบค้นมา
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT129 อาหารเสริมสุขภาพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 4.1 - ประเมินผลงานรายบุคคล หรือรายกลุ่ม - บันทึกเข้าเรียนและการมีส่วนร่วม - การสังเกตพฤติกรรมและประเมินการปฏิบัติงาน - การสังเกตการทำงานกลุ่ม 1-15 10%
2 2.1,2.3 - การสอบภาคทฤษฎีรายหน่วย 1-15 50%
3 2.3, 3.1, 4.1, 5.1 - รายงานผลการปฏิบัติการ - การสังเกตพฤติกรรมและประเมินการปฏิบัติงาน - การสังเกตการทำงานกลุ่ม 1-15 25%
4 1.3, 2.3, 3.1, 4.1, 5.1 - ประเมินผลงานรายบุคคล หรือรายกลุ่ม จากการทำงานมอบหมาย 16-17 15%
กองการแพทย์ทางเลือก. 2550.  อาหารแมคโครไบโอติกส์ ธรรมชาติบำบัด-สุขภาพ ด้วยการแพทย์แบบผสมผสาน. กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
พัทธนันท์ ศรีม่วง.  2555.  อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนบําบัด. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  ม.ป.ป.  อาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ.  แหล่งที่มา : http://resource.thaihealth.or.th/library/11758
เวปไซต์ต่างๆ เช่น www.sciencedirect.com
www.ift.org/cms
www.thaifoodscience.com
www.fostat.org/index.php
www.foodsciencetoday.com
www.nfi.or.th/index.asp
www.foodfocusthailand.com/home.php
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ผู้สอนจัดได้ชี้แจงแบบประเมินทางออนไลน์ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา หลังจากที่ได้ศึกษารายวิชาจนครบ 16 สัปดาห์ โดยให้นักศึกษาประเมินหลังจากการสอบปลายภาค ว่านักศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ประโยชน์ ที่นักศึกษาได้รับ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะจากนักศึกษา เพื่อการปรับปรุงรายวิชา
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ผู้สอน ร่วมกันประเมินการสอน โดยประเมินจากนักศึกษา สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอน และสภาพแวดล้อมระหว่างการเรียนการสอน โดยประเมินจากกระบวนการสอน ผลที่เกิดกับนักศึกษา หลังจากสอบปลายภาค
การสอนถูกปรับปรุงโดยนำข้อมูลจากการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาและการประเมินการสอน ข้อมูลที่นักศึกษาประเมิน ข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากงานวิจัยข้อมูลจากการฝึกอบรมต่าง ข้อมูลจาก มคอ.5 จากปีการศึกษาที่ผ่านมา หรือคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนในรายวิชา มาปรับปรุงเนื้อหาภาคทฤษฎี บทปฏิบัติการ และวิธีการสอนให้สามารถสอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
คณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการจากนักศึกษา คะแนนสอบของนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา และปัญหาที่นักศึกษาเข้าปรึกษากับอาจารย์ โดยอาจารย์ผู้สอนนำข้อมูลดังกล่าวเข้าขอคำปรึกษาภายในที่ประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรท่านอื่นๆ เพื่อร่วมกันแนะนำแนวทาง วิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหา อีกทั้งยังนำข้อมูลดังกล่าวไปทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้  หากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจะนำเสนอในที่ประชุมภาควิชาฯ เพื่อพิจารณาต่อไป