ปัญหาพิเศษทางพืชศาสตร์

Special Problem in Plant Science

1. เพื่อให้นักศึกษามีสมรรถะในด้านความรู้ความเข้าใจด้านการทำงานทดลองและ/หรือ การสำรวจค้นคว้า สามารถวางแผนงานทดลอง เก็บและบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล เขียนรายงานผลการทดลองและ/หรือสำรวจค้นคว้าอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี รวบรวม คิด และวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
3. เพื่อให้นักศึกษาความสามารถในการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. เพื่อให้นักศึกษามีวินัย ความซื้อสัตย์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. นักศึกษามีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และมีทัศนคิตที่ดีต่อการเรียนรู้
6. นักศึกษาสามารถนำความคิดที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ และแก้ปัญหาเพื่อส่วนร่วมในอนาคต

 

 
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ของนักศึกษาต่อไป
ศึกษาค้นคว้าและดาเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ เช่น พืชไร่ พืชสวน เช่น ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผัก สรุปผลการทดลองและเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน (Conducting research on appointed topic in selected crops. Data analysis, summarize and writing a report.)
1 ชั่วโมง
  1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
  1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
  1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา เคารพกฎระเบียบ และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
  1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
2. มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละคน เพื่อให้มีการฝึกฝนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขเมื่อพบข้อขัดแย้งจากการทำงาน  ร่วมกัน
3.สอบย่อยเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. เช็คชื่อการเข้าเรียน
ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ตามกำหนดที่ให้และตรงเวลา
2. ส่งรายงานมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.ประเมินผลการเรียนรู้จากการสอบวัดผล
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและแนวทางปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
  2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละคน ได้ทำการวิเคราะห์ สรุปเนื้อหา
แลทำเพื่อให้มีการฝึกฝนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
2.   มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่มโดยให้ทำการค้นคว้าเนื้อหาที่ได้เรียนเพิ่มเติม
3. มีการทดสอบโดยให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดหลังจากเรียน และมีการสอบย่อยเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
  3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. บรรยายยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ความรู้ทางการวิจัย
2.   ให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นหลังการบรรยาย
3. ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มในหัวข้อที่กำหนด
1. การนำเสนอหน้าชั้นเรียน และการร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้องเรียน
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
  4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. กำหนดงานให้ทำเป็นกลุ่มโดยให้ปรึกษา แบ่งงานกันทำ และนำเสนอทุกคน 
1. ประเมินตนเองและเพื่อนจากกระบวนการทำงาน
2. กรรมการทำงานเป็นทีม และผลงานที่ทำเป็นกลุ่ม สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรี
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
  5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
  5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธภาพ
1. มอบหมายงานการค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต รวมถึงการส่งงาน ติดต่อการเรียนการสอน ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์
2. ตรวจสอบการพูดภาษาไทย อังกฤษให้ถูกต้องเมื่อมีการใช้ในชั้นเรียน
1. ตรวจงานที่มอบหมาย  รวมไปถึงการสังเกตพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการค้นคว้าข้อมูล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะหืเชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 MSCPT401 ปัญหาพิเศษทางพืชศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบกลางภาค 8 30%
2 2.1,3.2,4.1,4.2, 4.3,5.1,5.2,5.3 รายงานกลุ่ม 7 และ 16 25%
3 1.1, 2.1,2.3,3.2,3.3 การสอบปลายภาค 16 30%
4 1.1,1.4 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-15 5%
5 1.3,4.3 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 5%
6 4.1,4.2,4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 8,15 5%
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร. 2558. คู่มือปัญหาพิเศษ (สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและปริญญาตรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา จ.เชียงใหม่. 50 หน้า.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2550. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์เชิงสถิติในงานวิจัยด้าน
พืชศาสตร์. วันที่ 14 – 18 พฤษภาคม 2550. จ. นครปฐม. (เอกสารโรเนียว)
โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
วารสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาแล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียนนอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน-การสอนควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
 ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจาก             การเรียนรู้ในรายวิชาได้จากคะแนนสอบนักศึกษา งานที่มอบหมายหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษารวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาโดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของหลักสูตร การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอนหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาอาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชาเสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขาวิชา / คณะเพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป