การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานต่อโรค แมลงและสภาวะเครียดทางชีวนะ

Plant Breeding for Disease, Insect and Biotic Stress Resistance

1.1 เพื่อให้รู้ความสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะเครียดทางชีวนะ
1.2 เพื่อให้เข้าใจกลไกการสร้างความต้านทานของพืช
1.3 เพื่อให้เข้าใจ กระบวนการต้านทานต่อโรคและแมลง
1.4 เพื่อให้เข้าใจการจำแนกปัจจัยที่เป็นศัตรูพืช
1.5 เพื่อให้เข้าใจเทคนิคของการปรับปรุงพันธุ์และการคัดเลือกเพื่อให้ต้านทานต่อโรค แมลง และศัตรูพืชอื่นๆ
การปรับปรุงพันธุ์พืชต้านทานโรคและแมลงเป็นงานที่ต้องการความประณีต และความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างสูง เพราะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้ง พืช แมลง และเชื้อสาเหตุโรค รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่พืชนั้นเจริญเติบโต ซึ่งมีข้อควรพิจารณาก่อนการดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ต้านทานต่อโรค และแมลงชนิดนั้น ๆ คือ จำนวนโรค หรือ ชนิดของแมลงที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทาน ระดับความต้านทานที่ต้องการ รวมไปถึงความยั่งยืนของความต้านทานที่จะเกิดขึ้น
การผลิตพืชให้มีลักษณะดี ตามความต้องการของตลาดมักเน้นการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ที่อาจให้ผลในการควบคุมโรคที่ดี แต่อาจส่งผลเสียในระยะยาวต่อเกษตรกร ผู้บริโรค และสภาพแวดล้อม แนวทางที่ปลอดภัยที่สุดคือการพัฒนาหรือสร้างพืชให้มีความต้านทานต่อโรค และแมลง พืชสายพันธุ์ต้านทานโรคจะมีลักษณะทางสรีระวิทยาที่ทนต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค และแมลงศัตรูพืช เรียกลักษณะนี้ว่าความต้านทานที่มีอยู่แล้วในพืช (Pre-formed resistance) พืชมีกลไกการป้องกันตัวเองจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคเมื่อได้รับการกระตุ้น (Induce resistance) จากเชื้อสาเหตุโรค จุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ สารเคมีบางชนิด หรือแม้กระทั่งสภาวะเครียด ความต้านทานบางลักษณะป้องกันศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่เชื้อสัมผัสพืช (Hypersensitive response) การตายของเซลล์พืช (Program cell death) เพื่อยับยั้งการบุกรุกเซลล์พืช บางลักษณะต้องกอาศัยผลผลิตจากกระบวนการเมทาบอลิซึมหลายกระบวนการ รวมทั้งการสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความต้านทานทั้งทางตรงและทางอ้อม กลไกการทำงานของยีนที่ควบคุมลักษณะความต้านทานในพืชโดยมีเป้าหมายในการสร้างหรือพัฒนาพืชให้มีความต้านทานต่อโรคแมลง 
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1. มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรมเสียสละและ
          ซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2. มีวินัยขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.3 จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.4 สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่ซับซ้อน
        โดยสามารถวางแผนจัดลา ดับความสำคัญได้
1.1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรี
         ของความเป็นมนุษย์
1.1.6 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
ข้อ 1.1.2, 1.1.3 และ1.1.4  เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 1.1.1, 1.15 และ 1.1.6 เป็นความรับผิดชอบรอง
ปฐมนิเทศนักศึกษา แจ้งจุดมุ่งหมายของวิชาภาคบรรยายและปฏิบัติ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คุณธรรม จริยธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนเรียน
- กำหนดตารางเวลาทำงานประจำสัปดาห์ และติดตามผลการเรียนอย่างสม่ำเสมอ
- กำหนดให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของการเรียน ซึ่งต้องมีคุณธรรมจริยธรรม กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม รวมถึงการสร้างให้มีความตระหนักในสิ่งแวดล้อม และส่วนรวม มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมเสียสละ และมีส่วนร่วมกับผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการรับผิดชอบในงานการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่วนรวมและสร้างประโยชน์แก่สังคม
1.3.3 ไม่ทุจริตในการสอบและคัดลอกงานผู้อื่นมาเป็นของตน
1.3.4 ประเมินจากการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีเหตุผลในการวินิจฉัยปัญหา
2. 1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหา
2.1.2 สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีความรู้ ความเข้าใจ เข้ากับงานวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง
2.1.3 สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
2.1.4 มีความรู้และตระหนักในระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมของระดับชาติและนานาชาติที่อาจมีผลกระทบต่อวิชาชีพ
ทุกข้อเป็นความรับผิดชอบหลัก
บรรยาย อภิปราย ทำงานกลุ่ม และมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอในรูปแบบของรายงานหน้าชั้นเรียน และฝึกทำปฏิบัติการด้านพันธุศาสตร์ประชากรเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากการนำ เสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1 มีทักษะในการนาความรู้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
