สถิติศาสตร์สำหรับการวิจัยทางพืช

Statistics for Plant Research

1) เทคนิคการวางแผนงานวิจัย แผนการทดลองชนิดต่างๆ ที่ใช้สำหรับงานวิจัยประเภทบล็อกไม่สมบูรณ์ การวิเคราะห์ประเภทต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ความแปรปรวนรวม (combined analysis) path-coefficient analysis การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression) การวิเคราะห์การรวมกลุ่ม (cluster analysis)
2) เพื่อให้ผู้เรียนตัดสินใจเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติการใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติ การแปลความหมาย และรายงานผลการวิเคราะห์
1) นักศึกษาสามารถพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ด้านสถิติและการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการปรับปรุงพันธุ์และผลิตพืชได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
2) เนื่องจากองค์ความรู้ด้านสถิติสำหรับพืชศาสตร์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงเพิ่มการศึกษาผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
เทคนิคการวางแผนงานวิจัย แผนการทดลองชนิดต่าง ๆที่ใช้สำหรับงานวิจัยประเภทบล็อคไม่สมบูรณ์ การวิเคราะห์ประเภทต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ความแปรปรวนรวม(combined analysis) path-coefficient analysis การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression) การวิเคราะห์การรวมกลุ่ม (cluster analysis)การตัดสินใจเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติการใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติการแปลความหมายและรายงานผลการวิเคราะห์
Experimental design techniques, incomplete block design, combined analysis, path-coefficient analysis, multiple regression, cluster analysis, statistic packages and analysis results interpretation and report.
-
™ 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
˜ 1.2 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
˜ 1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
™ 1.4 สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่ซับซ้อนโดยสามารถวางแผนจัดลำดับความสำคัญได้
™1.5 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
™ 1.6 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1. ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียน
2. ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
3. อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
1. การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
2. ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆ ในรายวิชา
3. นักศึกษาประเมินตนเอง
˜ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหา
˜ 2.2 สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีความรู้ ความเข้าใจ เข้ากับงานวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง
š 2.3 สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
š 2.4 มีความรู้และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมของระดับชาติและนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อวิชาชีพ
1. ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการทำแบบฝึกหัด โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม
2. การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning)
3. การสอนแบบศึกษาด้วยตนเองศึกษาจากหนังสือ ตำรา และสื่อสารสนเทศ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้มา สรุป อภิปราย มีการทำรายงานเป็นรายบุคคล และการนำเสนอรายงานสัมมนา พร้อมตอบข้อซักถามได้
1. การเรียนรู้ทฤษฎีและการปฏิบัติการสอดคล้องกับบทเรียน
2. มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด
˜ 3.1 มีทักษะในการนำความรู้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
š 3.2 สามารถพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยบูรณาการความรู้ที่ศึกษาตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัยในสาขากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
2. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
3. การสอนแบบบรรยาย ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาและความสำคัญของหัวข้อที่นักศึกษาสนใจศึกษา และระดมสมองในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
ประเมินจากรายงานและการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน เป็นรายบุคคล
˜ 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
š 4.2 สามารถแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพที่มีความซับซ้อนหรือความยุ่งยากระดับสูงได้ด้วยตนเองสามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเอง
˜ 4.3 สามารถประเมินตนเองได้รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้
˜ 4.4 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นหมู่คณะรวมทั้งแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
š 4.5 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1.การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ
1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
˜ 5.1 ทักษะในการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าสรุปและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜ 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
˜ 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยและต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
2. การสอนแบบบรรยายร่วมกับการทำแบบฝึกหัด
1. ความก้าวหน้าของผลงานเขียนทางวิชาการที่ค้นคว้าที่ให้ปฏิบัติตามหัวข้อในแผนการสอน
การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติการเขียนรายงานและนำเสนอรายงานสัมมนาวิชาการแบบปากเปล่า
ส่งรายงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 – 1.4,2.1 -2.4,3.1 -3.2 การสอบกลางภาค 9 30 %
2 ข้อที่ 2 - 6 รายงานการปฏิบัติการ 1-17 20 %
3 1.1, 2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบปลายภาค 17 30 %
4 1.1,1.4 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-17 10 %
5 1.3, 1.4,4.3 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-17 5 %
6 4.1,4.2,4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 1-17 5 %
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2552. การวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายตัวแปรด้วย SPSS for Window.
โรงพิมพ์ธรรมสาร กรุงเทพฯ. 281 น.
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2553. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5 โรงพิมพ์ธรรมสาร กรุงเทพฯ. 316 น.
ทรงศิริ แต้สมบัติ. 2541. การวิเคราะห์การถดถอย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
247 น.
Brewbaker James L. 2003. EXPERIMENTAL DESIGN ON A SPREADSHEET (v.3, 2003.
The University of Hawai, USA. 173 pp.
Clewer Alan G. and David H. Scarisbrick. 2001. Practical Statistics and Experimental Design
Plant and Crop Science. John Wiley & Sons
Kwanchai A. Gomez and Arturo A. Gomez. 1984. Statistical Procedures for Agricultural
Research. 2 nd Edition John Wiley & Sons . 680 p.
Manjit S. Kang. 2003. Handbook of Formulas and Software for Plant Geneticists and
Breeders. Food Products Press. 347 p.
Mead Roger, Robert N. Curnow and Anne N. Hasted. 2003. Statistical Methods in
Agriculture and Experimental Biology, Third Edition. CRC Press. 472 p.
Oehlert, GaryW. 2.010. A First Course in Design and Analysis of Experiments.
University of Minnesota. 679 p.
Russel Freed. 1986. MSTAT Version 4.00/EM. Michigan State University.
https://www.msu.edu/~freed/disks.htm
คำสำคัญ Agricultural Statistic , Field plot technique
คำสำคัญ หนังสือสถิติของ กัลยา วานิชย์บัญชา Agricultural Statistic , Field plot technique
Breeding Management System
https://www.integratedbreeding.net/breeding-management-system
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมใน และนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน หรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา หรือ การสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ. กำหนดเมื่อสอนจบภาคการศึกษา และมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขาวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและ กลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป