การศึกษาค้นคว้าอิสระ

Independent Study

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกาหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้เตรียมความพร้อมสู่การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถสื่อสารและการนาเสนอ (Communication and Presentation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนาความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการการถ่ายทอด / สื่อสารความหมาย / แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนาเสนอที่เหมาะสม หลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้นักศึกษานำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำ / ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ (Public Service)
เพื่อปรับปรุงสาระและการจัดการการเรียนการสอนของรายวิชาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ปัญหา อย่างเป็นระบบ วางแผนการศึกษาแนวทางแก้ปัญหา สรุป ตัดสินใจ บนพื้นฐานของความรู้ เหตุผล และข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เกิดความเข้าใจในการวิเคราะห์ วิจารณ์ และสามารถเรียบเรียง แล้วนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของเอกสาร และการเสวนาวิชาการ
ทำการทดลองหรือรวบรวมข้อมูลในหัวข้อวิชาการด้านพืชศาสตร์ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ แปลผล และวิจารณ์ผลเพื่อสังเคราะห์เป็นรายงานเชิงวิทยาศาสตร์
1 ชั่วโมง
1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
  1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
  1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา เคารพกฎระเบียบ และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
  1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
2. มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละคน เพื่อให้มีการฝึกฝนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขเมื่อพบข้อขัดแย้งจากการทำงาน  ร่วมกัน
3.สอบย่อยเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. เช็คชื่อการเข้าเรียน
ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ตามกำหนดที่ให้และตรงเวลา
2. ส่งรายงานมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.ประเมินผลการเรียนรู้จากการสอบวัดผล
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและแนวทางปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
  2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละคน ได้ทำการวิเคราะห์ สรุปเนื้อหา
แลทำเพื่อให้มีการฝึกฝนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
2.   มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่มโดยให้ทำการค้นคว้าเนื้อหาที่ได้เรียนเพิ่มเติม
3. มีการทดสอบโดยให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดหลังจากเรียน และมีการสอบย่อยเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
  3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. บรรยายยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ความรู้ทางการวิจัย
2.   ให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นหลังการบรรยาย
3. ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มในหัวข้อที่กำหนด
1. การนำเสนอหน้าชั้นเรียน และการร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้องเรียน
  4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
  4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. กำหนดงานให้ทำเป็นกลุ่มโดยให้ปรึกษา แบ่งงานกันทำ และนำเสนอทุกคน 
1. ประเมินตนเองและเพื่อนจากกระบวนการทำงาน
2. กรรมการทำงานเป็นทีม และผลงานที่ทำเป็นกลุ่ม สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
  5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
  5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธภาพ
1. มอบหมายงานการค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต รวมถึงการส่งงาน ติดต่อการเรียนการสอน ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์
2. ตรวจสอบการพูดภาษาไทย อังกฤษให้ถูกต้องเมื่อมีการใช้ในชั้นเรียน
1. ตรวจงานที่มอบหมาย  รวมไปถึงการสังเกตพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการค้นคว้าข้อมูล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะหืเชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 MSCPT601 การศึกษาค้นคว้าอิสระ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบกลางภาค 8 30%
2 2.1,3.2,4.1,4.2, 4.3,5.1,5.2,5.3 รายงานกลุ่ม 7 และ 16 25%
3 1.1, 2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบปลายภาค 16 30%
4 1.1,1.4 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-15 5%
5 1.3,4.3 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 5%
6 4.1,4.2,4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 8,15 5%
ตำราประกอบการสอน/หนังสือประกอบการสอน (ต้องการให้ห้องสมุดใช้สำหรับจัดซื้อหนังสือ)
วารสารทางวิชาการ ตำรา เอกสารวิชาการ รายงานวิจัย ฐานข้อมูลทางวิชาการ โปรแกรมสถิติต่างๆ แหล่งข้อมูลอื่นๆ
การสืบค้นข้อมูลผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ โดยคำแนะนำของอาจารย์
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชาด้วยการประเมินการจัดการเรียนการสอนประจำภาคเรียน และการประเมินผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา
- หลักสูตรกําหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา และจัดทํารายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากําหนดทุกภาคการศึกษา
- กําหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทําวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา
- มีการประชุมอาจารย์ผู้สอนของหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
หลักสูตรมีคณะกรรมการประเมินการสอนทําหน้าที่ทบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนนของรายวิชา ภายในรอบเวลาของหลักสูตร
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของหลักสูตรการรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน ภายหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนําเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสําหรับใช้ในภาคการศึกษาถัดไป