เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น

Introduction to Ceramics

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาตำหนิบนผลิตภัณฑ์เซรามิกที่เกิดจากวัตถุดิบและกระบวนการผลิต สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาตำหนินั้นได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับตำหนิบนผลิตภัณฑ์เซรามิก ปัจจัยที่ทำให้เกิดตำหนิ และกระบวนแก้ไขตำหนิ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงงานอุตสาหกรรม และยังสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวโน้มและความเคลื่อนไหวของหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา การพัฒนาวัตถุดิบและกระบวนการผลิต การสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ใช้ในกระบวนการผลิตหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาประเภทเครื่องประดับ ของที่ระลึก และของตกแต่ง และการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาประเภทเครื่องประดับ ของที่ระลึก และของตกแต่ง
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
วิธีการสอน
ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
1.3.1 ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในปัญหาตำหนิในวัตถุดิบ และกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ปัญหา การป้องกันและแก้ไขปัญหาตำหนิ การตรวจสอบและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เซรามิก การคัดแยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์เซรามิก
บรรยาย ยกตัวอย่าง และปฏิบัติงานโครงงาน Problem – based Learning
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 BTECE105 เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 20% 15%
หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
1. ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. เซรามิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักโอเดียนสโตร์,2539
2. ดรุณี วัฒนศิริเวช และสุธี วัฒนศิริเวช. การวิเคราะห์แร่ดิน เคลือบ และตำหนิในผลิตภัณฑ์เซรามิก. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
3. ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2537.
4. ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2541.
5. ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. สีเซรามิก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2546.
6. ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. ตำหนิและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2552.
7. ไพบูลย์ หล้าสมศรี. เคลือบสีแดงจากทองแดง : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2552.
8. “วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ”, ปี 43 ฉบับที่ 137 มกราคม 2538, หน้า 3 – 4.
9. เอ็ททสึโซะ คาโต. หลักการทำเคลือบเซรามิก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
10. Creber D., (1997), “Crystalline Glazes”, A&C Black (Publishers) Limited, 43-50.
11. Lawrence W.G., (1972), “Ceramic Science for the Potter”, United States of Amerlica, 142-168.
12. Mills M., (2008) “Surface Design for Ceramics”, New York, 96-104.
13. Norsker H. and Danisch J. (1993) “Glazes-for the Self-Reliant Potter”.
14. Kingery W.D., Bowen H.K. and Uhlmann D.R., (1976), “Introduction to ceramics”, 2nd ed, New York : John Wiley
and Sons Press, 587-593, 816-909.
15. Tristram F., (1996), “Single Firing”, A&C Black (Publishers) Limited.
 
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
ไม่มี
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการทำรายงาน
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
 
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 
3. การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
 
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์