เคมีอาหาร 1

Food Chemistry 1

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 สามารถอธิบาย และจำแนกโครงสร้างองค์ประกอบของอาหารแต่ละชนิดได้
1.2 มีความเข้าใจในหลักการด้านงานวิเคราะห์องค์ประกอบของอาหาร และมีทักษะการปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบของอาหารได้
1.3 สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงกลไกของปฏิกิริยาที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และชีวเคมีของแต่ละองค์ประกอบของอาหาร และการแปรรูปอาหารได้
1.4 สามารถวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางป้องกันปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และชีวเคมีที่สำคัญจากขบวนการแปรรูปอาหารได้
จากภาคการศึกษา 1/2562 ที่ผ่านมาผู้สอนได้มีข้อเสนอแนะใน มคอ.5 1/2562 เกี่ยวกับการปรับปรุงการสอนสำหรับนักศึกษาที่น้อย จึงทำให้นักศึกษาไม่กล้าแสดงออก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษามีดังนี้
1) เน้นรูปแบบการสอนที่เหมาะกับนักศึกษาจำนวนน้อย ในลักษณะเป็นการเสวนา โดยอาจารย์ผู้สอนเปิดโอกาสให้มีการพูดคุย การถาม-ตอบ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาภายในห้องเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการใช้ภาษา การใช้ความคิดของผู้เรียน 2) อาจารย์จะร่วมทำบทปฏิบัติการกับนักศึกษาเพื่อเน้นทักษะการปฏิบัติให้เป็นไปตามปรัชญาของคณะฯ และได้ทำหนังสือขอความร่วมมือกับโรงงานอุตสาหกรรมในการสาธิตบทปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมีอาหารให้ผู้เรียนเห็นสภาพการทำงานจริงกับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่ทันสมัยในระดับอุตสาหกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของวิชาเคมีอาหาร 3) นอกจากนี้ได้จัดให้มีการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อฝึกทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการเขียน การอ่าน และทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน
ศึกษาโครงสร้างและหลักการวิเคราะห์ทางเคมีของน้ำ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ รงควัตถุ กลิ่นรสอาหาร ระบบอิมัลชันและคอลลอยด์ตลอดจนกลไกของปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีวเคมีขององค์ประกอบของอาหารและการแปรรูป
Study of structures of food constituents: water, protein, carbohydrate, fat and oil, mineral and vitamin, pigment and flavor; principal of food analysis; food emulsion system; the chemical mechanisms that affect chemical and biochemical change of food and food products.
จัดให้นิสิตพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
3.1 วันพุธ พฤหัส เวลา 16.30 - 17.30 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โทร.055-298438 ต่อ 2210
3.2 e-mail; wannapa.noo15@gmail.com เวลา 19.00 – 20.00 น. วันจันทร์ถึงพฤหัส
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
1. อาจารย์ยกกรณีศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดชอบด้านการใช้เคมีอาหารตามมาตรฐาน และให้นักศึกษาหาข้อมูล นำเสนอโดยการพูดคุย โดยฝึกความรับผิดชอบในการทำงาน ปลูกฝังจรรยาบรรณด้านการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในอาหาร
2. ระหว่างการสอน และการนำเสนออาจารย์ผู้สอนได้สอดแทรกการประพฤติตัวที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์
1. ประเมินโดยการสังเกตจากการแสดงออกของนักศึกษาที่เข้าชั้นเรียน และ ทัศนคติที่พูดคุยกันและพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน
2. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรียน การทำข้อสอบ การทำงานและสอบถามจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
1. การบรรยายให้ความรู้ด้านทฤษฎี
2. ตั้งทำถามระหว่างการสอน ให้นักศึกษาช่วยกันอภิปรายเพื่อทดสอบความเข้าใจของนักศึกษาระหว่างเรียน โดยใช้ความรู้ด้านหลักการของเคมีอาหาร จึงทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์และนักศึกษาระหว่างการสอน
3.ด้านหลักการปฏิบัติได้ให้คู่มือปฏิบัติการกับนักศึกษาต้นภาคการศึกษาให้นักศึกษาทำความเข้าใจกับบทปฏิบัติการล่วงหน้าก่อนทำปฏิบัติการ และให้นักศึกษานำเสนอวิธีปฏิบัติการร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในคาบปฏิบัติการ จากนั้นให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการทุกคน และจัดทำรายงานการปฏิบัติการส่งหลังคาบปฏิบัติการ โดยนักศึกษาฝึกการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการทดลองอาจารย์ผู้สอนทำการตรวจและมีการอธิบายเพิ้มเติมเป็นรายบุคคลเมื่อนักศึกษามีปัญหา
1. ประเมินจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
2. ประเมินจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินงานคะแนนสอบ
3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
 
