วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

Introduction to Environmental Engineering

ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยมีความเข้าใจถึงการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มนุษย์ สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนและสงบสุข
นำเสนอเทคโนโลยีทางด้านสมาร์ทโฮม โดยใช้หลักการโปรแกรมแนวคิด IOT เพื่อรักษาสมดุลย์ทางสิ่งแวดล้อม
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยมีความเข้าใจถึงการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มนุษย์ สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนและสงบสุข
อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นกลุ่มหรือเฉพาะรายตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยการกําหนดเวลาร่วมกับระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบ และเคารพกฎระเบียบ ตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้ 1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.3 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฟ้งให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบันฯ นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทํางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่นอาจารย์ผู้สอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทําดีเสียสละ ทําประโยชนแก่ส่วนรว
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้มอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ตามมาตรฐานความต้องการดังต่อไปนี้ 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สําคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 2.1.3 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
บรรยายเป็นแบบคําสั่งภาษาคอมพิวเตอร์อธิบายการทํางานของอัลกอริทึม เพื่อใช้แก้ปัญหาโจทย์ทางคณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ให้นักศึกษาทําแบบฝึกหัดใบงาน การวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฎี 2.3.2 การทําแบบฝึกหัดหรือใบงานตามที่มอบหมาย
เน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจํา นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ 3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 3.1.2 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 ยกตัวอย่าง ถาม-ตอบ ประยุกต์ใช้อัลกอริทึมเทคนิคในการเขียนโปรแกรม 3.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาทําแล้วนําเสนอผลงาน อภิปรายกลุ่ม 3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ทางคณิตศาสตร์
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์แนวคิดในการออกแบบอัลกอริทึม ประยุกต์ใช้คําสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ และประยุกต์ใช้อัลกอริทึมเพื่อการเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาโจทย์ทางคณิตศาสตร์ 3.3.2 ประเมินจากการนําเสนอผลงานที่มอบหมาย 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและ/หรือรายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมและประยุกต์ใช้อัลกอริทึม แล้วให้มีการนําเสนอผลงาน
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทํางาน และความรับผิดชอบ 4.3.2 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จําเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทํางานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.1.2 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ โดยสืบค้นอัลกอริทึมมาประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรม แล้วนําเสนอเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.2 เรียนผ่านสื่อระบบ E- Learning หรือคนคว้าศึกษาข้อมูลในอินเตอรเพิ่มเติมส่งแบบฝึกหัด และสนทนาซักถามในระบบ รวมถึงการใช้อีเมล์ในการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์
5.3.1 การนําเสนอผลการศึกษาค้นคว้า 5.3.2 การส่งแบบฝึกหัดครบถ้วน ตรงตามกำหนด
เน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดังข้อต่อไปนี้ 6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในค้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างประสิทธิภาพ
ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
สังเกตขั้นตอนปฏิบัติงานและความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 5 6 7 1 4 6 8 3 4 5 3
1 32090003 วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค จากระดับคะแนนการสอบกลางภาคเต็ม 100 คะแนน 9 20%
2 สอบปลายภาค จากระดับคะแนนการสอบปลายภาคเต็ม 100 คะแนน 17 20%
3 การเข้าชั้นเรียนและนำเสนอหน้าชั้นเรียน สังเกตการให้ความร่วมมือในชั้นเรียน การเช็คชื่อ ตลอดสัปดาห์ที่เข้าเรียน 10%
4 ส่งโครงงานบ้านสมาร์ทโฮมที่ ประยุกต์ใช้บอร์ดคิดส์ไบร์ทในการควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆของบ้านเช่น ไฟสองสว่าง น้ำ อุณภูมิ ความชื้น เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คะแนนจากตัวโครงงาน แบ่งงานในลักษณะกลุ่ม ตลอดสัปดาห์ที่เข้าเรียน 50%
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชาทำได้โดยแบบประเมินเนื้อหาวิชาและประเมินผู้สอน ใช้รูปแบบการประเมินออนไลน์ของมหาวิทยาลัยที่ออกแบบสำหรับการประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนขอเสนอแนะผ่านเว็ปบอร์ด หรือระบบ e-learning ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ทำได้โดยการประเมินโดยคณาจารย์ในสาขาวิชาฯ ผลการสอบของนักศึกษา ผลการประเมินเนื้อหาวิชา ประเมินผู้สอนที่ทำโดยนักศึกษาผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยฯ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 สามารถนำมาปรับปรุงการสอน เช่น  การทำงานเดี่ยว/คู่/กลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตั้งใจเรียน การปรับเนื้อหาในบางหัวข้อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ นอกจากนี้อาจมีการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เป็นต้น
กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา ทำได้โดย การทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาฯ โดยมีการประเมินข้อสอบและการฝึกคณาจารย์ในการให้คะแนนการเขียนหรือออกแบบอัลกอริทึม เพื่อให้มีความเหมาะสมของการให้คะแนน
จากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาและโดยคณาจารย์ของสาขาวิชาฯ การรายงานรายวิชาของอาจารย์รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้รับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาวิชาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนารายละเอียดวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมพิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงรายวิชาสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป