เครื่องยนต์สันดาปภายใน

Internal Combustion Engines

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟและเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยการอัด  1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการผสมและการจ่ายเชื้อเพลิง  1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการสันดาปและระบบจุดระเบิด 1.4 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับวัฎจักรอากาศมาตรฐานทางอุดมคติที่ใช้เชื้อเพลิงอากาศเป็นสารตัวกลาง  1.5 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการซุปเปอร์ชาร์จ การกวาดล้างไอเสีย และระบบการหล่อลื่น 1.6 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะของเครื่องยนต์และการทดสอบ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจคุณลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายใน เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาคุณลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งเครื่องยนต์ที่จุดระเบิด ด้วยประกายไฟและเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยการอัด การผสม และการจ่าย เชื้อเพลิง การสันดาป ระบบจุดระเบิด วัฎจักรอากาศมาตรฐานทางอุดมคติที่ใช้ เชื้อเพลิงอากาศเป็นสารตัวกลาง การซุปเปอร์ชาร์ทและการกวาดล้างไอเสีย ระบบ การหล่อลื่นสมรรถนะของเครื่องยนต์และการทดสอบการกวาดล้างไอเสีย ระบบการ หล่อลื่นสมรรถนะของเครื่องยนต์และการทดสอบ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์สาขาวิชา  -   อาจารย์ประจำรายวิชาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1  ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้ 1.1.1  แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.1.2  สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู 1.1.3  แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี 1.1.4  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
 
1.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1.2.1  กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดีเช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาการแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย 1.2.2  กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มโดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มการเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.2.3  สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชาในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น 1.2.4  จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะเช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1.3.1  ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.3.2  ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน 1.3.3  ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการและการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น 1.3.4  ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษา ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้ 2.1.1  มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ 2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ 2.1.3  สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
2.2 วิธีการสอน
2.2.1  เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง 2.2.2  ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการรวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ 2.2.3  ส่งเสริมและชี้แนะการบูรณาการนำความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆเพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสมตลอดจนการฝึกงานในสถานประกอบการ และปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
2.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้ 2.3.1  ประเมินผลตลอดภาคเรียน 2.3.2  ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย 2.3.3  ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการ 2.3.4  ประเมินผลจากการฝึกงานในสถานประกอบการ 2.3.5  ประเมินผลจากการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี้ 3.1.1  มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม 3.1.2  มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1  ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 3.2.2  ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1  ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.3.2  ประเมินผลจาการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 3.3.3  ประเมินผลจากการอธิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมี ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้ 4.1.1  แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ 4.1.2  แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม 4.1.3  สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีมช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 4.1.4  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
4.2.1  ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2.2  ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ 4.2.3  กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีมช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 4.2.4  ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
4.3.1  ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.3.2  ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ 4.3.3  ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย 4.3.4  ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้ 5.1.1  มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติคณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียนอันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว 5.1.2  สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.1.3  สามารถสนทนาเขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1  ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5.2.2  วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร 5.2.3  นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1  ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร 5.3.2  ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย 5.3.3  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน 5.3.4  จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 30% 30%
2 1.1, 4.1 ส่งการบ้านที่ได้รับมอบหมาย การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15% 15%
3 1.1, 4.1, 5.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
อุตส่าห์  จิรากร และเชื้อ  ชูขำ ,  เครื่องยนต์สันดาปภายใน . กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น , 2545     ประเสริฐ  เทียนนิมิตร และคณะ , ทฤษฎี และ การคำนวณ เทอร์โมไดนามิกส์ . กรุงเทพฯ:ซีเอ็ด      ยูเคชั่น, 2541
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   ปรับปรุงเนื้อหาและเทคนิคการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ใช้ความรู้เหล่านั้นกับปัญหาต่าง ๆ