1. สอนโดยให้นักศึกษาฝึกทักษะในภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ด้านเคมีอาหาร โดยให้นักศึกษาต้องปฏิบัติจริงทุกคน
1. ประเมินจากการสังเกตความถูกต้องระหว่างการปฏิบัติของนักศึกษา
2. ประเมินจากการทดสอบภาคปฏิบัติหรือการนำเสนอผลงานภาคปฏิบัติ
4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเอง
1. มอบหมายให้งานให้นักศึกษาทำมีทั้งงานเดี่ยว และเป็นกลุ่ม ให้อิสระนักศึกษาในการกำหนดเวลาการส่งงาน
1. ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงอกของนักศึกษาในการเตรียมงาน ระหว่างการทำงาน
และการนำเสนองาน
2. ความตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการส่งงาน และการเข้าเรียน
5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
1. มีการสอนสถิติพื้นฐานเพื่อใช้ในการคำนวณในส่วนของผลการทดลอง เช่น ค่า Mean, ค่า SD และการคำนวณเพื่อสร้างกราฟมาตรฐานใน Excel พร้อมทั้งการแปลความหมายและการคำนวณกลับเพื่อให้ได้ปริมาณสารที่ต้องการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง
2. ให้นักศึกษาฝึกคำนวณจากผลการทดลองของนักศึกษาที่ได้จากคาบปฏิบัติการแต่ละคน และวิเคราะห์แปลความหมายของผลการวิเคราะห์พร้อมทั้งวิจารณ์ผล
1. ประเมินจากความถูกต้องของการทำการทดลอง การคำนวณ การแปลผลของนักศึกษา
2. ประเมินจากความสามารถแก้ปัญหาของนักศึกษา
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. จัดสรรเวลาการสอนทั้งภาคบรรยาย และปฏิบัติให้ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดบทลงโทษของการไม่ตรงต่อเวลาให้ชัดเจน
2. แบ่งกลุ่มในภาคปฏิบัติ ให้นักศึกษาใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเคมีอาหาร
1. ประเมินจากการเข้าเรียนตรงเวลาของนักศึกษา
2. ประเมินจากความสามารถในการปฏิบัติได้ ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้ของนักศึกษา
3. ประเมินจากการสังเกตการเอาใจใส่ในการใช้เครื่องมือและดูแลการใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและสร้างสรรค์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2 ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3
1 BSCFT008 เคมีอาหาร 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) 1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต 6. ด้านทักษะพิสัย(Psychomotor Skill) 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ - จำนวนครั้งการเข้าเรียนต้องเกิน 80% - การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน - คะแนนการร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย 1-15 10 %
2 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา - การสอบภาคทฤษฎีหรือภาควิชาการ 2-14 40 %
3 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเอง และรับผิดชอบในงานกลุ่ม 4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ - การทดลองในห้องปฏิบัติการทางเคมีอาหารและการรายงานผลการทดลองในภาคปฏิบัติ 1-14 30 %
4 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเอง และรับผิดชอบในงานกลุ่ม 4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ - การนำเสนองานจากการค้นคว้าจากบทความทางวิชาการ/การรายงานผลงานมอบหมายภาคทฤษฎี 15 20 %
สุริยาพร นิพรรัมย์. 2559. เอกสารประกอบบรรยายรายวิชา BSCFT008  เคมีอาหาร 1 (power point และเอกสารประกอบ)
Akoh, C. C., & Min, D. B. (2008). Food lipids: chemistry, nutrition, and biotechnology. CRC Press.
Belitz, H.D., Grosch, W. and Schieberle, P. (2009). Food Chemistry. 4th Edition, Springer-Verlag, Berlin, 1070 p.
Schramm, L. L. (2006). Emulsions, foams, and suspensions: fundamentals and applications. John Wiley & Sons.
Wrolstad, R. E., Decker, E. A., Schwartz, S. J., & Sporns, P. (2005). Handbook of food analytical chemistry, water, proteins, enzymes, lipids, and carbohydrates. John Wiley & Sons.
คณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. (2539). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. คณะอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 504 หน้า.
นิธิยา รัตนาปนนท์. (2539). เคมีอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. คณะอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 340 หน้า
www.fda.moph.go.th
http://www.fda.gov
 
www.sciencedirect.com
www.ift.org/cms
www.thaifoodscience.com
www.fostat.org/index.php
www.foodsciencetoday.com
www.nfi.or.th/index.asp
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การสอนถูกประเมินโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน นักศึกษาประเมินผ่านระบบการประเมินของมหาวิทยาลัย และผู้สอนประเมินโดยการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
การสอนถูกปรับปรุงโดยนำข้อมูลด้านวิชาจากที่เป็นข้อมูลใหม่ ข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากงานวิจัยข้อมูลจากการฝึกอบรมต่าง ข้อมูลที่นักศึกษาประเมิน ข้อมูลจาก มคอ.5 จากปีการศึกษาที่ผ่านมาและคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนรายวิชาเคมีอาหาร มาปรับปรุงเนื้อหา บทปฏิบัติการ และวิธีการสอนให้สามารถสอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา ความรู้ที่เปลี่ยนไปให้ดียิ่งขึ้น
ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา โดยให้นักศึกษาประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยใช้แบบประเมินในรายวิชาเคมีอาหาร 1 และมีคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาอาจารย์ผู้สอนวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์และจัดทำข้อมูลใน มคอ.5
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการจากนักศึกษา  คะแนนสอบของนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา และปัญหาที่นักศึกษาเข้าปรึกษากับอาจารย์ โดยอาจารย์ผู้สอนนำข้อมูลดังกล่าวเข้าขอคำปรึกษาภายในที่ประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรท่านอื่นๆ เพื่อร่วมกันแนะนำแนวทาง วิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหา อีกทั้งยังนำข้อมูลดังกล่าวไปทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้  หากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจะนำเสนอในที่ประชุมภาควิชาฯ เพื่อพิจารณาต่อไป