3.1.2 สามารถพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยบูรณการความรู้ที่ศึกษาตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัยในสาขากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 3.1.1  เป็นความรับผิดชอบรอง
ข้อ 3.1.2  เป็นความรับผิดชอบหลัก
3.2.1 มีทักษะในการนำความรู้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อน
ได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
3.2.2 สามารถพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยบูรณการความรู้ที่ศึกษาตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัยกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานของนักศึกษาเช่นประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียนการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์ และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 สามารถแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพที่มีความซับซ้อนหรือความยุ่งยากระดับสูงได้ด้วยตนเองสามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเอง
4.1.3 สามารถประเมินตนเองได้รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้
4.1.4 มีภาวะความเป็นผู้นา และผู้ตามสามารถทา งานเป็นหมู่คณะรวมทั้งแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.5 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ข้อ 4.1.3  และ 4.1.4 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 4.1.1 4.1.2  และ 4.1.5 เป็นความรับผิดชอบรอง
4.2.1 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.3 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5 มีภาวะผู้นำ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนาเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1.1 มีทักษะในการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าสรุปและ
เสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2 สามารถนา เสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
5.1.3 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.4 สามารถใช้ภาษาไทยและต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทุกข้อ เป็นความรับผิดชอบหลัก
- ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ  ประกอบการสอนในชั้นเรียน
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 MSCPT204 การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานต่อโรค แมลงและสภาวะเครียดทางชีวนะ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบกลางภาค 8 30%
2 2.1,3.2,4.1,4.2, 4.3,5.1,5.2,5.3 รายงานกลุ่ม 7 และ 15 25%
3 1.1, 2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบปลายภาค 16 30%
4 1.1,1.4 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-16 5%
5 1.3,4.3 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-16 5%
6 4.1,4.2,4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 7,15 5%
นงลักษณ์ เภรินทวงค์ มปป. กลไกการต้านทานโรคของพืช Mechanism of Disease Resistance in Plants
              คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ
นพพร คล้ายพงษ์พันธ์ การปรับปรุงพันธุ์พืชต้านทางแมลง กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2551. 226 น.
นพพร สายัมพล เทคนิคการปรังปรุงพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543. 261 น.
นิตย์ศรี แสงเดือน พันธุศาสตร์พืช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2551. 432 น.
ประวิตร พุทธานนท์. 2548. ไบโอเมตริกส์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช ภาควิชาพืชไร่
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้: 243 น.
พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2550. เชื้อพันธุกรรมและความรู้ด้านพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์พืช.
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช วันที่ 23  -27 เมษายน 2550
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม. (เอกสารโรเนียว)
 
 
 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2550. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์เชิงสถิติในงานวิจัยด้าน
พืชศาสตร์. วันที่ 14 – 18 พฤษภาคม 2550. จ. นครปฐม. (เอกสารโรเนียว)
มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2546. การปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักลูกผสม. คณะเกษตรศาสตร์
            มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 254 น.
Andre’ Charrier, Michel Jacquot, Serge Hamon and Dominique Nicolas. 2001.
Tropical Plant Breeding. Science Publishers, Inc. U.S.A. 565 p.
Banga S.S. and S.K. Banga. 1998. Hybrids Cultivar Development. Narosa Publishing House.
            London. 536 p.
Basra Amarjit S. 1999. Hybrid Seed Production in Vegetables : Rationale and Methods in
            Selected Crops. J. of New Seeds, Volume 1, Number ¾. 135 p.
Bassett Mark J. Breeding Vegetable Crops. 1986. The AVI Publishing Company, Inc. 584 p.
