ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sufficiency Economy to Sustainable Development

1. เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. เข้าใจพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่มีต่อการพัฒนา
3. เข้าใจหลักธรรมาภิบาล
4. ประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
5. เห็นคุณค่าของการดำรงชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพในการจัดการกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยฝึกให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์
สังเคราะห์โดยผ่านกิจกรรมหรือกรณีศึกษาทีมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
2.เพื่อให้นักศึกษารู้จักการใช้ชีวิตด้วยความพอเพียงในสังคมเมืองและรู้จักปรับตัวในยุคโลกาภิวัฒน์แห่งการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการนำแนวคิดและวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลต้นแบบไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
อีกทั้งตระหนักถึงความประหยัดและอดออม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต
ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ หลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน ภูมิปัญญาไทย การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- ติดต่ออาจารย์ผู้สอนทางอีเมลล์ หรือโทรศัพท์มือถือ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่มีต่อการพัฒนา เข้าใจหลักธรรมาภิบาลและแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเห็นคุณค่าของการดำรงชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยนักศึกษา ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- อภิปรายกลุ่มเรื่องการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การจัดทำโครงการ นิทรรศการ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- กิจกรรม “บัญชีรายรับราย-จ่ายหรือบันทึกพอเพียงของนักศึกษา”
- การศึกษาบุคคล / ชุมชนต้นแบบ ที่ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สังเกตการเข้าเรียนตรงเวลา มีความรับผิดชอบ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- สังเกตการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
- ประเมินผลจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายหรือบันทึกพอเพียงของนักศึกษา
-ประเมินผลโครงการและนิทรรศการ
-ประเมินจาก รายงานผลการศึกษาบุคคล ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ เข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในส่วนของทฤษฏีและศึกษาจากประสบการณ์จริงของบุคคลหรือชุมชนที่ทำเกษตรกรรมทฤษฏีใหม่ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท เข้าใจหลักธรรมาภิบาลและแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืน มีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเห็นคุณค่าของการดำรงชีวิต โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
สอนแบบบรรยายและเน้นการทำกิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อรู้การใช้จ่ายของตนเอง ฝึกการออม โดยใช้การสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนจากประสบการณ์จริง
-สังเกตการทำงานกลุ่ม การนำเสนอในชั้นเรียน
-การแสดงความคิดเห็น การซักถามในชั้นเรียน
-สังเกตการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวัน
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การสอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงจากบุคคลหรือชุมชนต้นแบบ ที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การออมการทำบัญชีรายรับรายจ่าย การรวมกลุ่มกันสร้างความเข้มแข็งในชุมชน การฝึกคิดวิเคราะห์แบบโยนิโสมนสิการเพื่อทันต่อโลกโลกาภิวัตน์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การมีภูมิคุ้มกันที่ดี เข้าใจหลักธรรมาภิบาลและการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง สมดุลและยั่งยืน
-ให้นักศึกษาทัศนศึกษาหรือดูงานบุคคลหรือชุมชนต้นแบบที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ
-ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนหรือบุคคลต้นแบบ และนำเสนอผลการศึกษา โดยส่งรูปเล่มรายงานก่อน 1 สัปดาห์
-นำเสนอผลการศึกษาในรูป Power point
-สังเกตการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
-สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
-ประเมินจากบัญชีรายรับรายจ่ายหรือบันทึกพอเพียง
-การนำเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนและการศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบุคคลต้นแบบ
4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
การสอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงจากบุคคลหรือชุมชนต้นแบบที่ดำเนินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษาต้องรู้จักการออมและทำบัญชีรายรับรายจ่าย การรวมกลุ่มกันสร้างความเข้มแข็งในชุมชน การฝึกคิดวิเคราะห์แบบโยนิโสมนสิการ เพื่อทันต่อโลกาภิวัตน์ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การมีภูมิคุ้มกันที่ดี เข้าใจหลักการธรรมาภิบาล เพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
-บรรยายและเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
- อภิปรายกรณีศึกษา
-จัดโครงการ/นิทรรศการบุคคลต้นแบบและชุมชนพอเพียง
- สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดโครงการ/นิทรรศการ
- สังเกตการมีส่วนร่วมการอภิปรายกรณีศึกษา
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
วิชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจากการข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์และหนังสือพิมพ์อิเลคทรอนิกส์พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่างๆ
- ใช้การสอนแบบบรรยายและให้ดูตัวอย่างจากคลิปวีดีโอ
- ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาจากเว็บไซด์
- การวิเคราะห์บัญชีรายรับรายจ่าย
- ประเมินผลจากรูปแบบการนำเสนอและการรายงานผลการศึกษา การสืบค้นข้อมูล
- ตรวจบัญชีรายรับรายจ่ายของนักศึกษาที่สรุปเรียบร้อยแล้ว
- สังเกตการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการอภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษาหนังสั้นและคลิปวิดีโอ
-
-
-
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
- เอกสารประกอบการสอน รายวิชา “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” คณาจารย์แผนกสังคมศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
-สรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม.เศรษฐกิจพอเพียง: พื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, กรุงเทพฯ: เพชรรุ่งการพิมพ์, 2544.154 หน้า.
-สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง.แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้น สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2550.320หน้า.
-อุดมพร อมรธรรม.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว,กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2549.136 หน้า.
-ภานุ พรปรีดา.ชีวิตพอเพียง เสบียงตลอดชีพ,กรุงเทพฯ:มายิก สำนักพิมพ์.222 หน้า.
-สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.เศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สงคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน.กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2540.197 หน้า.
-จรัญ จันทลักขณา.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขมวลชนและการเกษตรยั่งยืน.กรุงเทพฯ:เสริมมิตร, 2549.137หน้า
-สุนทร กุลวัฒนาวรพงศ์.ตามรอยพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง-ทฤษฎีใหม่.กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น,2544.192หน้า
-กระทรวงศึกษาธิการ.ทฤษฏีใหม่ในหลวงชีวิตที่พอเพียง.กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน2542.277หน้า.
-ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ .สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ.กรุงเทพฯ: วีพริ้น(1991),2552.176หน้า.- เว็บไซด์โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง http://www.sufficiencyeconomy.org
- เว็บไซด์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th
-เว็บไซด์ SOCIAL SCIENCE โดย ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์ http://www.socialcience.igetweb.com
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา
-นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เนตของมหาวิทยาลัย
-นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
- นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆที่สอดแทรกในบทเรียน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
-สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียน การอภิปราย และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
-ประเมินจากผลการนำเสนอผลงานโครงการและนิทรรศการ
- ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้คือ
-ปรับเอกสาร-สื่อประกอบการสอน และกรณีศึกษาให้มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
-ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ตำรา และแหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
-สนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
- จัดประชุมหารือคณาจารย์ผู้สอน เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
- นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
- ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจการบันทึกรายรับรายจ่าย บันทึกพอเพียง และการจัดทำโครงการ/นิทรรศการ
ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าอย่างไร โดยแจ้งผลคะแนนเป็นระยะ
อย่างต่อเนื่อง
-วิชานี้ต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 2 ปี
-เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจพอเพียง มาถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับนักศึกษา และพานักศึกษาออกไปทัศนศึกษาประสบการจริงจากการนำปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน