ปฏิบัติงานฝึกฝีมือวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

Electronic Engineering Basic Skill

เพื่อให้นักศึกษา

เห็นความสำคัญในการปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนระบบความปลอดภัย สามารถใช้เครื่องมือช่างเทคนิคพื้นฐานและเครื่องมือช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าเข้ากับวงจรหรืออุปกรณืไฟฟ้าได้ สามารถต่อใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับได้ สามารถต่อใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามรูปวงจรกำหนดได้ สามารถผลิดแผ่น PCB ได้ สามารถบัดกรีอุปกรณ์ลงแผ่น PCB ได้ สามารถวัดและทดสอบการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานฝึกฝีมือพื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์
        เพื่อให้รายวิชานี้สามารถส่งเสริมและฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถเกี่ยวกับเครื่องมือขนาดเล็ก คุณสมบัติและการใช้งานโลหะทั่วๆไป  เครื่องมือปรับแต่งพื้นฐาน  ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  แหล่งกำเนิดไฟฟ้า  วงจรไฟฟ้า  การควบคุมมอเตอร์  หม้อแปลงไฟฟ้า   รีเลย์  การใช้มัลติมิเตอร์  ออสซิลโลสโคป  เครื่องกำเนิดสัญญาณ  วิธีการผลิตแผ่น PCB เบื้องต้น  กรรมวิธีของการบัดกรี  การทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น อย่างแท้จริงโดยเน้นการเรียนการสอนที่ฝึกปฏิบัติจริง
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องมือขนาดเล็ก คุณสมบัติและการใช้งานโลหะทั่วๆไป  เครื่องมือปรับแต่งพื้นฐาน  ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  แหล่งกำเนิดไฟฟ้า  วงจรไฟฟ้า  การควบคุมมอเตอร์  หม้อแปลงไฟฟ้า   รีเลย์  การใช้มัลติมิเตอร์  ออสซิลโลสโคป  เครื่องกำเนิดสัญญาณ  วิธีการผลิตแผ่น PCB เบื้องต้น  กรรมวิธีของการบัดกรี  การทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
ใช้เวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียนและนอกห้องเรียนตามโอกาสของนักศึกษา ไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนเนื่องจากบริบทของผู้สอนและผู้เรียนพบเจอกันตลอดในระหว่างมีการเรียนการสอน
        พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรมจริยธรรมโดยอิงจากประสบการณ์ที่พบเห็นจากการวัดผลการทำงานเป็นทีมในการค้นคว้าข้อมูลมานำเสนอ
        1.1.1  คุณภาพของงาน : ความถูกต้องในคุณภาพของการบ้าน  งาน  ประสิทธิภาพการเรียน ความรู้ความเข้าใจในหลักและวิธีการปฏิบัติในหน้าที่นักศึกษา
        1.1.2  ปริมาณของงาน : จำนวนผลงานที่ทำได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด การคำนึงถึงการใช้จ่ายทรัพยากร อุปกรณ์ในการทำงาน
        1.1.3  การมาเรียน : การมาเรียน การตรงเวลา การขาด  ลา สาย ป่วย และความสม่ำเสมอในการมาเรียน
        1.1.4  ระเบียบวินัย : ปฏิบัติตนตามระเบียบวินัยข้อบังคับ เชื่อฟัง ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์รายวิชา สาขา และมหาวิทยาลัย
        1.1.5  การให้ความร่วมมือ : การประสานงาน ความร่วมมือกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และผู้เกี่ยวข้อง การเชื่อฟังหัวหน้าห้อง การเรียนรู้ และความสามารถในการควบคุมอารมณ์
1.2.1  บรรยายยกตัวอย่างเรื่องเล่าที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมร่วมในการจัดการเรียนการสอน
             1.2.2  สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด การแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
             1.2.3   ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรมกับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
1.3.1   มีการให้คะแนนการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน
             1.3.2   หากมีการกระทำทุจริตในการสอบถูกตัดคะแนน
            1.3.3   มีการให้คะแนนคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษาและการมีจรรยาบรรณในการอ้างอิงที่ไปที่มาของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน
เกิดทักษะในการปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องมือขนาดเล็ก คุณสมบัติและการใช้งานโลหะทั่วๆไป  เครื่องมือปรับแต่งพื้นฐาน  ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  แหล่งกำเนิดไฟฟ้า  วงจรไฟฟ้า  การควบคุมมอเตอร์  หม้อแปลงไฟฟ้า   รีเลย์  การใช้มัลติมิเตอร์  ออสซิลโลสโคป  เครื่องกำเนิดสัญญาณ  วิธีการผลิตแผ่น PCB เบื้องต้น  กรรมวิธีของการบัดกรี  การทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
ในรายวิชานี้การสอนความรู้ในลักษณะเชิงหัวงานโดยสอดแทรกกับการปฏิบัติ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้สอนสามารถใช้กลวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่เห็นว่าเหมาะสมกับเนื้อหาและเรื่องที่จะทำการสอนในแต่ละสัปดาห์รวมถึงพิจารณาจากสภาพผู้เรียน ห้องเรียน และ สื่อ
2.3.1   ใช้แบบใบงานการปฏิบัติงาน  ผลงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3.2   จากคะแนนประเมินจากการทำงานและการนำเสนอ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และ บูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1   ให้ผู้เรียนนำความรู้ ข้อมูลจากการค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการเตรียมการของการทำใบงาน
            3.2.2     มีการมอบหมายงานให้ค้นหาข้อมูลมานำเสนอ
3.3. เน้นทักษะการทำงานจริง บูรณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชา
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.3   วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน
3.3.4   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและ
 4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4   พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5   พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6   พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          5.1.7  พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   สังเกตทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ใบงาน ตลอดภาคการศึกษา 70%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 4.6,5.3-5.4 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
-
-
-
ใช้การประเมินประสิทธิผลรายวิชาที่ได้จากนักศึกษาผ่านแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บ ของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  คือ ใช้ผลการผลการเรียนของนักศึกษาหลังจากสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ว่ามีการกระจายคะแนนดีหรือไม่
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน หาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน พัฒนาสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนและพัฒนาเทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบปฏิบัติ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้จากคะแนนสอบและเกรด
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  คือ  ปรับปรุงรายวิชาทุก ๆ ภาคเรียน หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4