การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

Coastal Aquaculture

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1. รู้ความรู้เบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
1.2. มีความรู้ในการเพาะพันธุ์ การอนุบาล และการเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
1.3. เข้าใจเรื่องอาหารอนุบาลลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน การผลิตอาหารสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำ วัยอ่อนและการให้อาหาร การเพาะเลี้ยงและอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่งประเภทต่างๆ
1.4. เห็นความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2.1. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่ทันต่อเหตุการณ์และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงในปัจจุบัน
2.2. นักศึกษานำความรู้และทักษะไปใช้ในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3. เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการแปลงในโลกปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่สำคัญทางเศรษฐกิจ การผลิตอาหารสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนและการให้อาหาร การคำนวณและวางแผนการผลิตและจำหน่ายผลผลิตที่เกิดจากกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งรวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและสร้างจิตสำนึกให้ร่วมกันในการผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีคุณภาพ
วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น.
š1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมสาธารณะ
š1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการ หรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
˜1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย โดย
- จะสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
- กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
- การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด
- นักศึกษาต้องรู้จักแบ่งปันความรู้กับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน
- ร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา
- ร้อยละ 95 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ หรือไม่มีการลอกรายงานหรือลอกการบ้าน
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ที่ศึกษา
š2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
š2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion) โดย
- บรรยายประกอบการอภิปรายในหลักการและทฤษฏี พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบเกี่ยวข้อง
- มอบหมายให้อ่านวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน พร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปในเรื่องที่อ่าน และส่งเป็นการบ้าน
- ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย รวมทั้งวัดความรู้โดยการสอบกลางภาคเรียนและการสอบปลายภาคเรียน
- ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน และรายงานที่นำส่ง
- ประเมินจากการปฏิบัติงานในภาคสนามและห้องปฏิบัติการ
š3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
˜3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving) โดย
-ในการสอนจะเสริมสร้างการใช้ทักษะเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงกับหลักการหรือทฤษฎีอันเป็นแนวทางสู่การแก้ปัญหาต่างๆ
-โดยการใช้สื่อเป็นวีดีทัศน์และ มอบหมายโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาได้ฝึกหาข้อมูล วิเคราะห์และเข้าใจวิธีแก้ปัญหาโดยอิงบนหลักการและ/หรือทฤษฎีอย่างถูกต้อง
- โดยการทดสอบจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
š4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
การสอนโดยใช้เทคนิคการระดมพลังสมอง (Brainstorming) โดย
-มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอในชั้นเรียน และต้องแนะนำให้นักศึกษาเข้าใจใน การทำงานร่วมกัน
 - ให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเพื่อเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในขณะเข้าร่วมงานวิจัย
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน การจัดระบบการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- ประเมินจากความเข้าใจในกระบวนการทำงานและการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมในการออกปฏิบัติภาคสนาม
˜5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
š5.2 สามารถสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
š5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) โดย
- กำหนดให้นักศึกษาอ่านตำรา และบทความทางวิชาการ การจัดทำรายงานให้ใช้หนังสืออ้างอิงหรือฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
- ให้ค้นคว้าในการจัดทำรายงานผ่านฐานข้อมูลหรือวารสารวิชาการ
- ในการนำเสนอรายงานให้นำเสนอผ่านระบบสารสนเทศ (power point)
- ประเมินจากรายงาน หรืองานที่มอบหมาย ว่ามีการใช้วารสาร หนังสือ หรือฐานข้อมูลเชิงวิชาการ
- ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
š6.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
š6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
การสอนแบบปฏิบัติ โดย
- กำหนดให้นักศึกษาฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์จริงในภาคสนาม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 23013406 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2 และ1.1.3 -การเข้าเรียนตรงเวลา -การมีวินัยและมีความพร้อมเพียงในการร่วม -กิจกรรมเสริมหลักสูตร -ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและการแสดงออกต่อ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1.1, 2.1.2 และ 2.1.3 -ทดสอบความเข้าใจโดยจะมีการสอบย่อย -ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน การตอบคำถาม และรายงานที่นำส่ง ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2 และ 5.1.3 -ความสามารถทำงานร่วมกันของนักศึกษาในการสืบค้นกรณีศึกษาและการมีส่วนร่วมในการอภิปรายโดยอยู่บนฐานความรู้ของรายวิชาได้อย่างเป็นระบบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 6.1.1 และ6.1.2 การมีความกระตือรือร้นในการลงมือปฏิบัติการ และความเข้าใจในการเครื่องมือ และอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างการทำงาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. คเชนทร เฉลิมวัฒ, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. 2548.
2. ชะลอ ลิ้มสุวรรณ, การเพาะเลี้ยงกุ้ง
3. ประจวบ หลำอุบล, สรีรวิทยาของกุ้ง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2537
4.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น กรมประมง
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น กรมประมง
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
2.2 ผลการสอบ
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ปรับปรุงการสอนตามผลการประเมินผู้สอนเป็นรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการ
ปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี