สัมมนาการบัญชีการเงิน

Seminar in Financial Accounting

1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถอภิปรายและวิเคราะห์แนวทางการนำแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านบัญชีการเงินสำหรับองค์กรประเภทต่างๆ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถอภิปรายและวิเคราะห์ประเด็นทางด้านบัญชีการเงินที่น่าสนใจ รวมทั้งปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงินและจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความ เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.3 เพื่อฝึกนักศึกษาให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
2.1 เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ศึกษาเป็นแนวทางด้านการบัญชีการเงินสำหรับองค์กรต่างๆ ให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน
2.2 เพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในอนาคตโดยประยุกต์กับการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงอยู่เสมอ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการบัญชีการเงินที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย และหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
2.3 เพื่อให้นักศึกษาตระหนักในความสำคัญและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
อภิปรายและวิเคราะห์แนวทางการนำแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านบัญชีการเงินสำหรับองค์กรประเภทต่างๆ ประเด็นทางด้านบัญชีการเงินที่น่าสนใจ
รวมทั้งปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงินและจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อฝึกให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line group และ Messenger
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่มตามความต้องการ 5-10 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะกลุ่มหรือรายบุคคลที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
1.2.2 ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย
1.2.3 การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษาต่างๆ
1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทัน ตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกลุ่ม
1.3.3 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางการนำแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงานบัญชีการเงินสำหรับองค์กรประเภทต่างๆ
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาในกรณีศึกษาทางบัญชีการเงิน
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จาก ประสบการณ์
2.1.5 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1 ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นการอภิปราย วิเคราะห์ แนวทางการประยุกต์ใช้ แม่บทการบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
โดยการสอนแบบบรรยาย และอภิปราย การสอนแบบเน้นกรณีศึกษาและแนว ทางการแก้ไขปัญหา
2.2.2 การถาม-ตอบ ปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
2.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
2.2.4 การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงและจากวิทยากรผู้เชียวชาญจากภายนอก และการศึกษาดูงาน ในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย รายงานการค้นคว้า และการ นำเสนอ
2.3.2 การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้เชิงวิชาการ
2.3.3 การประเมินความพึงพอใจที่ได้รับจากการจัดทำโครงการสัมมนาทางวิชาการ 2.3.4 การประเมินความพึงพอใจที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทาง วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ
อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.1.4 สามารถรับฟังความคิดเห็นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.2.2 จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และ สังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3.2.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิเห็นได้มากขึ้น
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ ได้รับมอบหมาย
3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3.3.3 ประเมินจากรายงายผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.3.4 ประเมินผลจากการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์การแก้ไข ปัญหากรณีศึกษาทางบัญชีการเงิน
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไข ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.2.3 ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ แบบเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
4.2.4 มอบหมายงานกลุ่มให้จัดทำโครงการสัมมนาและการศึกษาดูงาน
4.3.1 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงาน ที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
4.3.3 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
4.3.4 ประเมินการประสานงานและความพึงพอใจของการจัดงานตามโครงการสัมมนา หรือ การศึกษาดูงาน
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปล ความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการ นำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม ข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
5.2.3 ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบ รายงาน
5.2.4 มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอ ผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5.3.2 ประเมินจากการสอบข้อเขียน
5.3.3 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็น รายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 11011499 สัมมนาการบัญชีการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 17 15% 15%
2 2,3,4,5 การนำเสนอข้อมูลกรณีศึกษาต่างๆ ด้วยการเขียนและเรียบเรียงในรายงาน และการนำเสนองานด้วยวาจา ตามสัปดาห์ที่กำหนด 60%
3 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ตลอดภาคการศึกษา 10%
- รายงานการเงินและการวิเคราะห์
- การบัญชีชั้นกลาง 1 / การบัญชีสินทรัพย์ - การบัญชีชั้นกลาง 2 / การบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ
- การบัญชีชั้นสูง 2
- การบัญชีต้นทุน
- ทฤษฎีการบัญชี
- การสอบบัญชี
- มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับต่างๆ
- ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
- การควบคุมและตรวจสอบภายใน
ฯลฯ
กรณีศึกษาทางการบัญชีการเงิน / กรณีศึกษาทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ
เอกสาร บทความ จากเว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น
- http://www.fap.or.th
- www.nukbunchee.com
- www.set.or.th
- www.bot.or.th
- http://www.jap.tbs.tu.ac.th/index.php
- เวปไซต์ของธุรกิจประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าอิสระ ฯลฯ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนจากอาจารย์ผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การศึกษาค้นคว้าในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