Bosland P.W. and E.J. Votava. 2000. Peppers : Vegetable and Spice Capsicums.
CABI Publishing. USA. 204 p
Chahal G.S. and S.S. Gosal. 2002. Principles and Procedures of Plant Breeding :
            Biotechnological and  Conventional Approaches. Alpha Science International Ltd.
            U.K. 604 p.
Cooper M. and G. L. Hammer. 1996. Plant Adaptation and Crop Improvement.
CAB International. UK. 625 P.
Engels J. M.M. and L. Visser. A guide to effective management of germplasm
            collections. . IPGRI Handbooks for Genebanks No. 6. International Plant Genetic
            Resources Institute, Italy. 165 p.
Frankel R. and E. Galun. 1977. Pollination Mechamnisms, Reproduction and
Plant Breeding. Spriger-Verlag, Germany. 281 p.
Frankel R. , G.A.E. Gall, Linskens H.F. and D. de Zeeuw. 1977. Monographs on Theoretical
            and Applied Genetics 3. . Spriger - Verlag, Germany. 223 p.
Gepts, P. 2004. Crop domestication as a long – term selection experiment.
In Plant Breeding Reviews, Volume 21 ed. By Janick J. : 1 -151.
Hodgkin T., A.H.D. Brown, Th.J.L. van Hintum and E.A.V. Morales. 1995. Core Collection of
            Plant Genetic Resources. IPGRI John Wiley & Sons. UK. 269 p.
Hancock James F. 1992. Plant Evolution and the Origin of Crop Species.
Prentice Hall, Inc. U.S.A 305 p.
Johnson Greg I.,  Katinka Weinberger and Mei-huey Wu. 2008. The Vegetable Industry in
Tropical Asia. AVRDC. Taiwan. 67 p.
Kalloo Dr. 1988. Vegetable Breeding Volume I. CRC Press. U.S.A 239 p.
Kalloo Dr. 1988. Vegetable Breeding Volume III. CRC Press. U.S.A 174 p.
Kalloo G. and B. O. Bergh. 1993. Genetic Improvement of Vegetable Crops.
Pergamon Press Ltd., England. 833 p.
Kempton R.A. and P.N. Fox. 1997. Statistical Methods for Plant Variety Evaluation.
Chapman & Hall, U.S.A. 191 p.
Jain H.K. and M.C. Kharkwal. 2004. Plant Breeding Mendelian to Molecular Aproaches.
Narosa Publishing House, India.797 p.
Sleper D. A. and J. M. Poehlman. 2006. Field Crops 5 th edition Iowa State University Press,
            Ames USA. 424 p.
Rattan Lal Agrawal. Fundamentals of Plant Breeding and Hybrid Seed Production.
            Science Publishers, Inc. U.S.A. 387 p.
Reed B.M., F. Engelmann, M.E. Dulloo and J. M.M. Engels. 2004. Technical guidelines for
            the management of field and in vitro germplasm collections. IPGRI Handbooks for
            Genebanks No. 7. International Plant Genetic Resources Institute, Italy. 106 p.
รายงานประชุมสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย
รายงานการสัมมนาทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายงานการสัมมนาทางวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ขวัญชนก อารีกิจ, วิชัย โฆสิตรัตน และสุจินต์ ภัทรภูวดล การคัดเลือกพันธุ์พืชวงศ์แตงกวาต้านทานต่อเชื้อ  ไวรัส Cucumber mosaic virus, Papaya ringspot virus และ Zucchini yellow mosaic virus วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 48 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2560 (หน้า 188-199)
 R.E.Niks and W.H. Lindhout.1977.Breeding for resistance against disease and Pests.Wageningen Agricultural University Department of Plant Breeding.154p.
http://www.biotec.or.th/germplasm
ttp://www.plantbreeding.wur.nl/
http://aggie-horticulture.tamu.edu/archives/parsons/vegetables/seed.html
http://www.youtube.com/watch?v=V5a-coN2Xgg&feature=related
http://www.livinghistoryfarm.org/farminginthe30s/crops_03.html
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน หรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน นอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน-การสอนควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากคะแนนสอบนักศึกษา งานที่มอบหมาย หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของหลักสูตร การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอนหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา ในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุง พร้อมนำเสนอสาขาวิชา / คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป