การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล

Design of Machine Elements

เข้าใจขั้นตอนในการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล คำนวณค่าตัวประกอบความปลอดภัยและการเลือกใช้ เข้าใจคุณสมบัติทางโลหะวิทยาและทางกลของวัสดุ คำนวณแรงและความเค้นที่เกิดขึ้น เมื่อชิ้นส่วนอยู่ภายใต้แรงชนิดต่าง ๆ เข้าใจหลักการทำงานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เข้าใจการส่งถ่ายกำลังของชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในงานผลิต เข้าใจการเลือกใช้วัสดุในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เข้าใจการเลือกใช้ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลมาตรฐานให้เหมาะสมกับงาน
1. เข้าใจความหมายของปรัชญาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
2. อธิบายการวิเคราะห์ความแข็งแรงในชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
3. เข้าใจการส่งถ่ายกำลังของเครื่องจักรกล
4. เข้าใจการคำนวณออกแบบชิ้นส่วนและแสดงแบบรายละเอียดชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
5. เข้าใจการเลือกใช้วัสดุในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามมาตรฐานสากล
6. วิเคราะห์กลไกการเคลื่อนไหว ความเร็ว ความเร่ง และสภาวะสมดุล
7. เห็นคุณค่าและมีทัศนคติทีดีในการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
ศึกษาถึงขั้นตอนการออกแบบ ค่าตัวประกอบความปลอดภัย คุณสมบัติทางโลหะวิทยาและทางกลของวัสดุ การวิเคราะห์แรงและความเค้นที่เกิดขึ้นเมื่อชิ้นส่วนที่อยู่ภายใต้แรงชนิดต่างๆ โดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเช่น วงกลมโมร์ ทฤษฎีความเสียหาย ทฤษฎีความเค้นสูงสุด การคำนวณ การออกแบบเพลา ลิ่ม สไปลน์ คับปลิ้ง แบริ่ง เฟือง หมุดย้ำ รอยเชื่อม และอื่นๆ การส่งถ่ายกำลังของชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในงานผลิต การกำหนอและการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานตลอดจนเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานให้เหาะสมกับงานนั้นๆ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นวิศวกรอุตสาหการจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่ เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้

เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1 บรรยายเนื้อหาความสำคัญของรายวิชาพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิชาชีพในองค์กรและสังคม
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและ

ปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ

สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการ

ประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม

สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไข

ปัญหาในงานจริงได้
                  2.2.1  บรรยายและมอบหมายงานให้นักศึกษาตามเงือนไขวิชา
                  2.2.2  ให้นักศึกษาทำโครงงานด้านการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
                  2.2.3  ศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรพิเศษ
การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้

ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
บรรยายถามตอบ แสดงตัวอย่างในการออกแบบ วิเคราะห์ คำนวณ และการกำหนดวัสดุ ให้ทำงานกลุ่มในหัวข้อการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามที่นักศึกษาต้องการ   ให้นักศึกษาปฏิบัติการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
                  3.3.1    การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
                  3.3.2    ประเมินผลจางานที่มอบหมาย
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
            4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว
            และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้
            ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
           4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้อง
           กับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
           4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล
           และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี
           ประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
           4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษา
           สภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 มีการให้งานทำในลักษณะกลุ่ม
4.2.2 นักศึกษาที่เรียนรู้ได้เร็ว ช่วยอธิบายเทคนิค ช่วยเหลือให้เพื่อน
4.2.3 การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทันในเวลาที่กำหนด
4.3.1 การสังเกต
4.3.2 ความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
             5.1.2มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
             5.1.3สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
            5.1.4มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
            5.1.5สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 ฝึกให้นักศึกษาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
5.2.2 นักศึกษาสามารถส่งงานและนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากผลงานของนักศึกษา
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความ
ร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน
6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3.1 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด
6.3.2 มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE219 การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ณรงค์ วรงค์เกรียงไกร การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เล่ม 1 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ 2533 วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์ ชาญ ถนัดงาน การออกแบบเครื่องจักรกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 2522 ศุภชัย ตระกุลทรัพย์ทวี ; การออกแบบเครื่องกลและชิ้นส่วนเครื่องจักร1 :ซีเอ็ดยูเคชั้น จำกัด ,กรุงเทพฯ 2547 Robert L. Mott; Machine Elements in Mechanical Design;Fourth Edition in SI Units: Prentice Hall ,Singapore 2004 Allen S.Hall Alfred R.Holowenko and Herman G. Laughlin;Machine Design: Schaum’s Outline Series McGraw-Hill,New York,1961 Erik Oberg and F.D. Jones ; Machinery’s Handbook: New York 1946

Chris McCauley; Machinery’s Handbook 26th  Industrial Press, Inc.New York, 20002.
http://www.link.com/pdfs/lms8-2.pdf http://www.engineersedge.com/rivet_application.htm http://www.sacskyranch.com/mechanic_contents.htm http://www.tribology-abc.com http://www.mech.uwa.edu.au/DANotes/intro/contents.html http://euler9.tripod.com/bolt-database/22.html http://www.matweb.com/search/SearchSubcat.asp
- ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุวิศวกรรม, engineering materials เช่น
แม้น  อมรสิทธิ์, สมชัย อัครทิวา, วัสดุวิศวกรรม, สำนักพิมพ์ท้อป, 2545
Askeland, Donald R., and Phulé, Pradeep P., The Science and Engineering of Materials, 4th    
            Edition, Thomson Learning, Inc., USA, 2003
Callister, Jr. William D., Materials Science and Engineering an Introduction, 6th Edition,
              John Wiley & Sons, Inc., USA, 2003
Smith, William F., Principles of Materials Science and Engineering, 3th Edition, McGraw-Hill,
Inc., USA, 1996

http://th.wikiepdie.org.
- นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผ่านระบบการประเมิลของมหาวิทยาลัยฯ  
- สังเกตุการณ์สอนของอาจารย์ท่านอื่นในรายวิชาเดียวกัน
- สังเกตุพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
-หาโปรแกรมที่ใช้สอนที่ทันสมัยและเทคนิคการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
-เปรียบเทียบผลการสอนกับนักศึกษากลุ่มอื่น
-สอบถามปัญหาการสอนจากอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นๆพร้อมนำมาปรับปรุง
-ปรับปรุงกิจกรรมและแผนการสอนให้มีความเหมาะสม