ธุรกิจปศุสัตว์

Livestock Business

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษาควรมีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 เข้าใจการทำธุรกิจปศุสัตว์ สามารถการวางแผน และการเขียนแผนธุรกิจปศุสัตว์อย่างง่ายได้
1.2 เข้าใจระบบการการทำบัญชีการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตปศุสัตว์
1.3 เข้าใจการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต
1.4 เข้าใจการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินธุรกิจปศุสัตว์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญา ประสบการณ์ ในการนำความรู้ ความเข้าใจในหลักการทำธุรกิจปศุสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้สอนได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและหรือยกตัวอย่างประกอบที่ทันสมัย หลากหลายให้สอดคลองกับสถานการณ์ปัจจุบันในทุกภาคเรียน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ การทำธุรกิจปศุสัตว์ การวางแผน และการเขียนแผนธุรกิจปศุสัตว์ การทำบัญชีฟาร์ม การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต และการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินธุรกิจปศุสัตว์
3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์ โทร...054-710-259 ต่อ 1130
3.2 e-mail; mamsupanan@gmail.com ทุกวัน
3.2 Facebook; Mam Supanan กลุ่ม LB 2-62 ทุกวัน หรือ LINE;กลุ่ม LB2-62
⚫1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
สอดแทรกกิจกรรมระหว่างเรียนให้นักศึกษา ได้แสดงออกทางวินัย ความขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบ เช่นการกำหนดเงื่อนไขในการค้นคว้า การมอบหมายงาน ที่ต้องมีกำหนดส่งตรงเวลา และมีการอ้างอิงของแหล่งที่มาของข้อมูลตามหลักวิชาการ
สังเกตพฤติกรรม พิจารณาจากความรับผิดชอบส่งผลงานได้ตรงเวลา คุณภาพผลงานเป็นไปตามที่กำหนด และไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างอิง
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการสืบค้นความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพิ่มเติม ใช้รูปแบบการสอนแบบ Active learning พร้อมสื่อประกอบการเรียนรู้ที่หลากหลาย
 
การทดสอบความรู้
การสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทาง ด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
ส่งเสริม ให้นักศึกษาได้แสดงออกทางความคิด การระดมสมอง การนำความรู้ที่ได้จากการเรียน และการค้นคว้า มาวิเคราะห์/สังเคราะห์ และสรุปเป็นองค์ความรู้
การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนในการใช้ทักษะทางปัญญาในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ความรู้ต่างๆ ของผู้เรียน
4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
การมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงออก ในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การให้ความร่วมมือ การบริหารจัดการกลุ่ม และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ บทบาทการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การให้ความร่วมมือกับกลุ่ม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
การมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้า ในเรื่องที่นักศึกษาสนใจ/หัวข้อที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด จากสื่อและแหล่งความรู้ต่างๆ การใช้เทคโนโลยีประกอบในการเรียนรู้ที่หลากหลาย
การให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ข้อมูล/สถิติเพื่อการตัดสินใจ อย่างเหมาะสม และการฝึกการคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาจากผลงานการค้นคว้า และการนำเสนอผลงาน ด้วยการใช้สื่อ และ เทคโนโลยีในการจัดเตรียมและนำเสนออย่างเหมาะสม
การตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของผลงานทางคณิตศาสตร์และสถิติ
การมีทักษะ สามารถปฏิบัติได้ตามวัตถุประสงค์
การมอบหมายงานให้ทดลองปฏิบัติ /การทดสอบความสามารถในการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของหน่วยเรียน
การประเมินผลงาน/ชิ้นงานที่เกิดจากการปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1
1 23024320 ธุรกิจปศุสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ - การชื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค การมีจิตสำนึกในการทำธุรกิจปศุสัตว์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย - การไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างอิง - การมีวินัย/เข้าชั้นเรียน-ส่งรายงานตรงเวลา ทุกสัปดาห์ 10%
2 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา การสอบกลางภาค/ปลายภาค และการทดสอบย่อย ตามกำหนดการสอบและในชั้นเรียน 30%
3 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทาง ด้านวิชาการหรือวิชาชีพ การนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยประเมินจากคุณภาพผลงานที่สะท้อนความตั้งใจ/เอาใจใส่ และความรับผิดชอบ ในชั่วโมงปฏิบัติการ 10%
4 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การแสดงออกในการมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การให้ความร่วมมือกิจกรรมกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 15%
5 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ผลงานการสืบค้น-ค้นคว้า /การนำเสนอผลงาน/การรายงานและนำเสนอผลงาน/การสื่อสาร /การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย และ คุณภาพชิ้นงานหรือผลงานที่ปรากฏ ทุกสัปดาห์ 15%
6 มีทักษะ สามารภปฏิบัติได้ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยเรียน คุณภาพผลงานโดยรวม ที่สะท้อนการใช้ทักษะในทุกด้านอย่างลงตัว และความสมารถปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยเรียน ทุกสัปดาห์ 20%
ไฟล์เอกสารประกอบการสอน หน่วยเรียนที่ 1-5 วิชา ธุรกิจปศุสัตว์ สื่อการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น คลิป VDO /การเรียนรู้จาก case study/ การศึกษาเรียนรู้ในฟาร์มฝึก / การค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆ /การสัมภาษณ์ และอื่นๆ ข้อมูลและสถิติ การนำเข้า และส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย (สำนักงานสถิติการเกษตร) ปีปัจจุบัน
มาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ ตัวอย่างแผนธุรกิจ ประเภทต่างๆ Mega trend / Internet of thing /Thailand 4.0
สถานการณ์ แนวโน้ม การผลิต การบริโภค การนำเข้า/ส่งออก สินค้าปศุสัตว์ ข้อมูลการผลิตปศุสัตว์ของประเทศไทย กรมปศุสัตว์ (http://www.dld.go.th/ certify/) การจัดการฟาร์มปศุสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย /smart farm
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรม ทั้งในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการ เรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้ง โดยสาขาวิชา/หลักสูตร จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา หรือวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม
อาจารย์ผู้สอนนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะ ทั้งจากนักศึกษาและกรรมการประเมิน มาพิจารณาทำการปรับปรุง/แก้ไข และใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาถัดไป
มีการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน เพื่อหารือปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ของ นักศึกษา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบ และระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบ ของสาขาวิชา ภายในกรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมิน การสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอน รับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการ ปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนา ปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป