การอ่านเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์

Critical and Analytical Reading

เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักงานเขียนประเภทต่างๆ สามารถเลือกอ่านตามความสนใจ เกิดความรักในการอ่าน เพิ่มพูนความรู้และทักษะการวิเคราะห์ แยกแยะเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 
เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักงานเขียนประเภทต่างๆ สามารถเข้าใจประเภทต่างๆของงานเขียน จุดประสงค์ของงานเขียน เพิ่มพูนทักษะด้านการวิเคราะห์และวิจารณ์เพื่อปรับใช้ในการอ่านได้
อธิบายลักษณะงานเขียนประเภทต่างๆ
เข้าใจหลักการวิเคราะห์และวิจารณ์งานเขียน
อ่านและวิจารณ์งานเขียนที่เลือกตามความสนใจ
ประเมินคุณค่าของงานเขียนที่อ่าน
การอ่านงานเขียนประเภทต่างๆที่ผู้เรียนสนใจ เกิดความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เฉพาะรายที่ต้องการ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดขอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ให้นักศึกษาทำงานที่มอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
 
สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในชั้นเรียน
การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการอ่านกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามความสนใจของผู้เรียน
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่างๆ แล้วให้ทบทวนความเข้าใจตามกิจกรรมที่กำหนด
ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
ให้นักศึกษาเลือกอ่านงานเขียนตามความสนสจ
การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
การวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนที่นักศึกษาเลือกอ่าน
การนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการอ่าน มาปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์โดย
ให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนรายบุคคลแล้วนำเสนอในชั้นเรียน
ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะให้แก่กัน
การทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมายและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้ และมีความเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกันของกลุ่ม
จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
ประเมินผลจากการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
พัฒนาให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการอธิบาย และแสดงความคิดเห็นได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและวัฒนธรรมสากล
ให้นักศึกษานำเสนอผลการอ่านในชั้นเรียนและอภิปรายแสดงความคิดเห็น
ประเมินจากการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-2 สอบกลางภาค 9 15%
2 หน่วยที่ 3 สอบปลายภาค 17 15%
3 หน่วยที่ 1-3 แบบฝึกหัด กิจกรรม งานมอบหมาย การอ่านและนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 60 %
4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชา การอ่านเพื่อวิเคราะห์และวิจารณ์
Blanchare, K and Root, C. 20058. Ready to Read Now.NY:Pearson Education, Inc.
Green, C.2005. Creative Reading. Mcmillan Publishers Ltd.
Mather, P & McCarthy, R. 2005. The Art of Critical Reading.NY: Mc Graw-Hill, Inc.
Wiener H.S. and Bazerman C..2006.Basic Reading Skills Handbook.6th Edition.New York:Pearson Educatiow
web site ต่างๆที่เกี่ยวข้อ
หนังสือ / เอกสารที่นักศึกษาเลือกอ่านตามความสนใจ
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ
การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขา / หัวหน้าสาขา / ผู้ที่คณะมอบหมาย
ผลการเรียนของนักศึกษา
การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือ หัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนน ภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชา ทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผมลัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์